โครงงานจรวดกล่องฟิล์ม


ได้ฝึกความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ เป็นการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

   

 
 

 

    ในการทำโครงงานของนิสิต วิชาวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ที่นำมาร่วมงาน สัปดาห์วิทยาศาสตร์ ปีนี้ ตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือ  โครงงานเรื่อง จรวดกล่องฟิล์ม ซึ่งเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ โดยอาศัยหลักการเกิดปฏิกิริยาเคมีระหว่างกรดกับเบส  วัตถุประสงค์ของโครงงานคือ การฝึกทัษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สามารถอธิบายปฏิกิริยาระหว่างกรดกับเบสได้ เป็นการนำวัสดุเหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์ ฝึกการมีความคิดสร้างสรรค์ โดยมีขั้นตอนการดังนี้
      ศึกษาปฏิกิริยาเคมีระหว่างกรดและเบส โดยนำ baking soda หรือ ผงฟู (โซเดียมไบคาร์บอเนต) ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นเบส มาทำปฏิกิริยากับ น้ำส้มสายชู ซึ่งเป็นกรด จะเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นแรงขับคลื่อนให้กล่องฟิล์มเคลื่อนที่คล้ายจรวดได้
       การทดลองนี้ได้รับประโยชน์เช่น ทำให้ได้ศึกษาปฏิกิริยาเคมีระหว่างกรดอ่อนกับเบสอ่อน ได้ฝึกความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ เป็นการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และ อาจจะสามารถพัฒนาให้เกิดประโยชน์ในอนาคตได้

หมายเลขบันทึก: 120875เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2007 23:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

สวัสดีค่ะอาจารย์แพนดา ก่อนอื่นขอนำบุญมาฝากอาจารย์นะคะ ไปปฏิบัติธรรมมาหนึ่งสัปดาห์ที่ลำปางค่ะ

โครงงานวิทยาศาสตร์ของเยาวชนระดับต่างๆนั้นน่าสนใจมาก สมัยที่ยังทำงานอยู่ได้ต้องเกี่ยวข้องกับงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ตลอดระยะยี่สิบปี เห็นโครงงานมากมายที่แสดงถึงศักยภาพของเด็กไทย ซึ่งหลายโครงงานน่าทึ่งแม้ไม่ได้ยากหรือสลับซับซ้อน ไฮเทค แต่สะท้อนถึงการมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการมองเห็นโจทย์ที่น่าสนใจ และหาทางพบคำตอบ

แต่ที่ตัวเองคิดว่าน่าเสียดายคือโครงงานส่วนมากไม่ได้ถูกสานต่อ หรือเผยแพร่ต่อให้รู้กันทั่ว จบงานแล้วก็แยกย้ายกันไป

เวลาได้รับรู้การจัดงานกิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำนองนี้ในต่างประเทศ มักเห็นเขาให้คุณค่ากับกิจกรรมที่เยาวชนและผู้ชมสามารถมีส่วนร่วมได้มากกว่าเน้นนิทรรศการ เคยร่วมประชุมกับสมาคมระดับอียูที่เป็นการรวมตัวของผู้ที่ทำงานด้านกิจกรรมส่งเสริมวิทยาศาสตร์ในหมู่เยาวชนและประชาชนมีชื่อว่า EUSCEA(EU Science Events Association)ได้ฟังแต่ละประเทศเล่าถึงกิจกรรม Science Week และกิจกรรมอื่นๆที่เขาร่วมมือกัน คิดว่าถ้าผู้จัดของไทยเราได้มีโอกาสพิจารณาวิธีคิด และการประเมินผลการจัดงานจะทำให้การจัดงานสัปดาห์วิทย์ฯของเรามีความคุ้มค่าในการลงทุนจัดงานมากกว่านี้นะคะ

  • สวัสดีครับP
  • ขอบคุณมากครับที่นำบุญ จากการไปปฏิบัติธรรมที่ลำปางมาฝาก  คงจะอิ่มบุญมานะครับ ขอร่วมอนุโมทนาด้วยครับกับการปฏิบัติธรรม
  • เรื่องโครงงานวิทยาศาสตร์ ในงานสัปดาห์วิทยาศษสตร์ที่ มมส. ก็จัดกันมามากกว่า 10 ครั้งแล้วครับ   ส่วนใหญ่ก็อย่างที่ว่าแหละครับ จัดแล้วก็แล้วไป ปีใหม่นิสิตรุ่นใหม่ก็มาช่วยกันจัดใหม่  ซ้ำ ๆ กันไม่น้อย ผมจึงคิดว่าถ้านำเอามาบันทึกไว้ใน G2K บ้าง จะได้มีการนำของปีนี้ ไปพัฒนาต่อยอดให้ดีขึ้นบ้างในปีต่อไป แทนการคิดใหม่ทำใหม่ หรือ ทำซ้ำ ทุก ๆ ปี

เป็นโครงงานที่น่าสนใจมากค่ะ  ขออนุญาตนำไปเป็นตัวอย่างสอนเด็กนักเรียนได้ไหมค่ะ

ต้องการทำจรวด ดีๆ

  • ท่านที่สนใจรายละเอียดกรุณามาชมและสอบถาม ในงาน สัปดาห์วันวิทยาศาสตร์ นะครับ

ถ้าอธิบายเกี่ยวกับนำส้มสายชูของเรื่องทดลองภูเขาไฟก็บอกได้ค่ะ

by : หญิงบ้าแสงอุษา

สวัสดีค่ะพี่พี่

ตอนนี้หนูกำลังศึกษาและทำโครงงานเรื่องจรวดและอวกาศเพื่อนำไปจัดนิทัศการ จึงอยากขอคำแนะนำพี่พี่ช่วยแนะนำการทำโครงงานนี้ว่าทำอย่างไรค่ะ

จรวดกล่องฟิล์ม

มันเกี่ยวกับ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา อย่างไรค่ะ

ช่วยให้คำแนะนำหน่อยค่ะ

สวัสดีครับ วันวิทย์นี้ผมได้ทำโครงงานจรวดกล่องฟิล์มน่ะครับช่วยบอกหน่อย

นะครับว่ามันพุ่งได้ไงแล้วมันมีส่วนประกอบอะไรบ้างที่จะทำให้จรวดมันพุ่งได้น่ะครับ

อยากได้โครงงานวิทยาศาสตร์สิ่งประดิษฐ์

สวัสดีค่ะ คือว่า หนูสนใจโครงงานเรื่องนี้มาก และอยากทำ ครูแพนด้าจะว่าอะไรไหมค่ะ

ถ้าครูไม่ว่าอะไร ช่วยบอกวิธีการทำจรวดกล่องฟิล์มให้หนูได้ไหมค่ะ ถ้าได้หนูก็ขอขอบคุณไว้ล่วงหน้าเลยนะค่ะ ^^

ช่วยส่งกลับทางHotmail ได้ไหมค่ะ [email protected] ขอบคุณค่ะ

ใช้ผงฟูกับน้ำส้มสายชูค่ะ

ตกแต่งกลักฟิล์มให้เป็นรูปจรวดแบบที่ต้องการ ให้หัวจรวดอยู่ทางก้นของกลักฟิล์ม แยกฝาไว้ต่างหากก่อน

ผสมน้ำเล็กน้อยกับ ผงฟู(หาซื้อได้ตามซุปเปอร์มาร์เก็ต และร้านขายอุปกรณ์ทำขนมทั่วไป) เพื่อให้ ผงฟู มีความหนืด สามารถเกาะติดกับฝาได้ แม้ว่าจะกลับหัวก็ตาม

ใช้ช้อนตัก ผงฟู ที่ได้ในข้อ 2 ใส่ในหลุมเล็กๆ บนฝา ครั้งแรกลองใช้สักครึ่่งหลุมก็พอ

เทน้ำส้มสายชูลงในกลักฟิล์ม ประมาณ 1 ใน 4 ของกลักฟิล์ม อาจจะใช้ขวดบีบพลาสติกในการใส่น้ำส้มก็ได้ จะทำให้ง่ายต่อการเทขึ้นมาก

ปิดฝา ( ผงฟูยังคงติดอยู่กับฝา และยังไม่เกิดปฏิกิริยาใดๆ) แล้ววางกลักฟิล์มลงบนพื้น โดยเอาฝาลง รอสักครู่ จรวดจะทะยานขึ้นฟ้า ถ้าต้องการให้จรวดขึ้นเร็วๆ ให้เขย่าให้น้ำส้มสายชูผสมกับ ผงฟู ก่อนวางจรวดลง

Baking Soda เป็นสารที่เป็นด่าง (มีค่า pH ประมาณ 8.5) เมื่อผสมกับของเหลวที่เป็นกรด จะทำให้เกิดกาซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในทันที ตัวอย่างเช่น น้ำส้มสายชู (vinegar) , น้ำมะนาว เป็นต้น เมื่อกาซคาร์บอนไดออกไซด์เกิดขึ้นในปริมาณมากในที่จำกัด ก็จะพยายามหาทางออกในจุดที่อ่อนแอที่สุด ซึ่งก็คือทางฝาปิดนั่นเอง

ผมคิดว่าเพื่อนผม คง ลอกโครงงานมาจากนี้แหละคับ

โรงเรียนบ้านหนองแปน

เก่งมากครับ

นุรักกืก

ผมเคยทำโครงงานเรื่องอยู่ครับผม

ด.ช.ณภัทรพล เสือเฒ่า

ขอบคูณมากครับผมเกี่ยวกับ โครงงานจรวดกล่องฟิล์ม เด็กโรงเรียน ศิริมาตย์เทวี

ี่้นเ่ักนยสสนย

รีเริเดิอถะอี

ขอยืมไปใช่นะคราบบบบ

กิตติศักดิ์ พรหมกุล

ดีจังเลยพอดี จะเอาไปสอนน้องในวันวิทยาศาสร์

ปี2554ไกล้ถึงเเล้วพรุ้งนี้ก็ไช้เลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท