แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ


แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 10 เป็นแผนยุทธศาสตร์ที่จัดทำขึ้นเพื่อชี้นำทิศทางการพัฒนาสุขภาพในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่10 พ.ศ. 2550-2554 โดยมีเป้าหมายสำคัญคือการพัฒนาสุขภาพไทยไปสู่ระบบสุขภาพพอเพียงสอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอันเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล
แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ
แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 10 เป็นแผนยุทธศาสตร์ที่จัดทำขึ้นเพื่อชี้นำทิศทางการพัฒนาสุขภาพในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่10  พ.ศ. 2550-2554 โดยมีเป้าหมายสำคัญคือการพัฒนาสุขภาพไทยไปสู่ระบบสุขภาพพอเพียงสอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอันเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล สาระสำคัญของแผนพัฒนาสุขภาพ แบ่งออกเป็น 3 ภาคตามลำดับการนำเสนอ
ภาคที่ 1 บุพนิมิตสุขภาพไทย: พลวัตใหม่ของการพัฒนาสู่สุขภาวะ เป็นการทบทวนให้เห็นถึงคุณภาพใหม่ที่เป็นนิมิตหมายของการพัฒนาสุขภาพในรอบทศวรรษที่ผ่านมา โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนย่อย ได้แก่ 
 ส่วนที่หนึ่ง สถานการณ์และพลวัตใหม่ในระบบสุขภาพไทย
- กระแสความตื่นตัวและการใส่ใจเรื่องสุขภาพ
- การสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและการเข้าถึงบริการสุขภาพ
- การก่อตัวและความเข้มแข็งของการสร้างเสริมสุขภาพ
- ความเคลื่อนไหวเพื่อการปฏิรูประบบสุขภาพ
- การตื่นตัวเรื่องการแพทย์ไทย ภูมิปัญญาสุขภาพไทย
- แนวคิดใหม่ กระบวนทัศน์ใหม่
ส่วนที่สอง บริบทใหม่ทางเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อระบบสุขภาพ
- กระแสทุนนิยม บริโภคนิยมและความเสื่อมโทรมทางจริยธรรม
- วิกฤตความเสื่อมของสถาบันทางสังคม
- วิกฤตสิ่งแวดล้อมและความเสื่อมโทรมของธรรมชาติ
- กระแสโลกาภิวัตน์ ทุนนิยมโลก การค้าเสรี
- การเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองการบริหารของภาครัฐ
- โครงสร้างประชากรและการเคลื่อนย้าย
- โลกไร้พรมแดนกับระบาดวิทยา โรคอุบัติใหม่ และโรคอุบัติซ้ำ
- การแพร่ระบาดของความรุนแรง
- ภัยพิบัติและภาวะฉุกเฉิน
ภาคที่ 2 สถานการณ์ปัญหาสุขภาพและระบบสาธารณสุข    เป็นการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาสุขภาพและระบบสาธารณสุขที่เป็นอยู่ โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนย่อย ได้แก่ 
 ส่วนที่หนึ่ง สถานการณ์ปัญหาสุขภาพและโรคภัยไข้เจ็บ
แบบแผนการดำเนินชีวิตและการบริโภค   ภัยคุกคามต่อสุขภาพจากพฤติกรรมเสี่ยง    ความเสี่ยงจากการบริโภคอาหาร   การขาดการออกกำลังกาย      อุบัติเหตุ อุบัติภัย และความรุนแรง  ปัญหาโรคเอดส์  ปัญหาสุขภาพจิต
ส่วนที่สอง สถานการณ์ระบบโครงสร้าง และกลไกการจัดการด้านการแพทย์และการสาธารณสุข
ความทุกข์ในระบบบริการทางการแพทย์  ค่าใช้จ่ายด้านการแพทย์และสุขภาพ ปัญหาการขาดแคลนกำลังคนด้านสาธารณสุข  เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร การแพทย์และชีวภาพ  ประชาสังคมและระบบสุขภาพภาคประชาชน
ภาคที่ 3 ปรัชญา แนวคิด และยุทธศาสตร์การพัฒนาสู่ระบบสุขภาพพอเพียง  เป็นการนำเสนอปรัชญา แนวคิด และยุทธศาสตร์การพัฒนาสู่ระบบสุขภาพพอเพียง โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนย่อย ได้แก่
  ส่วนที่หนึ่ง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและระบบสุขภาพพอเพียง: หลักการ แนวคิดและทิศทางในช่วงแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 10
      "เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมายาวนานกว่า 30 ปี โดยได้ทรงพระราชทานให้เป็นแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ    แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 ได้น้อมนำเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวปฏิบัติ โดยได้กำหนดวิสัยทัศน์การพัฒนาสังคมไทยในช่วงปี พ.ศ. 2550-2554 ไว้ว่ามุ่งพัฒนาสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน ภายใต้แนวปฏิบัติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แนวคิดหลักในแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 10  จึงเน้นการเชื่อมโยงระหว่างปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการสร้างสังคมที่อยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน โดย     น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางการพัฒนาสุขภาพ     ยึดหลักการที่ว่า สุขภาพดีเป็นผลจากสังคมดี คือสุขภาพดีเกิดจากการมีสังคมที่อยู่เย็นเป็นสุข โดยถือว่าสุขภาพดีของทุกคนเป็นศีลธรรมขั้นพื้นฐานของสังคม       ในการนำแผนไปสู่การปฏิบัติ แนวคิดหลักของแผนนี้เน้นที่การนำเสนอวิสัยทัศน์อันเป็นอุดมคติ โดยทุกคนที่เห็นด้วยกับแนวคิดและทิศทางระบบสุขภาพไทยในแผนนี้ที่จะต้องถือเป็นหน้าที่ที่จะช่วยผลักดันทุกวิถีทางให้วิสัยทัศน์เกิดเป็นจริง
แนวคิดหลักประการแรก: จากเศรษฐกิจพอเพียงสู่ระบบสุขภาพพอเพียง
      โดยสาระหลัก ปรัชญานำทาง เศรษฐกิจพอเพียง มีหลักการสำคัญ 7 ประการที่จะเป็นแนวทางของแผนพัฒนาฉบับที่ 10  คือ
-ยึดทางสายกลาง
-มีความสมดุลพอดี
-รู้จักพอประมาณ
-การมีเหตุมีผล
-มีระบบภูมิคุ้มกัน
-รู้เท่าทันโลก
-มีคุณธรรมและจริยธรรม
      หลักการสำคัญทั้ง 7 ประการนี้ ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการพิจารณาให้รอบคอบเกี่ยวกับทิศทางการพัฒนาสุขภาพในด้านต่างๆ การพัฒนาระบบสุขภาพจะต้องเน้นกลยุทธ์ในการสร้างความพอเพียงทางสุขภาพให้เกิดขึ้นในระดับพื้นที่แต่ละระดับโดยเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อให้การพัฒนาสุขภาพมีความมั่นคงและสามารถสร้างความเจริญในระดับสูงขึ้น
 ส่วนที่สอง วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์และเป้าหมายการพัฒนา
วิสัยทัศน์              สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน ภายใต้แนวปฏิบัติปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
พันธกิจ  สร้างเอกภาพทางความคิด                 สร้างจิตสำนึกสุขภาพสร้างวัฒนธรรมสุขภาพ สร้างภาวะผู้นำที่สร้างสรรค์ ร้างดุลยภาพและบูรณาการการพัฒนา สร้างธรรมา ภิบาล ในระบบสุขภาพ  
วัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์
1. สร้างสุขภาพดีให้เป็นวิถีชีวิตในทุกช่วงวัยตั้งแต่ครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน เน้นการสร้างรากฐานที่เข้มแข็ง---ความพอเพียงทางสุขภาพในระดับครอบครัวและชุมชน
2.
สร้างระบบบริการดี  เป็นระบบบริการสุขภาพที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ ให้บริการที่มีคุณภาพ เป็นมิตร ใส่ใจในความทุกข์ และมีความละเอียดอ่อนต่อความเป็นมนุษย์
3.
สร้างสังคมดี เป็นสังคมที่อยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันได้ด้วยการมีหลักประกันด้านสุขภาพที่ให้ความอุ่นใจและความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต ทั้งยามปกติ ยามเจ็บป่วย และยามวิกฤติ
4.
สร้างชีวิตที่มีความสุขพอเพียงและยั่งยืน เป็นวิถีชีวิตที่มีความสุขสงบ ไม่เบียดเบียนกัน เติบโตได้ในสังคมแห่งการเรียนรู้ มีวัฒนธรรมที่เกื้อกูลต่อ สุขภาพ สันติภาพ และการพัฒนาไปสู่ศักยภาพสูงสุดของความเป็นมนุษย์
เป้าหมายการพัฒนา
1.
 เอกภาพและธรรมาภิบาลในการจัดการระบบสุขภาพที่สมดุลและยั่งยืน
2.
งานสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกที่สามารถสร้างปัจจัยพื้นฐานของการมีสุขภาพดี
3. วัฒนธรรมสุขภาพและวิถีชีวิตที่มีความสุขพอเพียงอย่างเป็น      องค์รวม
4. ระบบสุขภาพชุมชนและเครือข่ายบริการปฐมภูมิที่เข้มแข็ง
5. ระบบบริการสุขภาพและการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพ มีการใช้เทคโนโลยีอย่างพอประมาณตามหลักวิชาการอย่างถูกต้อง เหมาะสม ทำให้ผู้รับบริการมีความอุ่นใจและผู้ให้บริการมีความสุข
6.  หลักประกันสุขภาพที่เป็นธรรม ทั่วถึง มีคุณภาพ
7. ระบบภูมิคุ้มกันและความพร้อมรองรับเพื่อลดผลกระทบจากโรคและภัยคุกคามสุขภาพได้อย่างทันการณ์
8. ทางเลือกสุขภาพที่หลากหลายผสมผสานภูมิปัญญาไทยและสากลอย่างรู้เท่าทันและ   พึ่งตนเองได้
9.  ระบบสุขภาพฐานความรู้ด้วยการจัดการความรู้อย่างมีเหตุผลรอบด้าน
10.  สังคมที่ไม่ทอดทิ้งคนทุกข์ยาก เป็นสังคมที่ดูแลรักษาคนจน คนทุกข์คนยาก และผู้ด้อยโอกาสอย่างเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
ส่วนที่สาม ยุทธศาสตร์ กลวิธี และมาตรการสู่ระบบสุขภาพพอเพียง ยุทธศาสตร์ที่ 1: การสร้างเอกภาพและธรรมาภิบาลในการจัดการ ระบบสุขภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างวัฒนธรรมสุขภาพและวิถีชีวิตที่มีความสุขในสังคมแห่งสุขภาวะ             
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างระบบบริการสุขภาพและการแพทย์ที่ผู้รับบริการอุ่นใจ ผู้ให้บริการมีความสุข
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างระบบภูมิคุ้มกันเพื่อลดผลกระทบจากโรคและภัยคุกคามสุขภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 5 : การสร้างทางเลือกสุขภาพที่หลากหลายผสมผสานภูมิปัญญาไทยและสากล
ยุทธศาสตร์ที่ 6 : การสร้างระบบสุขภาพฐานความรู้ด้วยการจัดการความรู้
หมายเลขบันทึก: 120414เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2007 13:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เพิ่งรู้นะเนี้ยว่าเพื่อนเราเก่งขนาดนี้ เยี่ยมยอดไปเลย เย้!

lสรุปให้อ่าน ง่ายดีค่ะ ไม่ต้องอ่านฉบับเต็ม ได้ประเด็น เขามาชื่นชม และให้กำลังใจค่ะ

พรชนก

มีแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 6 มั้ยค่ัะ

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท