โรจน์
นาย โรจนศักดิ์ ทองคำเจริญ

เสวนาเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายครั้งที่ 3 วันที่ 25 สิงหาคม 2550


หลักสูตรแพทย์เพื่อเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมานี้ผมได้มีโอกาศไปประชุมที่ศิริราช เรื่อง "หลักสูตรแพทย์เพื่อเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย" ผมได้พาทีมกัลยามิตร รพ. แม่สอด 4 คน คือ ผม+หมอพิสิฐ (หมอ med) +คุณยุ้ย(เลขาโครงการ)+พี่บัวผัด(พยาบาล ward) พวกเราไปกันโดยนั่งรถจากแม่สอดไป กทม. รถออกประมาณ 22.30 ถึง กทม. ประมาณ 4.30 น. นั่งรอจนเช้าจึงไปที่คณะแพทย์

การประชุมนี้จัดร่วมกันระหว่าง กลุ่มสถาบันแพทย์ศาสตร์แห่งประเทศไทย+เครือข่ายพุทธิกา โดยคณะแพทย์ รพ.ศิริราชเป็นเจ้าภาพ

ตอนแรกในช่วงเริ่มงานผู้จัดวางแผนว่า จะมีอาจารย์สุมาลี แต่เนื่องอาจารย์ไม่ค่อยสบายจึงมาไม่ได้ อาจารย์รุ่งนิรันทร์ ได้พูดถึง scope ของหลักสูตรแพทย์เพื่อเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย มีการอภิปรายและมีหัวข้อน่าสนใจทั้งเช้า-บ่าย ดังที่เขียนใน blog ของอาจารย์สกล

http://gotoknow.org/blog/phoenix-mirror/122534 , http://gotoknow.org/blog/phoenix-mirror/122352  และ http://gotoknow.org/blog/phoenix-mirror/122460

ในทัศนะของผมการเรียน palliative care เป็นเรื่องที่ต้องเริ่มต้นที่ attitude การเรียนว่า

1.เรียนแล้วพัฒนาจิตใจของตัวผู้เรียนให้มีความสุขมากขึ้น-สุขได้ง่ายขึ้นจากการดูแลผู้ป่วย (เกิดปิติจากการดูแลคน มิใช่เรียนแล้วทุกข์/แบกทุกข์หรือเรียนเพื่อเกรดเท่านั้น)

2.เรียนเพื่อผู้อื่น เราจะสามารถดูแลผู้ป่วยได้ดีขึ้น

3.เรียนแล้วอยากศึกษาเพิ่มเติมทุกครั้งที่มีโอกาส

การที่จะปรับทัศนคตินักเรียนได้ต้องปรับทัศนคติอาจารย์เป็นเบื่องต้น โรงเรียนแพทย์และนักการศึกษามักมองที่เรื่องที่เป็นโครงสร้างว่าจะต้องสอน content อย่างไร? อันไหนก่อนหลัง? มองว่าการวัดผลเป็นตัวสำคัญที่จะทำให้เด็กตั้งใจเรียน แต่สิ่งสำคัญคือ ใจของผู้สอน

ตอนผมเรียนอยู่ที่รามาธิบดีตอนปี 5 ผมผ่านการเรียนวิชาศัลยกรรมหัวใจและทรวงอก ผมเจออาจารย์ท่านหนึ่งที่สอนหลายเรื่องราว ผมจำไม่ได้ซักเรื่องแต่กลับจำได้ติดใจกับประโยคเด็ดของอาจารย์ที่พูดว่า "หนังสือพิมพ์ไม่ต้องไปอ่าน มันเขียนแต่เรื่องไร้สาระ" อาจารย์พูดด้วยสีหน้าและแววตาที่จริงจังมาก+นำเสียงแสดงถึงความรู้สึกต่อหนังสือพิมพ์ (ต่างกับตอนสอนเนื้อหาการแพทย์ที่จืดชืดเป็นอย่างยิ่ง)

ตอนผมเรียนเวชศาสตร์ครอบครัวตอนเป็นนักศึกษาแพทย์ที่รามา ในเวลานั้น (ประมาณ 9 ปีก่อน) ผมไม่รู้สึกว่าเวชศาสตร์ครอบครัวดีจากอาจารย์ที่รามา แต่ผมมีข้อมูลว่าเป็นศาสตร์ที่ดี ถ้าทำได้จริงจะทำให้คนที่เรียนเป็นแพทย์ที่เก่งและดีในเวลาเดียวกัน ผมจึงมุ่งหน้าขึ้นทางเหนือสู่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่เคยได้ยินว่าเป็นที่แรกที่สอนเวชศาสตร์ครอบครัว ผมเจออาจารย์บุญส่ง เป็นอาจารย์ที่สอนผมแบบเห็นภาพ อาจารย์พาผมลงสลัมในเชียงใหม่ในวันเสาร์ ในขณะที่เดินไป คนในสลัมทักอาจารย์ตลอดทาง และมีคนกลุ่มหนึ่งกำลังมีการประชุมเรื่องในหมู่บ้านแล้วชวนอาจารย์เข้าร่วมแต่อาจารย์บอกว่าไม่เป็นไร (อาจารย์บอกผมที่ไม่ร่วมวงเพราะ ความเห็นเราอาจจะไปทำให้เขาไม่กล้าแสดงออกมาเพราะเขาเชื่อถือเรา)

อาจารย์บอกผมหนึ่งคำที่จำจนถึงวันนี้ "ถ้าโรจน์อยากประสบความสำเร็จในงาน ต้องรู้จักยกความดีให้คนอื่น ใครขอความช่วยเหลืออย่าปฏิเสธ แล้วผมเชื่อว่าคนเขาจะเห็นเองว่าเราเป็นเช่นไร"

การเป็นครูของอาจารย์ในวันนั้นทำให้ผมมุ่งจะเรียนเวชศาสตร์ครอบครัวนับแต่วันนั้นเป็นต้นมา อาจารย์สอนจิตวิญญาณอย่างแท้จริง

อาจารย์สุมาลีแห่งศิริราชเป็นอาจารย์ที่ผมประทับใจมาก ถึงผมจะรู้จักอาจารย์ระยะสั้นๆที่การอบรมระยะสั้นเรื่อง counseling ผมปรึกษาอาจารย์เรื่องการทำโครงการกัลยามิตรที่แม่สอด อาจารย์ตอบ e-mail ผมตลอดทุกครั้งที่ผมมีคำถามถึงอาจารย์จะเป็นอาจารย์อาวุโสแต่สอนผมอย่างมาก อาจารย์รับฟังสิ่งที่นักเรียนพูดอย่างลึกซึ้ง ผมเห็นความเป็นครูในตัวอาจารย์ ความเป็นครูเร่งเร้าความอยากรู้อยากเรียนของผมอย่างมาก

ผมไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรให้มีอาจารย์ที่เป็นครูมากๆ ผมรู้สึกว่า การเลือกใครเป็นอาจารย์ซักคนก็สำคัญ มิใช่ต้องเก่งที่สุด แต่เป็นคนที่ถ่ายทอดความดีได้จากตัวอาจารย์มายังศิษย์ได้ อาจารย์ส่วนใหญ่เป็นเช่นไรศิษย์ส่วนใหญ่คือภาพสะท้อนของสถาบันนั้น

คำสำคัญ (Tags): #พุทธิกา#palliative care
หมายเลขบันทึก: 122264เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2007 05:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

มาติดตามอ่านค่ะ

ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์กำลังวางแผนดูแลผู้ป่วย end of life ค่ะ

ทีมมีแพทย์ พยาบาล นักสังคมสงเคราะห์มาคุยกัน

วันนี้จะวางแผนและนำเสนอในที่ประชุมค่ะ

ขอบคุณคุณอุบลที่แวะมาเยี่ยมชม ถ้านำเสนอแล้วยังไงก็นำมา post ลง blog ด้วยนะครับ

ต้นแบบ ครูแพทย์เป็นเรื่องสำคัญมาก โดยเฉพาะ สมัยนี้  แพทย์น่าจะได้เรียนรู้ เรื่องราว ที่ โรจน์ กำลังถ่ายทอดอยู่ ให้มาก 
ของคุณอาจารย์หมอจิ้นครับ

แวะมาเยี่ยมเยียน และรายงานตัวค่ะ หายไปจาก blog เสียนานเพราะโมเดมคอมพ์ที่บ้านเสีย ก็เลยไม่ค่อยได้ท่อง web ตอนดึกๆค่ะ...ตอนนี้ก็ยังทำงานดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่โรงพยาบาลอยู่นะคะ...ยังดำเนินตามเจตนารมย์ที่มุ่งมั่นอยู่..และแวะเวียนมาเก็บเกี่ยวความรู้ที่อาจารย์แบ่งปันให้เสมอๆค่ะ...  

ยินดีแลกเปลี่ยนเพื่อการเรียนรู้ร่วมกันครับ คุณไพรินทร์

ไม่เคยทราบมาก่อนว่ามีblogดีดีของหมอโรจน์อยู่ แล้วตอนนี้ที่แม่สอดงานpalliative careไปถึงไหนแล้วคะ สนใจค่ะสนใจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท