แผนและนโยบายด้านการศึกษา


แผนยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
 

ความสำคัญ   

             แผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการศึกษาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส) เป็นแผนที่นำไปสู่การปฏิบัติ ด้วยหวังว่าจะพัฒนาคุณภาพการศึกษาและมีส่วนช่วยแก้ปัญหาความ  ไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้อย่างถูกจุด
ความเป็นมา
                 ปัจจุบันในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีการจัดการศึกษาทั้งการศึกษาในระบบ และการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาที่จัดมีตั้งแต่ก่อนประถมศึกษาถึงระดับอุดมศึกษา และมีการจัดการศึกษาทั้งประเภทสามัญและอาชีวศึกษา โดยมีสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) 921 แห่ง ศูนย์การศึกษาพิเศษ 1 แห่ง โรงเรียนเอกชนสามัญ และอาชีวศึกษา 52 แห่ง โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม 125 แห่ง ปอเนาะ 232 แห่ง วิทยาลัยอาชีวศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) 15 แห่ง สถานศึกษาในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน(กศน.) 33 แห่ง สถาบันอุดมศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) 4 แห่ง นอกจากนี้ ยังมีโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน 10 แห่ง โรงเรียนเทศบาล 33 แห่ง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและศูนย์เด็กก่อนเกณฑ์ในวัด 441 แห่ง และศูนย์อบรมศาสนาอิสลามและจริยธรรมประจำมัสยิด(ตาดีกา) 791 แห่ง
               ปัญหาการจัดการศึกษาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังมีปัญหาสำคัญคือ การจัดการศึกษายังไม่ทั่วถึง และไม่สอดคล้องกับความต้องการและวิถีชีวิตของประชาชนในท้องถิ่น และคุณภาพการศึกษาก็ยังอยู่ในระดับต่ำ อันเนื่องมาจากการขาดเอกภาพในการบริหารจัดการศึกษา และขาดการประสานงานในแนวราบระหว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบจัดการศึกษาที่อยู่ในระดับพื้นที่ ขาดแคลนครู และครูขาดขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน รวมทั้งไม่สามารถระดมทรัพยากรมาใช้เพื่อการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
               ดังนั้น เพื่อให้การบริหารและการจัดการศึกษาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นการแก้ปัญหาการศึกษาเร่งด่วนและในระยะยาว จึงควรมีการจัดรูปแบบการบริหารและการจัดการศึกษาในลักษณะพิเศษ ที่สอดคล้องกับบริบททางสังคมและวัฒนธรรม
 แนวทางดำเนินการ  

            การบริหารจัดการการศึกษาทุกรูปแบบ ทุกระดับ/ประเภทการศึกษาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนี้
             1.เสนอนโยบายและแผนพัฒนาการศึกษาที่บูรณาการการศึกษากับ ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และการกีฬา ที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด
             2.ศึกษาวิจัยและส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาการศึกษา              3.เสนอแนะและให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับการบริหารงานทั่วไป การบริหารงานบุคคล การให้สิทธิประโยชน์พิเศษ รวมทั้งการพัฒนาบุคลากรให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับสภาพสังคม และวัฒนธรรม             4.เสนอแนะและให้ความเห็นชอบการจัดตั้งและการจัดสรรงบประมาณของหน่วยงานการศึกษาและหน่วยงานอื่นๆ ที่จัดการศึกษา
             5.กำกับ ติดตาม ประเมินผล และเร่งรัดการดำเนินงานของหน่วยงานการศึกษาทั้งภายในและนอก ศธ. ให้เป็นไปตามนโยบายและแผน และรายงานผล รวมทั้งเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
            6.ประสานเชื่อมโยงการดำเนินงานกับหน่วยงานต่างๆ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐเอกชน และประชาชน              7.แต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงานหรือบุคคลใดเพื่อกระทำการใดๆ อันเป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงาน และ             8.ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ปลัด ศธ. เลขาธิการ สกศ. เลขาธิการ กพฐ. เลขาธิการ กอ. เลขาธิการ กอศ.  รัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
             ส่วนรูปแบบการบริหารการศึกษาเฉพาะกิจในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะต้องมีหลักการ เช่น ความเป็นเอกภาพเชิงนโยบาย แต่หลากหลายทางปฏิบัติ ไม่ใช่ต่างหน่วยงานต่างทำ ต้องมีการกระจายอำนาจและความเป็นอิสระแก่หน่วยงานที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการศึกษาในระดับพื้นที่ ได้มีอำนาจตัดสินใจและมีอิสระคล่องตัวในการบริหารและจัดการศึกษา เพื่อให้สามารถจัดการศึกษาได้สอดคล้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่น
             นอกจากนี้ ต้องยึดหลักการมีส่วนร่วม โดยเปิดโอกาสให้หน่วยงาน/องค์กร/ฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งประชาชนในท้องถิ่นได้ร่วมรับรู้ ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมดำเนินการ ร่วมติดตามตรวจสอบการดำเนินงานบริหารและจัดการศึกษา และต้องถือความเสมอภาค โดยคำนึงถึงโอกาสเข้ารับบริการการศึกษาที่มีคุณภาพและสอดคล้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ทั้งที่เป็นผู้เรียนชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม ฯลฯ
ยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษา เร่งพัฒนาการศึกษาใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มีคุณภาพ   ซึ่งจะส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศ” แผนงานหลักในการพัฒนา    ๔ ด้าน ดังนี้ 
            . พัฒนาสถานศึกษาให้มีมาตรฐานทั้งหมดอย่างรวดเร็ว
            . ให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
            . ครูมีศักยภาพและปริมาณเพียงพอ
            . พัฒนาโรงเรียนสอนศาสนา หรือโรงเรียนปอเนาะ ให้มีคุณภาพ
 แนวทางการพัฒนาการศึกษาใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้             . การพัฒนาสถานศึกษา
                ปัจจุบัน ศธ. มีโรงเรียนใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน ๙๒๕ โรง ส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนขนาดเล็กในระดับประถมศึกษา ศธ. จะเข้าไปตรวจสอบความพร้อมให้ครบทั้ง กระบวนการ โดยมอบให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียนจัดทำรายละเอียดความต้องการเสนอมาเป็นรายโรงเรียน ทั้งนี้ คาดว่าจะใช้งบประมาณในการพัฒนาประมาณโรงเรียนละ ๑๕๐,๐๐๐ - ๒๐๐,๐๐๐ บาท เพื่อให้นำไปปรับปรุง ซ่อมแซมสถานที่ อาคารเรียน อาคารประกอบต่าง ๆ รวมทั้งอุปกรณ์การเรียนการสอน ซึ่งจะดำเนินการพร้อมกันในช่วงปิดภาคเรียนปี ๒๕๔๗ โดยให้ สอศ. ร่วมเป็นเจ้าภาพในการปรับปรุง หากมีความจำเป็นต้องใช้แรงงานก็จะจ้างคนในพื้นที่นั้น ๆ             . การพัฒนาผู้เรียน
               
จะจัดสร้างสนามเด็กเล่นพร้อมอุปกรณ์ให้ทุกโรงเรียนใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามสภาพพื้นที่ของแต่ละโรงเรียน เพื่อให้นักเรียนมีความสุขในการเรียนหนังสือ นอกจากนี้ จะมีการส่งเสริมกิจกรรมด้านกีฬาและดนตรี โดยทุกโรงเรียนจะได้รับการจัดสรรเครื่องดนตรี อุปกรณ์กีฬา ตามสภาพความจำเป็นของแต่ละโรงเรียน ในโรงเรียนที่ยากจนนักเรียนจะได้รับชุดกีฬาทุกคน
                ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) แก่นักเรียน  ในช่วงปิดภาคเรียนปี ๒๕๔๗ จะให้นักเรียนในภาคใต้ประมาณ ๓,๐๐๐ คน จากโรงเรียนรัฐ เอกชน และปอเนาะ เข้ามาทำงานในลักษณะจ้างทำงาน หรือเรียนไปด้วยทำงานไปด้วยในจังหวัดนั้น ๆ ใช้ระยะเวลา ๑ เดือน โดยให้ออกแบบวิธีการเรียนการสอนของเด็กๆ เช่น การทำ e – Book , e – Learning จัดทำสื่อการเรียนประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ เป็นต้น และมีค่าตอบแทนให้นักเรียนด้วย ผลงานของนักเรียนจะเน้นทางด้าน ICT อาจมีการประกวดและรวมกลุ่มกัน กลุ่มละ ๓ คน ซึ่งจะได้ผลงานจำนวน ๑,๐๐๐ ชุด นำไปคัดเลือกเพื่อเผยแพร่ และใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนต่อไป ซึ่งถือเป็นแนวคิดใหม่ในการดำเนินการของ ศธ. ที่เปิดโอกาสทางการเรียนรู้ให้แก่เด็ก และให้ภาคใต้เป็นจุดเริ่มของกิจกรรมดังกล่าวที่มีประโยชน์นี้ อันจะส่งผลให้เด็กได้รับทั้งความรู้และเงินด้วย
            . การพัฒนาครูผู้สอน
                
จำนวนครูใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีประมาณ ๓,๐๐๐ อัตรา ขณะนี้ได้รับอนุมัติแล้วจำนวน ๒,๔๐๐ อัตรา ในช่วงปิดภาคเรียนปี ๒๕๔๗ นี้จะเปิดรับสมัครครู ทั้งการบรรจุแต่งตั้งเป็นข้าราชการครู และครูอัตราจ้าง เพื่อให้ทุกโรงเรียนมีครูครบตามเกณฑ์ ในขณะเดียวกัน จะมีการฝึกอบรมพัฒนาครูประจำการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
                ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) แก่ครูผู้สอน  จะมีการคัดเลือกครูด้าน ICT ทั่วประเทศในโรงเรียนขนาดเล็กประมาณ ๒,๐๐๐ คน ซึ่งรวมถึงครูใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไปเข้ารับการอบรม เช่น ครูที่อยู่ภาคอีสานอาจจะข้ามมาอบรมทางภาคใต้ ครูภาคใต้ไปอบรมในทางเหนือ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้ครูได้รู้จัก คุ้นเคย เรียนรู้ร่วมกันทางด้าน ICT ในจำนวนนี้จะคัดเลือกครูจำนวนประมาณ ๓๐๐ คน ไปฝึกอบรมทางด้าน ICT โดยใช้เวลาประมาณ ๒ สัปดาห์ ที่ประเทศสิงคโปร์ด้วย
                ด้านคอมพิวเตอร์    ปัจจุบันประเทศไทยมีคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเรียนการสอนประมาณ ๑๔๐,๐๐๐ เครื่อง แต่ความต้องการในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษามีมากขึ้น ได้มีการกำหนดเป้าหมายว่าภายใน ๒ - ๓ ปีนี้ จะผลักดันให้อัตราส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อจำนวน นักเรียนของไทยอยู่ในระดับใกล้เคียงกันในอัตราส่วน ๑ : ๕ ซึ่งจะมีการระดมทั้งจากภาครัฐ เอกชน ในการจัดสรรงบประมาณ และขอรับบริจาค โดย ศธ. จะร่วมกับกระทรวง ICT ในการดำเนินการ อย่างเป็นระบบต่อไป ซึ่งแนวทางการพัฒนาทุกด้านจะให้ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นจุดเริ่มของการพัฒนาด้วย
            . การพัฒนาโรงเรียนปอเนาะ
                ศธ. จะเร่งพัฒนาโรงเรียนสอนศาสนาหรือโรงเรียนปอเนาะให้มีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น โดยจะมีการออกระเบียบใหม่ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาเอกชน มาตรา ๑๕ () เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาโรงเรียนปอเนาะให้เหมาะสม รัฐบาลจะเข้าไปสนับสนุน ตลอดจนร่วมพัฒนาครู หลักสูตร อุปกรณ์การเรียนการสอน และคอมพิวเตอร์ ส่วนทางด้านหลักสูตรการเรียนสอนของโรงเรียนปอเนาะนั้น อาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม ซึ่ง รมว.ศธ. จะได้หารือร่วมกับผู้แทน โรงเรียนปอเนาะต่อไปเงื่อนไขความสำเร็จในการดำเนินงาน
             จัดให้มีรูปแบบการบริหารการศึกษาเฉพาะกิจ(ชั่วคราว) โดยจัดให้มีหน่วยงานเฉพาะกิจรับผิดชอบบริหารจัดการการศึกษาในทุกรูปแบบ ทุกระดับและประเภทการศึกษา อาจใช้ชื่อว่า "สำนักงานการศึกษา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้" (สศต.) เป็นหน่วยงานขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี ศธ. โดยรัฐมนตรีว่าการ ศธ.แต่งตั้งข้าราชการตั้งแต่ระดับ 10 ขึ้นไปเป็นผู้บริหารสำนักงาน และได้รับมอบอำนาจในการบริหารการจัดการศึกษาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จากรัฐมนตรีว่าการ ศธ. ปลัดกระทรวง เลขาธิการสภาการศึกษา(สกศ.) เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.) เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา(กอ.) และเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(กอศ.)
หมายเลขบันทึก: 120418เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2007 13:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 11:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท