เศรษฐศาสตร์และการเงินข้างเสา – ตอนที่ 6 กระแสเงินสดกับตุ่ม (อีกครั้ง)


เมื่อตอนที่ 3 ผมได้เปรียบเปรยการทำงานหาเงินก็เหมือนตักน้ำใส่ตุ่ม   คราวนี้ก็เลยลองคิดอะไรเพลินๆ เรื่องตุ่มต่อ   ท่านใดมีความเห็นอะไรเพิ่มเติมหรือนึกอะไรสนุกๆ ได้ ก็ขอเชิญชวนครับ

(หมายเหตุ ดูตอนที่ 3 เรื่องตุ่มก้นรั่ว ได้ที่นี่ http://gotoknow.org/blog/wachirachai/120908)

  • หลังบ้านเรามีตุ่มเล็กๆ ใบหนึ่ง สำหรับเก็บน้ำไว้ใช้วันต่อวัน
  • ทุกวัน เราต้องไปหาบน้ำมาตักใส่ตุ่ม จะได้มีน้ำไว้ใช้สอยประจำวัน
  • ที่ก้นตุ่ม เราต่อท่อไว้สำหรับเอาน้ำมาใช้สอยต่างๆ ครับ ถ้าท่อรั่ว หรือถ้าใช้น้ำไม่ประหยัด ก็เหมือนตุ่มก้นรั่ว หาบน้ำมาใส่ตุ่มเท่าไหร่ ก็หมด
  • ตุ่มใบนี้ชื่อว่า สำรองสำหรับการดำเนินงาน ครับ ถ้าตักน้ำมามากกว่าที่ใช้ไป น้ำก็จะเพิ่ม ถ้าใช้มากกว่าที่ตักมา น้ำก็จะลด
  • น้ำที่ตักใส่ตุ่มคือน้ำเข้า น้ำที่ต่อท่อออกมาใช้สอยคือน้ำออก สุทธิกันก็คือ กระแสเงินสดจากการดำเนินงานครับ

  • หลังบ้านเรามีตุ่มอีกใบครับ ต่อท่อไว้กับตุ่มใบแรกครับ เวลาที่น้ำเราเหลือ เราก็จะถ่ายน้ำไปกักเก็บไว้ เผื่อใช้ในยามจำเป็นในอนาคตครับ
  • บังเอิญ ตุ่มใบที่สองนี้เป็นตุ่มน้ำผุดครับ (จินตนาการเลยเถิดเล็กน้อย) คือ พอใส่น้ำไปแล้ว น้ำมันผุดขึ้นมาเพิ่มได้ (ตุ่มน้ำผุดนี้ เราประดิษฐ์ขึ้นมาครับ)
  • ทีนี้ เวลาที่ตุ่มใบแรกของเราน้ำหมดยามฉุกเฉิน เราก็ถ่ายเอาน้ำจากตุ่มใบที่สองนี่แหละครับ เอามาใช้
  • ตุ่มใบที่สองนี้ชื่อว่า แหล่งลงทุน ครับ
  • น้ำที่ไหลผ่านท่อนี้ก็คือ กระแสเงินสดจากการลงทุน ครับ

  • ข้างบ้านเรามีเพื่อนบ้าน เขาก็มีตุ่มอีกใบหนึ่ง มีน้ำเหลืออยู่ ไม่ได้ใช้อะไร
  • บางครั้งเวลาเราไม่มีน้ำจริงๆ เราก็ไปขอต่อท่อจากตุ่มของเพื่อนบ้านใบนี้ แต่ไม่ได้ขอมาเปล่าๆ ต้องคืน แล้วก็ต้องคืนให้มากกว่าเดิมด้วย ตอบแทนให้เขา
  • ตุ่มใบที่สามนี้ชื่อว่า แหล่งจัดหาเงินครับ
  • น้ำที่ไหลผ่านท่อนี้ก็คือ กระแสเงินสดจากการจัดหาเงิน ครับ

  • เราควรจะวางแผนการใช้น้ำของเราให้ดีครับ ตอนที่ยังมีแรงหาบน้ำตักใส่ตุ่ม ก็ควรจะควบคุมการใช้น้ำให้พอเหมาะพอดี   อย่าใช้มากกว่าที่ตักมา เดี๋ยวตุ่มจะน้ำหมด
  • ทางที่ดีน่าจะตักน้ำมาเผื่อ มากกว่าที่ใช้ จะได้เอาไปเก็บไว้ในตุ่มที่สองบ้าง เผื่อไว้ใช้ในเวลาฉุกเฉิน วันไหนที่ไม่สบาย ไม่มีแรงไปหาบน้ำมา
  • บางครั้งเวลาไม่มีน้ำจริงๆ ก็ไปขอเพื่อนบ้านมา แต่ต้องระวังอย่าให้เคยตัว เพราะต้องคืนและตอบแทนเขา ถ้ามัวแต่ใช้น้ำเขา ไม่ยอมไปหาบน้ำ นานวันเข้า น้ำที่จะต้องคืน (บวกกับที่ต้องตอบแทนเขา) ก็ต้องคืนมาก อาจจะไม่มีปัญญาไปหาบมา
  • บางที เราอาจจะขอน้ำเพื่อนบ้าน ไม่ได้เอามาใช้ แต่เอาไปเลี้ยงน้ำผุดก็ได้ จะได้เอาน้ำผุดไปตอบแทนเพื่อนบ้านส่วนหนึ่ง แล้วเอามาใช้อีกส่วนหนึ่ง

 ไม่รู้ว่าผมคิดเพลินๆ เลยเถิดเกินไปหรือเปล่า 

 

หมายเลขบันทึก: 122541เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2007 21:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
กลับมาอ่าน Blog ดู รู้สึกว่ายังอธิบายไม่ค่อยชัดเจน เลยอธิบายเพิ่มเรื่องน้ำเข้าออกตุ่มไว้อีกด้วยครับ

เข้าใจง่ายคะ  เรื่องต่อท่ออีกต่างหาก เก็บนำส่วนนี้ไว้เลี้ยงตน หรือไว้ใช้คราจำเป็น  หรือเอาไปทำท่อ นำผุด ขึ้นอีก คือการนำไปลงทุนอะไรซักอย่างหนึ่งที่คิดว่าจะมีนำผุดขึ้นมาเพิ่มบ้าง บางครั้งอาจจะต้องไปขอแรงเพื่อนบ้าน คือกู้ธนาคารใช่ไหมคะ  พอกู้มาแล้วนำมาลงทุน ปรากฏว่ามีนำผุดมากมายเลย  แต่ในที่สุดก็เตือนว่า อย่าหลงละเริงกับำผุด  เพราะมันจะต้องตวงไปคืนเพื่อนบ้านบ้าง ใช่ไหมคะ  อ่านไปทุกเรื่องจะเข้าใจกันขึ้นแล้วนะคะ  จะมาอ่านเรื่อยๆคะ  ดีจังเลย

สวัสดีคะ สอบเสร็จแล้ว ยังไม่เขียนเรื่งตนเองเลย มีแต่ล่องลอยไปอ่านของคนอื่นคะ  สวัสดีคะ

ระวังอย่าปล่อยท่อนำเลี้ยงไปนอกบ้านมากนักนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท