น้ำท่วมบรรเทาได้


ผลกระทบที่เกิดจากภัยน้ำท่วม

ภัยน้ำท่วมบรรเทาได้ถ้ารู้ทัน

                                                                                                     โดย สุวรรณา    จิตรสิงห์   <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">            </p>           ไม่มีใครอยากประสบกับสภาพน้ำท่วม  น้ำป่าไหลหลาก  ดินถล่ม หรือน้ำท่วมขังแช่นานนับเดือน แต่ประเทศไทยอยู่ในเขตมรสุมที่มีฝนตกชุกตลอดปี  ตั้งอยู่ในทิศทางลมมรสุมและลมพายุพัดผ่าน จึงไม่อาจหลีกหนีปัญหาน้ำท่วมได้  ทุกวันนี้เรามักได้ข่าวเกิดน้ำท่วม แผ่นดินถล่มทำลายล้างหมู่บ้านในหลายจังหวัด ทุกภูมิภาคของประเทศไทย  และเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง   ยังความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็นอย่างมาก           <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">             </p> <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">          ถ้ามองย้อนไป   พฤศจิกายน 2531    เกิดที่อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช มีคนตายกว่า 363 คน มูลค่าความเสียหายกว่า 7,357 ล้านบาท        กันยายน 2543  พายุหวู่คง ทำความเสียหายกว่า 1,000 ล้านบาท   และในปีเดียวกันน้ำท่วมหาดใหญ่และหลายจังหวัดในภาคใต้ความเสียหายกว่า 6,800 ล้านบาท   พฤษภาคม  2544  เหตุการณ์เกิดที่บ้านวังชิ้น จังหวัดแพร่  และล่าสุด  2549 </p> <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">ที่บ้านท่าปลา  จังหวัดอุตรดิตถ์   และ พ.ศ.  2550  ที่น้ำตกสายรุ้ง จังหวัดตรัง  </p> <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">ต่างล้วน มีความเสียหายอย่างมาก   แม้ทางกรมอุตุนิยมวิทยาได้ประกาศเตือนอยู่เป็นประจำ  แต่เหตุการณ์น้ำท่วม ดินถล่มก็ยังเกิดซ้ำซาก  ประเทศชาติต้องสูญเสียเงินงบประมาณเป็นจำนวนมาก เพื่อแก้ปัญหา    ปัญหาเหล่านี้เป็นเรื่องภัยธรรมชาติที่เราต้องเผชิญอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้  และในสภาพปัจจุบันที่โลกผันแปร  ตกอยู่ในสภาวะโลกร้อน  ที่ฤดูกาลเปลี่ยนแปลง  พายุลูกใหญ่ขึ้น </p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">ฝนตกชุกและหนักมากขึ้นนั้น     เราอาจช่วยลดและแบ่งเบาความเสียหายหรือความสูญเสียให้ลดน้อยลงได้   ช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบา โดยเตรียมตัวและใส่ใจเรียนรู้พร้อมที่รับมือกับมันสักนิดดังนี้  </p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">การเตรียมตัวก่อนเกิดพายุและน้ำท่วม  </p><p style="margin: 0in 0in 0pt 33pt; text-indent: -0.25in; tab-stops: list 33.0pt" class="MsoNormal">1.    พยุงค้ำ  ตัดแต่งต้นไม้  กิ่งไม้ ใกล้บ้านและโค่นต้นที่แห้งตายเพื่อลดการโค่นล้มระหว่างมีพายุ</p><p style="margin: 0in 0in 0pt 33pt; text-indent: -0.25in; tab-stops: list 33.0pt" class="MsoNormal">2.  ซ่อมแซมบ้านให้แข็งแรง   </p><p style="margin: 0in 0in 0pt 33pt; text-indent: -0.25in; tab-stops: list 33.0pt" class="MsoNormal">3.   เตรียมอาหาร น้ำดื่มที่กินได้อย่างน้อย 7 วัน  น้ำมันเชื้อเพลิง เทียนไข  ยารักษาโรค  และอื่นๆที่จำเป็นไว้ในที่สูงและปลอดภัยในฤดูกาลที่มีพายุ</p><p style="margin: 0in 0in 0pt 33pt; text-indent: -0.25in; tab-stops: list 33.0pt" class="MsoNormal">4.   ของมีค่าจัดเก็บใส่ถุงพลาสติกกันน้ำ  เก็บของมีคม เครื่องมือการเกษตรในที่ปลอดภัย</p><p style="margin: 0in 0in 0pt 33pt; text-indent: -0.25in; tab-stops: list 33.0pt" class="MsoNormal">5.      ติดตามข่าวพยากรณ์อากาศและเตือนภัยจากวิทยุ  โทรทัศน์หรือเครื่องขยายเสียงของหมู่บ้าน</p><p style="margin: 0in 0in 0pt 33pt; text-indent: -0.25in; tab-stops: list 33.0pt" class="MsoNormal">6.      เตรียมถ่านไฟฉายสำรองไว้ฟังวิทยุหรือใช้ในกรณีไฟฟ้าดับ</p><p style="margin: 0in 0in 0pt 33pt; text-indent: -0.25in; tab-stops: list 33.0pt" class="MsoNormal">7.      ปิดปากบ่อน้ำให้สนิทและกักเก็บน้ำสะอาดไว้ในถังเก็บน้ำ</p><p style="margin: 0in 0in 0pt 33pt; text-indent: -0.25in; tab-stops: list 33.0pt" class="MsoNormal">8.       เตรียมหาที่หลบภัย ที่ปลอดภัยในกรณีต้องละทิ้งบ้าน  เคลื่อนย้ายสัตว์เลี้ยงไปไว้ในที่ปลอดภัย</p><p style="margin: 0in 0in 0pt 33pt; text-indent: -0.25in; tab-stops: list 33.0pt" class="MsoNormal">9.      สังเกตดินรอบบ้านไม่มีรอยแยก ยุบ ทรุดตัวที่อาจบ่งบอกว่าดินถล่มได้</p><p style="margin: 0in 0in 0pt 33pt; text-indent: -0.25in; tab-stops: list 33.0pt" class="MsoNormal">10.   สังเกตสีของน้ำในแม่น้ำลำคลอง หากเป็นสีโคลนต้องรีบอพยพไปยังที่ๆปลอดภัย  </p><h2 style="margin: 0in 0in 0pt"> ในขณะเกิดพายุ--ใต้ฝุ่นจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรจึงปลอดภัย</h2><h2 style="margin: 0in 0in 0pt">

1.   ไม่ออกทะเล

</h2><h2 style="margin: 0in 0in 0pt"> 2.   อยู่ในอาคารที่แข็งแรงไม่ออกไปข้างนอก </h2><h2 style="margin: 0in 0in 0pt"> 3.   ดูแลเด็กให้อยู่ใกล้ผู้ใหญ่ตลอดเวลา </h2><h2 style="margin: 0in 0in 0pt"> 4.    ไม่หลบใต้ต้นไม้ใหญ่  หรือยืนใกล้เสาไฟฟ้า </h2><h2 style="margin: 0in 0in 0pt"> 5.   หลีกเลี่ยงเสาไฟฟ้าที่โค่นล้มหรือสายไฟฟ้าที่แช่น้ำ  </h2><h3 style="margin: 0in 0in 0pt"> ในขณะเกิดน้ำท่วมขังจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรจึงปลอดภัย</h3><h3 style="margin: 0in 0in 0pt">

1.    ตัดวงจรไฟฟ้า

</h3><h3 style="margin: 0in 0in 0pt"> 2.    อพยพออกจากพื้นที่น้ำท่วมขังไปยังที่สูง </h3><h3 style="margin: 0in 0in 0pt"> 3.    ต้องระวังสัตว์มีพิษ  เช่น งู  ตะขาบ  แมงป่องที่อาจหนีน้ำเช่นกัน </h3><h3 style="margin: 0in 0in 0pt"> 4.    ไม่เดินลุยน้ำ   ขี่จักรยานยนต์ หรือทำกิจกรรมใดๆเพราะอาจมีหลุม  บ่อที่อาจตกลงไปได้รับอันตรายได้ </h3><h3 style="margin: 0in 0in 0pt"> 5.    ไม่เดินลุยน้ำในที่มีเสาไฟฟ้าโค่นล้ม </h3><h3 style="margin: 0in 0in 0pt"> 6.    หลีกเลี่ยงแนวตลิ่งและชายฝั่ง  ถ้าจำเป็นไม่ไปคนเดียวต้องมีคนไปเป็นเพื่อน   </h3><h3 style="margin: 0in 0in 0pt">7.     ไม่ดื่มน้ำที่ท่วมขัง   และไม่ทานอาหารที่จุ่มแช่ในน้ำที่ท่วมขัง</h3><h3 style="margin: 0in 0in 0pt"> 8.     ในกรณีขับรถและติดหล่ม   ต้องรีบออกจากรถทันทีแล้วหนีขึ้นไปอยู่ที่สูง  </h3><h3 style="margin: 0in 0in 0pt"></h3><h3 style="margin: 0in 0in 0pt">           ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นแนวทางที่จะช่วยลดความสูญเสียลงระดับหนึ่งจากอุบัติภัยที่เกิดจากน้ำท่วม  พายุ และดินถล่ม  ที่เราทุกคนสามารถทำได้ในเหตุการณ์เฉพาะหน้า   ต้องจำใส่ใจไว้เสมอว่าทุกคนมีโอกาสที่จะเจอเหตุการณ์เหล่านี้เท่าเทียมกันไม่ว่าจะอยู่ในเมืองหรือในชนบท  ดังนั้นจึงควรมีสติ  เตรียมความพร้อมเสมอ   การวางแผนและเตรียมการในระยะยาวนั้นชุมชนและชาวบ้านต้องร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งเช่น           </h3><h3 style="margin: 0in 0in 0pt"> ·       ช่วยกันปลูกต้นไม้ ทดแทนป่าที่สูญหายไป  เพื่อให้ป่าช่วยดูดซับอุ้มน้ำฝนไว้และสร้างสมดุล </h3><h3 style="margin: 0in 0in 0pt"> ·       สร้างความตระหนัก    ให้ความรู้ประชาชนอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง </h3><h3 style="margin: 0in 0in 0pt"> ·       ไม่ปลูกบ้านในที่ลาดชัน  อพยพย้ายไปปลูกบ้านในที่ปลอดภัย </h3><h3 style="margin: 0in 0in 0pt"> ·       ปรับปรุงลำน้ำเพื่อน้ำไหลสะดวก ไม่ปลูกสร้างสิ่งขวางทางน้ำ </h3><h3 style="margin: 0in 0in 0pt"> ·       ใช้ที่ดินให้เหมาะสมเช่นการทำการเกษตรแบบยั่งยืน ไม่ทำการเกษตรพื้นที่ลาดชันในบริเวณต้นน้ำ </h3><h3 style="margin: 0in 0in 0pt"> ·       อนุรักษ์พื้นที่ต้นน้ำ </h3><h3 style="margin: 0in 0in 0pt"> ·       บริหารจัดการการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เหมาะสม </h3><h3 style="margin: 0in 0in 0pt"> ·       กำหนดเขตอุทยานแห่งชาติเพื่อลดการทำลายบุกรุกป่าอย่างจริงจัง   รวมทั้งป่าชายเลน </h3><h3 style="margin: 0in 0in 0pt"> ·       วางแผนควบคุมประชากร </h3><h3 style="margin: 0in 0in 0pt"> ·       จัดตั้งอาสาสมัครเฝ้าระวังภัยของหมู่บ้าน </h3><h3 style="margin: 0in 0in 0pt"> ·       ฝึกฝนทักษะการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในชุมชน                                                       ฯลฯ </h3><h3 style="margin: 0in 0in 0pt"></h3><h3 style="margin: 0in 0in 0pt"></h3><h3 style="margin: 0in 0in 0pt"></h3><h3 style="margin: 0in 0in 0pt">           สาเหตุหนึ่งที่สำคัญ ของน้ำท่วม พายุ และดินถล่มคือการตัดไม้ทำลายป่าอย่างมาก  ในจังหวัดที่เกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติล้วนสูญเสียป่าไม้ไปเป็นจำนวนมาก  ดินขาดการยึดเกาะจากรากไม้  ป่าเสียสมดุล  ทั่วโลกกำลังเผชิญกับปัญหาเดียวกัน  ก่อเกิดความทุกข์ยากสุดพรรณนา  มีผู้คนล้มตายลงนับแสนคน ไร้ที่อยู่อาศัยกว่า 25 ล้านคนในอินเดียและบังกลาเทศ  ถึงเวลาแล้ว ที่ทุกคนต้องช่วยกันเพื่อลดความรุนแรงและความสูญเสีย   จึงหวังว่า  หากเราทุกคนช่วยกันที่จะเรียนรู้  ใส่ใจกับสภาพแวดล้อมของบ้านตนเอง  ของชุมชน  และของเมือง ไม่นิ่งดูดายตัวใครตัวมัน   เคร่งครัดมีวินัยในตนเองในการดำรงชีวิตกินอยู่อย่างพอเพียง   ให้ความร่วมมือกับชุมชน  ช่วยเหลือป้องกันภัยธรรมชาติให้เบาบางลง  วันนี้ช่วยกันปลูกต้นไม้คนละต้น เพิ่มพื้นที่ป่าไม้และป่าชายเลนเพื่อลดความรุนแรงของพายุ แล้วในอนาคต สักวันหนึ่งเราคงได้ยินได้เห็นคนไทยมีป่าไม้ที่ช่วยชะลอน้ำป่า   ความทรมานจากน้ำท่วม ดินถล่มคงจะบรรเทาลงได้บ้าง  และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น   เราหวังเช่นนั้น </h3><h3 style="margin: 0in 0in 0pt"></h3><h3 style="margin: 0in 0in 0pt" align="center">*****สงวนลิขสิทธิ์*****</h3>

หมายเลขบันทึก: 122611เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2007 10:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เรื่องนี้ทันสมัยเสมอ แม้นว่าในขณะนี้ เดือนตุลาคม 2553 น้ำท่วมหนักที่สุดในรอบ 50ปี ที่โคราช และอีสาน และหนักสุดในรอบ 100ปีที่ปักธงชัย ควรอ่านไว้เป็นความรู้เพราะวันหนึ่งน้ำท่วมอาจมาเยือนกับตัวเราเองก็ได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท