พฤติกรรมของเด็กคัดเหลือ


เด็กที่เรียนไม่เก่งคือเด็กที่นิสัยไม่ดี จริงหรือ

ที่จะเล่าต่อไปนี้ เป็นเรื่องที่ดิฉันได้พยายามแก้ปัญหากับ "เด็กคัดเหลือ" ของดิฉันเองคะ  ในตอนแรกดิฉันพยายามแก้ไขพฤติกรรมเด็กโดยการลงโทษโดยการหักคะแนน หรือปรับเงินเวลาไม่ได้นำหนังสือเรียนมา หรือ ไม่ส่งงาน (เงินที่ปรับจะนำมาเป็นรางวัลนักเรียนที่ได้คะแนนสูงสุดในห้อง)   ปรากฎว่า ได้ผลในตอนแรกคะ เพราะนักเรียนจะไม่ค่อยสนใจเรื่องคะแนน ดิฉันก็เลยลองปรับให้ส่งงานเป็นกลุ่ม หากในกลุ่มส่งไม่ครบ หัวหน้ากลุ่มจะโดนลงโทษ ปรากฎว่า ไม่ได้ผล เพราะนักเรียนไม่มีจิตสำนึกรับผิดชอบเลย จากการสังเกตที่ได้ลงโทษหัวหน้ากลุ่มเมื่อโดนทำโทษ สีหน้าของนักเรียนที่ไม่ได้ส่งงานก็ไม่ได้แสดงถึงความสงสารเพื่อนเลย กลับหัวเราะชอบใจ ฯลฯ จนมาวันหนึ่งดิฉันป่วยเป็นไข้หวัด เส้นเสียงอักเสบ ไม่มีเสียงที่จะพูด ก็เข้าไปสอนเด็กห้องนี้เหมือนเดิม ปรากฏว่า เด็กเสียงดังมาก และ ไม่ยอมทำงานตามที่มอบหมาย พยายามถามก็ไม่มีใครตอบ  ดิฉันก็ไม่รู้ทำยังไง (หมดแรง)ได้แต่ปล่อยให้เขาพูดไป พอสักพักเขาก็เงียบ ดิฉันเลยพูดว่า "กำลังใจในการสอนของครูคือนักเรียน ครูอยากสอนให้สนุก ถึงแม้จะป่วย แต่ถ้าหากนักเรียนให้ความร่วมมือบ้าง ครูก็จะได้มีกำลังใจที่จะสอน ครูขอแค่ให้พรุ่งนี้ดีกว่านี้ ครูจะได้มีกำลังใจสอน" ทั้งๆที่ไม่ได้มีความหวังเลย ปรากฎว่า วันรุ่งขึ้นนักเรียน เข้าเรียนตรงเวลา และร่วมมือในการทำกิจกรรมการเรียนการสอนดีมาก ก็ได้ชมเขาว่า "ครูมีความสุขมาก และอยากให้เป็นอย่างนี้ทุกวัน วันนี้เก่งมาก" นักเรียนทุกคนยิ้มอย่างมีความสุข จนวันนี้ ดิฉันแทบไม่เจอปัญหาเมื่อสอนนักเรียนห้องนี้อีก (พยายามจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เพราะ เด็กที่ขี้เกียจจะเบื่อง่ายค่ะ)

สรุปแล้ว เด็กชอบคำชมมากกว่าการถูกบ่นด่า ดังนั้น หากท่านกำลังเจอปัญหาแบบดิฉัน ลองชื่นชมพฤติกรรมที่ดีๆของเด็กดู แล้วจะเห็นความเปลี่ยนแปลงค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #เด็กคัดเหลือ
หมายเลขบันทึก: 121081เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2007 19:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
อาชีพครูกับเด็ก ในสภาพเด็กคัดเหลือ(ขอยืมใช้!)อย่างเราๆ คงต้องใช้หลายวิธี โดยเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ตามอาการของเด็กซึ่งครูพึงสังเกต นึกอยู่บ่อยๆว่าจะมีใครเข้าใจบ้างหรือไม่...สภาพอย่างนี้ครูต้องใช้กำลังภายในและสติปัญญาเป็นอย่างมาก สุดท้ายครูมีพัฒนาการสูงขึ้น ในขณะที่พัฒนาการของเด็ก...ไม่แน่ใจ (ฮา)
   ดีใจด้วยนะจ๊ะที่ค้นพบวิธีแก้ปัญหา  
       คราวนี้ก็ได้หัวข้อในการทำวิจัยแล้วนะคะ

ให้กำลังใจคุณครูค่ะ อยู่บ้านกร่าง เช่นกัน คนข้างวัดในค่ะ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท