วิธีการจัดการ"ตัวป่วน"


การทำความเข้าใจ และการสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้เป็นเรื่องสำคัญมากแต่การทำความเข้าใจที่ต้องทำมากกว่าคือการทำความเข้าใจ "วัยรุ่น" ซึ่งเป็นวัยแห่งความแปรปรวนและมีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การดำเนินกิจกรรมที่จะมุ่งให้เขาเกิดความสนใจตลอดเวลานั้น "เขา" ต้องเป็นผู้ดำเนินการด้วยตัวเอง

แต่นอกเหนือจากความปกติแล้ว เหตุการณ์เข็มขัดสั้นก็เกิดขึ้นได้เสมอ

ตัวอย่างคือ พ่อยอดชายนายทะโมนคนหนึ่ง เกิดอาการขึ้นมาระหว่างแสดงความคิดเห็น..เธอพูดต่อปากต่อคำและพูดในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องและกวนใจตลอดเวลา ถ้าเป็นครูคนเก่าก็จะมีการใช้อำนาจและก็จะเกิดการเบรค และก็เสียหน้ากันไป แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดของวัยรุ่นคือการชอบลองของเขาก็ทดสอบเราด้วยว่าครูน่ะจะสักแต่ไหน ระหว่างประลองกำลังกันนั้น ครูก็ต้องใช้ความเมตตา และอดทนอย่างถึงที่สุด จนกระทั่งเขาทนไม่ได้และถอยไปเอง เราก้ต้องไม่ซ้ำเติมเขาเพราะเขาก้ต้องอายเพื่อนฝูงมากพอดูอยู่แล้ว

ถ้าฉันสอนนักเรียน - นักศึกษา ในสาขาวิชาซึ่งมีความคุ้นเคยกันดี เรื่องราวเหล่านี้มักจะไม่ค่อยเกิดขึ้น แต่ถ้าเทอมไหนต้องเจอเด้กๆ กลุ่มอื่นๆ ก็จะต้องมีลักษณะนี้มาให้ลองของอยู่เสมอๆ ส่วนมากเด็กที่คิดมากวนนั้นมักจะเป็นพวกที่มี"กองกำลังหนุนเสริม" หรือที่เขาเรียกกันว่ามีคนให้ท้าย พอปะทะกันไม่ได้ผลก็จะเกิดเรื่องไปถึงบุคคลที่ 3 ซึ่งมันเกินไปจากเรื่องในห้องเรียนแล้ว ซึ่งฉันจะไม่ยุ่งกับเรื่องนอกห้องเรียน ใครจะวุ่นวายกันก็ปล่อยเขาไป

เหนื่อยกายเท่าไรก็ยอมเหนื่อย แต่ถ้าทำงานแล้วเหนื่อยใจ ก็หยุดตัวเองไม่ไปสุงสิงกับใครจะดีกว่าเพราะถ้ามันอ่อนล้ามากๆ ความคิดสร้างสรรค์มันไม่เกิดเลยจริงๆ ...เฮ้อ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 11966เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2006 22:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท