แอบดูงานเด็กเด็ก ที่ชลพฤกษ์ (3) เด็กเล็กที่นครสวรรค์


ทุกเรื่องที่ทำ ถ้าที่บ้านไม่ร่วมมือ จะมีปัญหา ... ทำให้เป็นรูปธรรมของการเชื่อมโยง ศูนย์เด็ก กับที่บ้าน อย่างเป็นรูปธรรมด้วย ... เราจะสื่อกับเด็ก สื่อกับครูพี่เลี้ยง สื่อกับผู้ปกครองให้ช่วยเสริม กันได้อย่างไร

 

น้องทันตแพทย์จาก สสจ.นครสวรรค์ มาเล่าให้ฟังค่ะ ถึงการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็ก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

  • ที่นี่มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของทั้งจังหวัด 210 แห่ง และมีโรงเรียนที่มีเด็กเล็ก 495 แห่ง ขอนำข้อมูลบางส่วนมา ลปรร. กันนะคะ
  • มีการรับเด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี ค่อนข้างมาก โดยเด็กที่มีอายุน้อยที่สุด 1 ปี ละค่ะ
  • จำนวนเด็กต่อครู 1 คน มีจำนวน 11-20 คน 21-30 คน และมากกว่า 30 คน ประมาณ 30%
  • สถานที่แปรงฟันเหมาะสมก็ยังมีน้อย ประมาณ 39%
  • การเปลี่ยนแปรงสีฟันทุก 3 เดือน ของโรงเรียนประมาณ 14% และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กประมาณ 27%
  • กาได้ผลไม้เป็นอาหารว่างน้อย
  • การตรวจฟันสม่ำเสมอทุกวัน ที่โรงเรียน 20% และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 26%
  • เด็กนิยมกินนมเปรี้ยวกันมาก
  • เมื่อมีการประชุมภาคีเครือข่ายจากส่วนต่างๆ มาคุยกันเรื่อง ในประเด็นของสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัย และมีอะไรที่มาเกี่ยวข้องกัน โดยเชิญ อบต.วังน้ำลัด ซึ่งได้รางวัลศูนย์เด็กมาตรฐาน มาเป็นตัวแบบ คุยกันเรื่องสถานการณ์ และบทเรียนที่ได้
  • ได้ข้อมูลว่า เด็กได้รับผลไม้เป็นอาหารว่างน้อย เด็กมีการเปลี่ยนแปรงสีฟันค่อนข้างต่ำ เด็กกินนมขวดอยู่ ครูผู้ดูแลเด็กมีการอบรมด้านทันตสุขภาพประมาณครึ่งหนึ่ง
  • สิ่งดีดีที่พบ ...
  • เด็กมีการพัฒนาการที่ดีขึ้น
  • มีความไว้วางใจจากผู้ปกครอง
  • ความสัมพันธ์ ครู - ผู้ปกครองดี
  • ครูให้ความร่วมมือดี
  • ผู้บริหารให้ความสำคัญ
  • การมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุ กับศูนย์เด็กเล็ก เช่น ที่วังน้ำลัดมีผู้สูงอายุที่มาเล่านิทานให้เด็กฟัง
  • บทเรียนที่ได้จากการประชุม ...
  • บางศูนย์ฯ บอกว่า มีงบประมาณเพียงพอ
  • จุดอ่อน คือ ผู้ปกครองขาดความรู้ ไม่ใส่ใน สื่อที่ได้ไม่ครบ มีการส่งเสริมพฤติกรรมไม่ถูกต้อง เจ้าหน้าที่ได้รับการอบรมน้อย เด็กอายุน้อยกว่าเกณฑ์ (3 ปี)
  • สิ่งที่จะทำต่อ ...
  • พัฒนาโครงสร้างของเด็ก
  • พัฒนาผู้ดูแลเด็ก ส่งไปเรียนต่อระดับ ป.ตรี ให้มากขึ้น
  • ปลูกฝังบริโภคนิสัย
  • ทำเรื่องเมนูอาหาร
  • หาแนวทางร่วมกันกับผู้ปกครอง
  • สร้างความใกล้ชิดกับผู้ปกครอง
  • ตอนที่ได้เข้าไปในศูนย์เด็กฯ ก็พบว่า ศูนย์เด็กต่างกัน บางที่ก็พร้อมมาก บางทีก็ไม่พร้อม แต่ที่พบก็คือ ผู้ดูแลเด็กแต่ละคนมีความตั้งใจจริงในการทำงาน ว่า เป็นงานที่หนัก เด็กเยอะ แต่ก็มีความตั้งใจ ... ปัญหาที่แก้ไม่ได้ คือ รถที่มาขายนมเปรี้ยว ทำได้ยาก

รอบนี้ กองทันตฯ เชิญ อ.ประสิทธิ์ ลีระพันธ์ มาช่วยให้ความคิดเห็นค่ะ อาจารย์ได้เพิ่มความเห็นว่า

  • เราได้ทำกันทั้งในศูนย์เด็กเล็ก และโรงเรียน เป็นเป้าหมายที่มากมายมหาศาล เป็นการขับเคลื่อนทั้งจังหวัด ก็จะเป็นภาระที่มาก เราจะขับเคลื่อน ระดมพลกันอย่างไร
  • ถ้าดูผลลัพธ์ที่ได้ ค่อนข้างกว้าง ยังไม่เพาะเจาะจง บทเรียนการเรียนรู้ของเราคืออะไร
  • ข้อคิดเพื่อการแลกเปลี่ยน การทำงานครั้งนี้เหมือนเป็นการทำงานปกติ เพราะเราเอาพื้นที่จังหวัดทั้งจังหวัดเป็นกลุ่มเป้าหมาย
  • คิดว่า เราทำทั้งจังหวัดก็ทำ แต่น่าจะพิจารณาทำเฉพาะในพื้นที่ที่หวังบทเรียนร่วม ให้ win-win เราได้อะไร เขาได้อะไรที่ชัดเจน เพราะถ้าเหวี่ยงแหไปทั้งหมด จะไม่ชัดทั้ง 2 กลุ่ม
  • ข้อเสนอคือ คัดเลือกบางพื้นที่เป็นพื้นที่พิเศษ ที่เราอยากทำเอง พัฒนาศูนย์ฯ ตามความคิด ความต้องการเราเอง ในเครือข่ายที่มีความพร้อม เอากี่แห่งก็ได้ และเรียนรู้กับการทำงานตรงนี้
  • เมื่อ Focus ตรงนี้ กลยุทธ์ กลวิธี จะมีความแตกต่าง ที่เราจะใช้เป็นกลยุทธ์รวมทั้งจังหวัด และเราต้องมีกิจกรรมมากกว่านี้ ที่จะพัฒนางานได้ ให้คิดเชิง R&D ศึกษา พัฒนาไปด้วย และจะได้สร้างผลงานวิชาการได้ด้วยในการพัฒนา

หมอแต๊วเสริมในบางส่วนละค่ะว่า

  • ปี 2550 คงเป็นปีที่หา Baseline data สำหรับการทำงาน
  • และจะเจาะอำเภอใดอำเภอหนึ่งมาเลือกทำ ตามข้อมูลที่ได้พบ
  • ตอนนี้ก็มุ่งทำ Network Meeting ที่จะทำงานร่วมกับเครือข่าย ตั้งแต่ อบต. พัฒนาชุมชน และอื่นๆ และเราสามารถจะเอางานไปร่วมกับเขาได้อย่างไร
  • และในเรื่องของ KM จะมองว่า ในงานครั้งนี้ไปเห็นอะไรเล็กๆ ที่มันใช่เลยที่น่าจะไปทำในประเด็นที่เราไปผูกกับสิ่งที่จะนำไปข้างหน้าได้ เพื่อจะหาจุดเริ่มทำงานในพื้นที่กันต่อไป

สรุปเพิ่มเติมจากอาจารย์ค่ะว่า

  • ครั้งนี้จะมาคุยกันเรื่อง ว่า กลุ่มที่ทำงานจะไปทำอะไรกันที่ไหนละค่ะ
  • ปัญหาที่พบว่า ศูนย์เด็กจำนวนมากมีเด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ที่จะไม่พบตรงนี้
  • ... เราอาจต้องปรับเป้า ว่ามีการดูแลเด็ก ต่ำกว่า 3 ปี ให้ดูกระบวนการคิดว่า มันจะแตกต่างไหม ในการดูแลเด็กอายุมากกว่า 3 ปี และต่ำกว่า 3 ปี
  • เรื่องของผู้ปกครอง ส่วนใหญ่มีข้อจำกัด ... เขามีส่วนร่วมค่อนข้างน้อย
  • เราคงต้องหาเครือข่ายที่เป็นจริง หากลุ่มแกนที่เป็นหลัก และการขับเคลื่อนการทำงานที่แท้จริง เป็นเครือข่ายผู้ปฏิบัติการโดยตรง จับกันให้ติด ต้องระวัง และต้องแยกแยะ ... ดูกลุ่มแกนนำที่ร่วมกันพัฒนาอย่างจริงจัง มีใครบ้าง Define ให้ชัดเจน
  • ในส่วนเครือข่ายผู้สนับสนุน ... ผู้สนับสนุนขาประจำ (อบต. อบต.ที่ใหญ่จะมีฝ่ายการศึกษาดูแล) และขาจร
  • คิดในความเป็นจริงของการขับเคลื่อนงาน คิดในความรับผิดชอบ เราก็จะรู้ว่า ตรงไหนเราจะรับผิดชอบ
  • จะมีคนหลักที่ลงแรงเยอะ เราต้องให้ความสำคัญตรงนี้มาก มาก
  • ทุกเรื่องที่ทำ ถ้าที่บ้านไม่ร่วมมือ จะมีปัญหา ... ทำให้เป็นรูปธรรมของการเชื่อมโยง ศูนย์เด็ก กับที่บ้าน อย่างเป็นรูปธรรมด้วย ... เราจะสื่อกับเด็ก สื่อกับครูพี่เลี้ยง สื่อกับผู้ปกครองให้ช่วยเสริม กันได้อย่างไร
  • เรื่องสิ่งแวดล้อมที่มีปัญหา (ภายใน และภายนอก รร.) คือ การขายขนมมีเยอะ ... การจัดการอาจมีการดึงเอาชุมชนเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง แต่ก็ทำได้ระดับหนึ่ง
  • ให้ตั้งประเด็นนี้ให้เป็นปัญหาหลัก ... ต้องจับต้องให้ชัดเจนด้วย

 

หมายเลขบันทึก: 122271เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2007 07:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณเพื่อนร่วมเดินทางค่ะ ที่ร่วมทางมาด้วยอารมณ์แจ่มใส หัวใจเต็มร้อย เติมเต็มรายละเอียดได้อย่างน่าทึ่ง จ ากชัยภูมิ  แดนอีสาน  ถึงนครนายก ที่ธรรมชาติน่ารื่นรมย์ แต่เสียดายไม่มีโอกาศเท่าที่อยาก   ยังไงปี 51 ก็แบ่งเวลาให้ทีมเด็กเล็กอีกนะคะ

  • ยินดีค่ะ เจ๊แตงโม งานนี้เราร่วมด้วยช่วยกันอยู่แล้ว
  • แต่ต้องสับราง (รถไฟ) ให้แจ๋วกว่านี้สักหน่อยนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท