วิจัยสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น


เมืองไตรตรึงษ์
บทที่  1บทนำ 1. ภูมิหลัง               ตามที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พุทธศักราช  2542 หมวด 4  มาตรา 27  ที่กำหนดให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  กำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อความเป็นไทย  ความเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติ  การดำรงชีวิตการประกอบอาชีพ ตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อ และให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  มีหน้าที่จัดทำสาระหลักสูตรในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพ  ปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น  คุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว  ชุมชน  สังคมและประเทศชาติ  และมาตรา 29 ที่กำหนดให้ สถานศึกษาร่วมกับบุคคล  ครอบครัว  ชุมชน  องค์กรชุมชน  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ  สถาบันศาสนา  สถานประกอบการ  และสถาบันสังคมอื่น  ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนโดยจัดกระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชน  เพื่อให้ชุมชนมีการจัดการศึกษาอบรมมีการแสวงหาความรู้  ข้อมูลข่าวสารรู้จักเลือกสรรภูมิปัญญาและวิทยากรต่างๆ  เพื่อพัฒนาชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการ  รวมทั้งหาวิธีการสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาระหว่างชุมชน  และหมวด 8 มาตรา 58 ( 2 )  กำหนดให้บุคคล  ครอบครัว  ชุมชน  องค์กรชุมชน  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  องค์กรเอกชน  องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา  สถานประกอบการและสถาบันสังคม  ได้ระดมทรัพยากรเพื่อจัดการศึกษาโดยเป็นผู้จัด และมีส่วนร่วม ในการจัดการศึกษา บริจาคทรัพย์สินและทรัพยากรอื่นให้แก่สถานศึกษา มีส่วนร่วมรับภาระค่าใช้จ่ายทางการศึกษาตามความเหมาะสมและความจำเป็น โดยเฉพาะหมวด 1 ความมุ่งหมายและหลักการในมาตรา 6 กำหนดให้การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์   ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา มีความรู้คู่คุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรม ในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข (สำนักงานรับรองมาตรฐานและการประเมินคุณภาพการศึกษา  (องค์การมหาชน), 2547.) กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหน่วยงานในส่วนกลาง  มีภารกิจสำคัญในการจัดและส่งเสริมการศึกษาขั้นพื้นฐาน  โดยมีหน้าที่ในการจัดทำนโยบายและจัดทำหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ซึ่งได้กำหนดจุดหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.. 2544  เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับท้องถิ่นโดยกำหนด  คุณลักษณะอันพึงประสงค์  ให้ผู้เรียนรักประเทศชาติ  รักท้องถิ่น  มุ่งทำประโยชน์  สร้างสิ่งดีงามให้สังคม   มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ภาษาไทย  ศิลปวัฒนธรรม  ประเพณี  ภูมิปัญญาไทย  ทรัพยากรธรรมชาติ  และสิ่งแวดล้อม  ซึ่งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  สถานศึกษา  หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะต้องนำหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  .. 2544  ไปใช้จัดการศึกษาให้บรรลุตามจุดหมายและมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดไว้               สถานศึกษาขั้นพื้นฐานนับเป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญในการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาการศึกษาของผู้เรียน  เป็นฐานในการบริหารจัดการศึกษาที่เหมาะสมที่สุดกับบริบทสังคมในท้องถิ่นที่สถานศึกษานั้นตั้งอยู่  เพราะสถานศึกษามีความใกล้ชิดกับผู้เรียนและชุมชนมากที่สุด  รับรู้ปัญหาความต้องการของผู้เรียนและของชุมชนเป็นอย่างดี  กล่าวคือสถานศึกษาจะต้องจัดทำรายละเอียดหลักสูตรของตนเองเพื่อเป็นกรอบในการจัดการเรียนรู้ให้เป็นไปตามมาตรฐานการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน  และสนองต่อความต้องการของชุมชน  ตลอดจนความถนัด  ความสนใจและความสามารถของผู้เรียนให้เกิดการพัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพ  สถานศึกษาสามารถดำเนินการได้โดยที่สถานศึกษา  วิเคราะห์กำหนดให้ได้จากลักษณะต่างๆ  เช่น กำหนดทดแทน  หรือเพิ่มเติมจากตัวอย่างสาระการเรียนรู้ แกนกลางที่กระทรวงกำหนดไว้และกำหนดลักษณะเป็นแหล่งเรียนรู้  สื่อการเรียนรู้ท้องถิ่น  ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เรียนรู้สาระนั้นๆ  หรือการกำหนดเป็นหลักสูตรเพิ่มเติม  สาระการเรียนรู้ท้องถิ่นที่กำหนดเนื้อหาสาระการเรียนรู้ขึ้นเองจากสภาพปัญหา และความต้องการของท้องถิ่นนั้นๆ                จากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีรายละเอียดข้างต้น  โรงเรียนบ้านไตรตรึงษ์จึงได้จัดทำสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม  ซึ่งทางโรงเรียนเห็นว่าชุมชนในตำบลไตรตรึงษ์  มีสิ่งที่ควรศึกษาหลายประการ อาทิเช่น  สถาปัตยกรรม  โบราณสถาน โบราณวัตถุ  และศิลปะการแสดงพื้นบ้าน  เป็นต้น  ซึ่งนับวันสิ่งที่ทรงคุณค่าต่าง ๆ เหล่านี้  ถ้าไม่ได้นำมาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ให้เห็นคุณค่าทางวัฒนธรรมก็ย่อมที่สูญหายไป  โดยทั้งนี้ทางโรงเรียนจัดให้เรียนรู้เป็นหน่วย ๆ รายวิชาเรียกว่าวิชาสาระเรียนรู้ท้องถิ่นเรียนรู้เมืองไตรตรึงษ์  ในช่วงชั้นที่ 2  โดยใช้เวลาเรียน 80 ชั่วโมง/ปี  โดยมีเนื้อหาสาระการเรียนรู้หลักอยู่สามเนื้อหา  ดังต่อไปนี้  สาระการเรียนรู้ไตรตรึงษ์ 1 มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของเมืองไตรตรึงษ์  สาระการเรียนรู้ไตรตรึงษ์ 2 มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับศิลปะการแสดงพื้นบ้าน และสาระการเรียนรู้ไตรตรึงษ์ 3  มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับพืชสมุนไพรพื้นบ้านและสิ่งแวดล้อมธรรมชาติของท้องถิ่น  พร้อมกันนี้ได้พัฒนาสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง ดำเนินการส่งเสริมให้มีการใช้สาระการเรียนรู้ท้องถิ่นในกิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียนบ้านไตรตรึงษ์ ตามขั้นตอนการบริหาร ดังนี้               ขั้นตอนที่  1  แต่งตั้งคณะทำงานจัดทำสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น                ขั้นตอนที่  2  จัดทำข้อมูลพื้นฐาน  สำรวจข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น               ขั้นตอนที่  3  กำหนดขอบเขตของเนื้อหา               ขั้นตอนที่  4  กำหนดเป้าหมายหรือจุดประสงค์การเรียนรู้               ขั้นตอนที่  5  การจัดทำคำอธิบายรายวิชาหรือเนื้อหาวิชา  จัดทำสาระการเรียนรู้  แผนการสอน  สื่อการเรียนการสอน                 ขั้นตอนที่  6  ดำเนินการใช้สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น เรียนรู้เมืองไตรตรึงษ์   โดยดำเนินการใช้จัดการเรียนการสอนในโรงเรียนบ้านไตรตรึงษ์  ในปีการศึกษา  2549                 ขั้นตอนที่  7  กำกับ  ติดตาม และประเมินผล  การดำเนินงานการเรียนรู้สาระการเรียนรู้ท้องถิ่นของโรงเรียนบ้านไตรตรึงษ์  ในปีการศึกษา 2549                          ปัจจุบันโรงเรียนจัดทำรายงานผลโดยเน้นขั้นตอนที่  7  กำกับ  ติดตาม และประเมินผล  การดำเนินงานการเรียนรู้สาระการเรียนรู้ท้องถิ่นของโรงเรียนบ้านไตรตรึงษ์  ในปีการศึกษา 2549  ได้ดำเนินการโดยใช้ทฤษฎีเชิงระบบ ( Systems  Analysis ) ในด้านปัจจัยป้อนเข้า (Inputs)  ด้านกระบวนการ  ( Process ) ด้านผลผลิต ( Outputs)  เพื่อทราบถึงการบริหารจัดการเรียนรู้จะได้นำมาปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นต่อไป 2.  วัตถุประสงค์ของการวิจัย               2.1  เพื่อติดตาม  และประเมินผลการดำเนินงานจัดการเรียนรู้สาระการเรียนรู้ท้องถิ่นของโรงเรียนบ้านไตรตรึงษ์  ในปีการศึกษา  2549               2.2  เพื่อรายงานผลการใช้สาระการเรียนรู้ท้องถิ่นโรงเรียนบ้านไตรตรึงษ์ ในปีการศึกษา  2549  3.  ความสำคัญของการวิจัย               1.  ผลของการศึกษาครั้งนี้จะทำให้ทราบถึงการติดตาม  และประเมินผลการดำเนินงานการจัดการเรียนรู้สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น เรียนรู้เมืองไตรตรึงษ์  ระดับช่วงชั้นที่  2  ปีการศึกษา 2549               2.  ผลของการศึกษาครั้งนี้จะทำให้ทราบถึงผลที่เกิดจากการเรียนรู้ของผู้เรียน  ในการจัดการเรียนรู้สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น เรียนรู้เมืองไตรตรึงษ์   ระดับช่วงชั้นที่  2  ปีการศึกษา 2549                 3.3  ผลการวิจัยครั้งนี้จะเป็นแนวทางในการพัฒนาการบริหารการจัดการเรียนรู้สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น เรียนรู้เมืองไตรตรึงษ์ ต่อไป4.  ขอบเขตของการวิจัย               4.1  การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับผลติดตาม  และประเมินผลการดำเนินงานการจัดการเรียนรู้สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น เรียนรู้เมืองไตรตรึงษ์ ของครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ผู้ปกครองนักเรียน  นักเรียนของโรงเรียนบ้านไตรตรึงษ์  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร  เขต 1  ปีการศึกษา  2549  โดยใช้ทฤษฎีเชิงระบบ  ( Systems  Analysis )                 4.2  การวิจัยครั้งนี้มุ่งวัดผลอันเกิดจากการเรียนรู้ในการจัดการเรียนรู้สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น เรียนรู้เมืองไตรตรึงษ์ ของนักเรียน               4.3  ประชากร  ประกอบด้วย                      4.3.1  ครูผู้สอนช่วงชั้นที่ 2   ปีการศึกษา  2549  จำนวน  6  คน                     4.3.2  คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ปีการศึกษา  2549  จำนวน  15  คน                     4.3.3  ผู้ปกครองนักเรียน  ปีการศึกษา  2549  จำนวน  132  คน                     4.3.4  นักเรียนช่วงชั้นที่ 2  ปีการศึกษา  2549  จำนวน  132  คน               4.3  กลุ่มตัวอย่าง  ประกอบด้วย                      4.3.1  ครูผู้สอนช่วงชั้นที่ 2  ปีการศึกษา  2549  จำนวน  6  คน                     4.3.2  คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ปีการศึกษา  2549  จำนวน  15  คน                     4.3.3  ผู้ปกครองนักเรียน  ปีการศึกษา  2549  จำนวน  100  คน                     4.3.4  นักเรียนช่วงชั้นที่ 2  ปีการศึกษา  2549  จำนวน 100  คน5.  นิยามศัพท์เฉพาะ               5.1  การติดตาม  และประเมินผลการดำเนินงานการจัดการเรียนรู้  หมายถึง  กระบวนการขั้นตอนการจัดการบริหารโดยใช้ทฤษฎีเชิงระบบ ( Systems  Analysis )  3  ด้าน  ได้แก่  ด้านปัจจัยป้อนเข้า (Inputs)  ด้านกระบวนการ  ( Process )  ด้านผลผลิต ( Outputs)               5.2  สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น  หมายถึง  รายละเอียดของข้อมูลสารสนเทศรวมทั้งเนื้อหาองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับท้องถิ่นในด้านต่าง ๆ  เช่น  ประวัติศาสตร์ความเป็นมา ทรัพยากร สิ่งแวดล้อม  สภาพเศรษฐกิจ  สังคม  การดำรงชีวิต  การประกอบอาชีพ   ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี  ภูมิปัญญา ฯลฯ                     5.3  สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น เรียนรู้เมืองไตรตรึงษ์   หมายถึง  สาระการเรียนรู้ท้องถิ่นของตำบลไตรตรึงษ์  ที่กำหนดเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมา  การดำรงชีวิต  ศิลปะวัฒนธรรม  ประเพณี  ภูมิปัญญา  ฯลฯ  โดยใช้จัดการเรียนการสอนในโรงเรียน  ระดับช่วง  ชั้นที่  2                  5.4  การจัดการเรียนการสอน  หมายถึง  กระบวนการการจัดการเรียนการสอน  ระดับ ช่วงชั้นที่  2  ในโรงเรียนตามเนื้อหาสาระของสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น  เรียนรู้เมืองไตรตรึงษ์   จำนวน  3  สาระการเรียนรู้  ดังนี้                     5.4.1  สาระการเรียนรู้ไตรตรึงษ์ 1  มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับประวัติศาสตร์  โบราณสถาน  โบราณวัตถุของเมืองไตรตรึงษ์  ใช้ศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4                      5.4.2  สาระการเรียนรู้ไตรตรึงษ์ 2  มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับภาษา  วรรณกรรม และศิลปะการแสดงพื้นบ้าน  ใช้ศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5                       5.4.3  สาระการเรียนรู้ไตรตรึงษ์ 3  มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับพืชสมุนไพรพื้นบ้าน  และสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติของท้องถิ่น  ใช้ศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6               5.5  ครูผู้สอน  หมายถึง  ครูผู้สอนของโรงเรียนบ้านไตรตรึงษ์ ช่วงชั้นที่ 2 จำนวน 6 คน  ในปีการศึกษา 2549               5.6  คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  หมายถึง  คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนบ้านไตรตรึงษ์  จำนวน 15  คน.  ในปีการศึกษา  2549               5.7  ผู้ปกครองนักเรียน  หมายถึง  ผู้ปกครองนักเรียนของโรงเรียนบ้านไตรตรึงษ์  ช่วงชั้นที่ 2  (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ) จำนวน  132  คน  ในปีการศึกษา  2549               5.8  ผู้เรียน  หมายถึง  นักเรียนของโรงเรียนบ้านไตรตรึงษ์  ช่วงชั้นที่ 2 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 )  จำนวน 132  คน  ในปีการศึกษา  25496.  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ               ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปพัฒนาการบริหารจัดการเรียนรู้สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น    เรียนรู้เมืองไตรตรึงษ์  ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสถานศึกษา สภาพผู้เรียน ชุมชน และท้องถิ่นได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
คำสำคัญ (Tags): #เมืองไตรตรึงษ์
หมายเลขบันทึก: 121324เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2007 16:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2012 15:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ

   อ่านบันทึกแล้วค่ะ ถ้าบันทึกเรื่องเล่าความสำเร็จของผอ.ไม่ต้องยาวมากนักจะน่าสนใจมากค่ะ  แต่บันทึกนี้ขอยกนิ้วให้ค่ะ  เล่าเรื่องหลักสูตรท้าวแสนปมก็ได้ค่ะ จะคอยอ่านค่ะ อย่าลืมขยายผลการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนด้วยนะคะ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท