ชีวิตที่พอเพียง ทบทวนความจำด้วยภาพ 11. ไปอินโดนีเซีย 2536


       ที่จริงในปี 2536 ผมควรไปอินโดนีเซีย 2 ครั้ง     ครั้งแรกเป็น ทริปศึกษาดูงาน วปอ. 355     แต่ผมตัดสินใจไม่ไป เพราะติดงานของ สกว.     เลือกไปงานของ JSPS    เพราะน่าจะช่วยให้เข้าใจงานจัดการงานวิจัยดีขึ้น  หรืออาจมีลู่ทางความร่วมมือ     เป็นการเดินทางไปประชุมวิชาการใน 3 เมืองใหญ่     และคณะที่เดินทางไปได้มีโอกาสไปเยี่ยมคำนับ จับมือ และสนทนากับ รมต. วิทยาศาสตร์ของอินโดนีเซีย ที่ต่อมาได้เป็น ประธานาธิบดีด้วย     คือ ดร. ฮาบิบี้     ท่านให้หนังสือภาพเกี่ยวกับ biodiversity ของอินโดนีเซียเล่มโต     ผมยังเอามาอ่านและดูภาพด้วยความชื่นชมบ่อยๆ   

       ผมบันทึกย่อช่วงเวลาการเดินทางไว้ดังนี้
     Aug  1-3 Jakarta, JSPS Group
             3-5 Yogyakarta
             5-8 Surabaya

        คณะที่เดินทางไป มีญี่ปุ่นกับไทย    ไปสมทบกับนักวิชาการ/วิจัยอินโด     ผมพบว่าเขาทำงานกันค่อนวันเท่านั้น    พอบ่ายสองโมงก็เลิกงาน    ไปทำคลินิกหรืองานที่ 2 ที่ทำรายได้ดีกว่างานรัฐหลายเท่า     คล้ายกับที่อียิปต์ ที่ผมไปเห็นเมื่อเร็วๆ นี้

         JSPS collaboration ชุดนี้เป็นด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่เน้นด้าน ธาลัสซีเมีย  โรคโลหิตจาง  และโรคปรสิต     รวมทั้งด้านการใช้ ICT แก้ปัญหาด้วย    

         จำได้ว่า Dr. Funahara ศาสตราจารย์ชาวญี่ปุ่น (จากมหาวิทยาลัยโกเบ) หัวหน้าคณะ ไปโดนวิ่งราวหน้าโรงแรมที่พัก     ขโมยจะแย่งกระเป๋าถือซึ่งมีสมบัติมีค่ามากมาย    เขาพยายามกระชากกระเป๋าจากสะพายไหล่ จนแกล้มลงและถลอกปอกเปิกเล็กน้อย     แต่ไม่สูญของ

       ทางอินโดเขาศรัทธานักวิชาการไทยมาก     มาถามเรามากมายทั้งๆ ที่บางเรื่องมีคนรู้ดีห่างจาก lab ของเขาเพียงไม่กี่ห้อง     คืออยู่ตึกเดียวกัน    แต่เขาไม่คุยกัน    ไม่ยอมรับกัน    ที่จริงก็คล้ายๆ บ้านเราในตอนนั้น    

       นอกจากทำงาน เราไปเที่ยวด้วย    ที่ประทับใจคือ ไปชม บรมพุทโธ หรือ บูโร พุทโธ (Borobudur)     กับภูเขาไฟ Bromo อยู่กลางทะเลทราย ต้องขี่ม้าไปตอนกลางคืน ประมาณ 1 ชั่วโมง     เพื่อไปดูพระอาทิตย์ขึ้นบนยอดเขา      จำได้ว่าไปกับ ศ. นพ. แทน จงศุภชัยสิทธิ์  อดีตคณบดีคณะเวชศาสตร์เขตร้อน     รศ. พญ. นิศารัตน์ โอภาสเกียรติกุล ขณะนี้เป็นหัวหน้าภาควิชาพยาธิวิทยาคลินิก  ศิริราช     แต่ผมยังไม่พบภาพชุดภูเขาไฟ โบรโม    พบแต่ชุด บรมพุทโธ 

        แต่ถ้าท่านอยากเห็นภาพภูเขาไฟ โบรโม จริงๆ     ก็ถามศาสตราจารย์ Google ได้ครับ    ด้วย keyword “Mt. Bromo”     จะได้รูปงามๆ มากมาย    รูป Borobudur ก็เช่นกันนะครับ     รูปในอินเทอร์เน็ตสวยกว่าที่ผมถ่าย

                        

                   บรมพุทโธ  พระพุทธรูปและหัวพญานาค

                        

                              บรมพุทโธ อายุ 1,200 ปี

                         

                   บรมพุทโธ  แดดเริ่มส่อง แต่ยังมีหมอกหนา

                         

                                           บรมพุทโธ

                          

                                           บรมพุทโธ

                         

                                           บรมพุทโธ

                          

                บรมพุทโธ  เห็นดงมะพร้าวผ่านม่านหมอก

                         

            ศ. ดร. ประพนธ์ ปิยรัตน์ หน้าทางขึ้นบรมพุทโธ

                         

                                              บรมพุทโธ

                         

ที่ ย็อกยาร์การ์ตา จากซ้าย ผม  ศ. ดร. อานนท์ บุณยะรัตเวช  รศ. พญ. นิศารัตน์ โอภาสเกียรติกุล

                         

จากซ้าย ศ. นพ. สุทัศน์ ฟู่เจริญ (เห็นครึ่งหน้า)  ศ. ดร. อานนท์ บุณยะรัตเวช  Prof. Funahara หัวหน้าคณะ  และผม

                         

คนขวาสุดคือ ศ. นพ. ประดิษฐ์ เจริญไทยทวี  อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล

วิจารณ์ พานิช
5 ส.ค. 50

หมายเลขบันทึก: 119415เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2007 08:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 11:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท