RW ครั้งที่ 3 ภาคใต้ รายงาน 2. ศูนย์การเรียนรู้แผนชีวิตชุมชน


กำนัน ผญบ.ทำงานเข้ากับ อบต.ได้ดี ทำงานเป็นทีม ประสานงานกันดี แบ่งหน้าที่กันชัดเจน สนับสนุนกันตามภารกิจ มุ่งพัฒนาชุมชนโดยรวม การทำงานจึงประสบความสำเร็จ

          ได้ไปศึกษาดูงาน การจัดการความรู้ ของ จ.ชุมพร ในงานสัมมนา RW ครั้งที่ 3  ของสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 สงขลา วันที่ 21 ส.ค.2550 ภาคเช้า จุดแรกของการดูงาน คือ  ชุมชนตำบลวังตะกอ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร 

ประวัติตำบลวังตะกอ เมื่อหลายร้อยปีมีกลุ่มคนมาสร้างบ้านเรือนบริเวณริมแม่น้ำหลังสวน ซึ่งเป็น วังน้ำ ซึ่งมีต้นไม้ที่มีชื่อว่า ต้นกอขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น จึงเรียกชุมชนแห่งนี้ว่า วังต้นกอจนกลายเป็นวังตะกอมาจนปัจจุบัน มี 13 หมู่บ้าน มีนายประวิทย์ ภูมิระวิ เป็นกำนัน ท่านได้ต้อนรับคณะและบรรยายให้ข้อมูล สรุปได้ว่า

แผนชีวิตชุมชนตำบลวังตะกอ   ใช้เป็นเครื่องมือกระบวนการเรียนรู้ เริ่มแนวคิด ของชุมชน เมื่อปี พ. ศ. 2542 แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ต่อมาเมื่อต้นปี พ.ศ.  2546 ไม่ละความพยายามที่จะจัดทำแผนแม่บทชุมชน จึงเริ่มขยายความคิดตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
1.     การจัดเตรียมแกนนำ 1 กุมภาพันธ์ 2546
2.     การจัดเก็บข้อมูล  1 มิถุนายน 2546
3.     จัดเวทีวิเคราะห์ข้อมูล 29 สิงหาคม 2546
4.     ยกร่างแผน 1 กันยายน  2546
5.     ประชาพิจารณ์ 15 ตุลาคม 2546   จนได้แผนชีวิตชุมชนที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ และแผนดังกล่าว มีการปรับปรุง ให้ทันกับสถานการณ์ อยู่ตลอดเวลา

ศูนย์การเรียนรู้แผนชีวิตชุมชนตำบลวังตะกอ  อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร  เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้เกษตรพอเพียงแบบครบวงจร ลดต้นทุน 90 % โดยใช้พื้นที่เป็นที่ตั้ง  ชุมชนเป็นศูนย์กลาง ชาวบ้านเป็นเจ้าของ ทำให้ชุมชนเข้มแข็งพัฒนาอย่างยั่งยืน

กิจกรรมในศูนย์การเรียนรู้แผนชีวิตตำบลวังตะกอ
1.     การจัดการน้ำที่ดี
2.     เลี้ยงแม่พันธุ์หมู หมูชุน
3.     ปลูกข้าวโพด ผักกระเฉด เป็นอาหารสัตว์
4.     เพาะเห็ดนางฟ้า
5.     เลี้ยงปลา
6.     ทำนาไว้กินเอง
7.     ปลูกปาล็มน้ำมัน
8.     เลี้ยงกบ
9.     ปลูกไม้ยืนต้นไว้ใช้สอย
10.            ปลูกทุกอย่างที่กินได้          สำหรับรายละเอียดของแต่ละกิจกรรม ถ้ามีโอกาสจะนำเสนอเพิ่มเติมครับ แต่ว่า กำนัน จะเป็นคนที่ให้ข้อมูลได้ดีที่สุด ครับ 

           การนำภูมิปัญญาชาวบ้าน ผู้รู้ด้านต่างๆ ตลอดจนมีวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงาม และรัพยากรธรรมชาติที่มียังสมบูรณ์ สามารถพัฒนาให้เกิดประโยชน์กิจกรรมที่สร้างอาชีพให้กับตนวังตะกอ มีหลายอย่าง ได้แก่
1.    
กลุ่มผลิตน้ำดื่มคุณภาพ ตำบลวังตะกอ
2.    
ปั้นดินให้เป็นดาว เพื่องานตกแต่งบ้านและสวน
3.     ศ.หลังสวนเบญจรงค์ (สืบสานภูมิปัญญาไทยโดยตนหลังสวน)สร้างมาตรการฟื้นฟูพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติลิ่งแวดล้อมเริ่มจากการเพาะกล้าไม้ยืนต้นและไม้มงคลต่างๆ ปลูกในชุมชนเอง

ป่าไม้ของชุมชนตำบลวังตะกอ          ได้มาโดยการทำประชาคมชุมชน จากที่ สาธารณะให้เป็นป่าของชุมชนจำนวน 60 ไร่ และมีแปลงอื่นอีกหลายแปลง มีการปลูกต้นไม้ในปี พ.ศ. 2542 โดยให้ชาวบ้านเป็นเจ้าของและช่วยดูแลเป็นการปลูกจิตสำนึกการักป่ารักต้นไม้ในปี พ.ศ. 2549 คืนสมุนไพรสู่ป่า โดยชาวบ้าน ลูกหลานในตำบลนำสมุนไพรช่วยกันปลูก
    
คณะฯได้ให้ความสนใจ สอบถามข้อมูล กันมากมาย จนเลยเวลาอาหารกลางวัน
--ภาพประกอบ-- 

 


                            กำนันแฟ็ด

         ศูนย์แผนชีวิตชุมชนตำบลวังตะกอ เป็นศูนย์สาธิตเศรษฐกิจพอเพียง ที่มีรูปธรรมชัดเจน เกี่ยวเนื่องกัน ทั้งการเกษตร ประมง ปศุสัตว์ ปุ๋ยอินทรีย์ การจัดการน้ำ เป็นการละต้นทุนโดยใช้ธรรมชาติเป็นตัวขับเคลื่อน          เราปลูกต้นไม้เพื่อปลูกจิตสำนึกให้รู้จักตนเอง พอรู้จักตนเองก็ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง ตำบลเข้มแข็ง อำเภอเข้มแข็ง จังหวัดเข้มแข็ง ประเทศเข้มแข็ง ก็เกิด ความพอประมาณพอดี เกิดเศรษฐกิจพอเพียง และพัฒนาอย่างยั่งยืน

แผนชีวิตชุมชน ทำให้ รู้จักตัวเอง รู้จักชุมชน นำไปสู่การพัฒนาตนเองอย่างยั่งยืน ตำบลวังตะกอได้มีการบูรณาการ นำความรู้เรื่องหลักการ การทำแผนชุมชน ให้เข้ากับสภาพปัญหาข้อเท็จจริงในชุมชน ได้อย่างกลมกลืน มีการดำเนินงานอย่างเป็นขั้นตอน จนคนในชุมชนรู้จักตัวตนของตนเอง รู้สภาพภายนอกที่จะมีผลกระทบต่อการพัฒนานำไปสู่การจัดทำแผนโดยชุมชนเป็นแกนหลักและมีหน่วยงานองค์กรต่างๆ ทั้งในท้องถิ่นและส่วนกลางให้การสนับสนุน

 ข้อสังเกต     กำนัน ผญบ.ทำงานเข้ากับ อบต.ได้ดี ทำงานเป็นทีม ประสานงานกันดี แบ่งหน้าที่กันชัดเจน สนับสนุนกันตามภารกิจ มุ่งพัฒนาชุมชนโดยรวม การทำงานจึงประสบความสำเร็จ
 

ขอขอบคุณผู้ประสานงาน  พี่ อภิชาติ ศศิสน หน.ฝ่ายยุทธศาสตร์ฯ เกษตรชุมพร คุณประสงค์ บุญเจริญ คนทำ km

 แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม  สำนักงานเกษตรอำเภอหลังสวน 077-541767 เกษตรอำเภอ บุญโชติ ดวงมณี   087-2696767 กำนัน ประวิทย์ ภูมิระวิ  084-838136 

คนต้นเรื่อง  กำนัน แฟ็ด  ประวิทย์ ภูมิระวิ

คนเล่าเรื่อง ชัยพร  นุภักดิ์  

หมายเลขบันทึก: 121686เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2007 09:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

* สวัสดีครับ คุณพี่ชัยพร

* จากที่อ่านดูแล้วกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นสามารถเอื้อต่อการดำรงชีวิตของชุมชนอย่างแท้จริงครับ สามารถพูดได้...โดยชุมชนและเพื่อชุมชน......

* ถ้ามีโอกาสอยากทางจังหวัดหน้าจะนำเจ้าหน้าที่ในแต่ละอำเภอไปศึกษาเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงบ้างนะครับ เพื่อนำความรู้และข้อมูลดังกล่าวมาใช้ในการพัฒนางานที่ตนเองรับผิดชอบอยู่

* ขอบคุณครับที่มีแหล่งเรียนรู้ดีๆ ให้แก่ เจ้าหน้าที่ นะครับ

  • ขอบคุณ คุณเธียรชัย
  • เกษตรกร ผู้นำเขาเก่งครับ
  • โครงการศูนย์เรียนรู้ฯ น่าจะนำ จนท.ไปดู ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท