Global Trend in University Governance : ๙. องค์ประกอบและขนาดของสภามหาวิทยาลัย


หลักการ คือ เป็นองค์ประกอบและจำนวนสมาชิกที่ทำหน้าที่ governance ได้ดี ทำให้เกิด การกำกับที่ดี มีการรับผิดรับชอบ และทำให้เกิดความสามารถในการแข่งขันกับสถาบันในประเทศ หรือรวมทั้งในต่างประเทศด้วย

 

          องค์ประกอบแตกต่างกันในแต่ละประเทศ     และแม้ในประเทศเดียวกันก็แตกต่างกัน     รวมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา

          หลักการ คือ เป็นองค์ประกอบและจำนวนสมาชิกที่ทำหน้าที่ governance ได้ดี    ทำให้เกิด การกำกับที่ดี    มีการรับผิดรับชอบ    และทำให้เกิดความสามารถในการแข่งขันกับสถาบันในประเทศ  หรือรวมทั้งในต่างประเทศด้วย

          หลักการคือให้ได้กรรมการสภาฯ ที่ทำหน้าที่เป็นองค์คณะที่เข้มแข็ง     การได้มาอาจโดยการแต่งตั้งหรือเลือกตั้ง      ที่มามักเป็นคนนอกมหาวิทยาลัย     แต่บางแห่งก็มีคนในเป็นสมาชิกที่มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงก็มี  เป็นสมาชิกที่ไม่มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงก็มี     ที่แปลกคือในสหรัฐอเมริกา การมีผู้แทนนักศึกษานั่งในสภามหาวิทยาลัย พบบ่อยกว่ามีอาจารย์นั่งในสภาฯ   

         ในสหราชอาณาจักร ก่อนปี ๑๙๙๒   กรรมการสภาฯ ประกอบด้วยคนนอกเป็นส่วนใหญ่      แต่หลังจากนั้น แบ่งออกเป็นกลุ่ม    ได้แก่ คนนอก (ที่เรียกว่า independent members)  เจ้าหน้าที่อาวุโสของมหาวิทยาลัย  ตัวแทนอาจารย์  ตัวแทนศิษย์เก่า  ตัวแทนนักศึกษา       

         จำนวนกรรมการที่เหมาะสมที่สุด ที่แต่ละประเทศ หรือองค์กรแนะนำไม่เท่ากัน     เกณฑ์มากที่สุดอาจอยู่ที่ ๒๑, ๒๔, ๒๕     จำนวนที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง ๑๒ – ๑๔     ในออสเตรีย ขนาดของสภาฯ เล็ก จำนวน ๕ – ๗ – ๙ คน

         ขนาดไม่สำคัญเท่า group dynamics ระหว่างกรรมการ

วิจารณ์ พานิช
๓๑ ก.ค. ๕๐

หมายเลขบันทึก: 122293เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2007 09:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2012 12:41 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท