พัฒนาครู : พัฒนาระบบนิเทศในโรงเรียน


พัฒนาครู

        การจัดการศึกษาให้แก่ประชาชนเป็นพลเมืองที่มีความรู้ความสามารถมี ร่างกาย อารมณ์ สติปัญญาสมบูรณ์ในสังคมไทยซึ่งเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ และสังคมที่วิทยาการต่าง ๆ ถูกนำมาใช้ในการดำเนินชีวิต  การประกอบธุรกิจการงานและการอยู่อาศัยในสังคมที่ปกติสุขนั้น การพัฒนาศักยภาพหรือเสริมสร้างพลังที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาประเทศ ต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบตั้งแต่จุดแรกเริ่มและตลอดช่วงวัยของชีวิต  การจัดการศึกษาของไทยจึงดำเนินตามกฎหมายศึกษาแห่งชาติคือ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ.2545 ซึ่งมีโครงสร้างที่ยืดหยุ่น มีความหลากหลายในรูปแบบ และวิธีการจัด ทำให้ประชาชนทุกชั้น ทุกเพศ ทุกอาชีพได้มีโอกาสเข้าถึงความรู้ได้อย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน โรงเรียนเป็นหน่วยงานทางการศึกษาหนึ่งที่เป็นลูกโซ่ของการจัดการศึกษา ระบบการศึกษาจึงจำเป็นต้องได้รับการจัดการในสภาพสิ่งแวดล้อม เงื่อนไขและปัจจัยที่เหมาะสมจึงสามารถพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลได้  เงื่อนไขในการพัฒนาจัดการศึกษาให้ดี ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ เป็นบทบาทและหน้าที่อันสำคัญยิ่งของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ปฏิบัติงานด้านการเรียนการสอน  และทำหน้าที่อื่นๆในโรงเรียน 

       

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542  แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 พ.ศ.2545) กำหนดให้มีการปฏิรูปการศึกษาขึ้นเนื่องจากสถานการณ์โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและระบบการศึกษาไทยไม่สามารถปรับตัวได้ทัน  ประชาชนชาวไทยยุคใหม่ต้องใช้ความรู้เป็นเครื่องมือสำคัญของการประกอบอาชีพ  และการดำรงชีวิต การพัฒนาเด็ก  เยาวชน  และคนไทยให้เป็นคนดี  มีคุณธรรม  เป็นคนเก่ง  คนดี  ทำงานได้ดี  มีคุณภาพ  มีความเป็นไทย  สามารถปรับตัวให้เหมาะสมกับสถานการณ์โลก  และสังคมที่เปลี่ยนแปลง  ระบบการศึกษาไทยจึงจำเป็นต้องได้รับการจัดการทุกบริบท  ตั้งแต่สภาพแวดล้อม  เงื่อนไข  ปัจจัยต่าง ๆ  ที่เหมาะสมจึงสามารถพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลได้  เงื่อนไขและปัจจัยสำคัญในการพัฒนา  ให้ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้อย่างดียิ่งนั้น  คือครู  และบุคลากรทางการศึกษาที่ปฏิบัติงานด้านการจัดการเรียนการสอนและทำหน้าที่ทางการศึกษาอยู่ในโรงเรียน

                การที่นักเรียนมีคุณภาพตามที่คาดหวังของโรงเรียน  ชุมชน  และสังคมไทยมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย  สติปัญญา  จิตใจ  สังคมสมบูรณ์ตามวัย  มีคุณธรรมจริยธรรม  ความรู้ความสามารถและความถนัดตามมาตรฐานท้องถิ่นกำหนดสอดคล้องกับศักยภาพของนักเรียนและดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขนั้น  สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2544 : 12)    ได้สรุปว่าเป็นผลมาจากผู้บริหารและคณะครูมีการพัฒนา

งานร่วมกันอย่างต่อเนื่องโรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ชุมชน สังคม ให้ความเชื่อมั่นในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนและให้การสนับสนุน 

นอกจากนี้ ทองอินทร์  วงศ์โสธรและคณะ         ( 2544 : 1 ) ได้ให้ความเห็นในทำนองเดียวกันว่า  ครูเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  และให้การสนับสนุนผู้เรียน   เป็นผู้ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ  การทำงานของครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนจึงส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพของนักเรียนโดยตรง  การจัดให้มีการนำศักยภาพของผู้ปฏิบัติงานในโรงเรียน  ให้สามารถใช้ให้ก่อประโยชน์สูงสุดต่อกิจกรรมการศึกษาในโรงเรียน  จึงต้องมีการพัฒนากระบวนการจัดการศึกษาในโรงเรียน  ด้วยการพัฒนากระบวนการนิเทศในโรงเรียน  เพื่อสนับสนุนให้โรงเรียนมีคุณภาพรอบด้าน  เป็นพื้นฐานในการพัฒนาการเรียนการสอน  การวัดผลประเมินผล  การพัฒนานวัตกรรม  ตลอดจนการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับศักยภาพและความสนใจของนักเรียน การนิเทศการศึกษาและความสำคัญ                 ปัจจุบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วย่อมส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา  โดยการเปลี่ยนหลักสูตรให้เข้ากับสภาพแวดล้อม  สภาพการจัดการเรียนการสอนต้องสอดคล้องกับหลักสูตรด้วย  ทำให้ต้องเพิ่มพูนความรู้  ต้องได้รับการนิเทศแนะนำ  เพื่อจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้น                การนิเทศ  หมายถึง  กระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศเพื่อปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้รับการนิเทศในการ

พัฒนาคุณภาพการศึกษา (สำนักคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ 2544 : 14 )

                มัณฑรา  ธรรมบุศย์  (2549 : 299)  กล่าวว่า  การนิเทศการศึกษาเป็นวิธีหนึ่งที่นำมาใช้ในการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้  ความสามารถเพื่อนำไปปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ                สรุปแล้วการนิเทศจึงมีความหมายถึง  การทำงานร่วมกันของผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ  โดยมีเป้าหมายในการดำเนินการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาที่เน้นในด้าน·        มุ่งเน้นคุณภาพนักเรียน·        ร่วมคิด  ร่วมดำเนินการ·        การใช้วิธีการที่หลากหลาย·        การเสริมสร้างขวัญและกำลังใจ

การนิเทศจึงมีลักษณะของการนิเทศที่มาจากภายนอกและภายในโรงเรียน  ซึ่งเป็นกระบวนการที่ผู้นิเทศให้การแนะนำ  ช่วยเหลือ  ร่วมคิด  ร่วมปฏิบัติงานกับโรงเรียน  เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนในด้านการใช้  และพัฒนาหลักสูตร  การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  การวัดผลประเมินผล  การพัฒนามาตรฐานโรงเรียน  การประกันคุณภาพภายในตลอดจนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา รายละเอียดดังแผนภูมิกระบวนการนิเทศต่อไปนี้

กระบวนการนิเทศการศึกษา

คำสำคัญ (Tags): #พัฒนาครู
หมายเลขบันทึก: 119411เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2007 08:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

การพัฒนาครู...ต้องมีกระบวนการพัฒนาที่เป็นไปในลักษณะ two way ต้องมีการสำรวจข้อมูลความต้องการที่ครูอยากพัฒนา และหน่วยงานที่จัด เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการที่ตรงกันระหว่างผู้ให้การพัฒนา และผู้ที่ได้รับการพัฒนา หลังจากที่มีการพัฒนาแล้ว สิ่งที่ขาดไปในกระบวนการพัฒนาของการศึกษาไทย คือ การประเมินผล การติดตามหลังจากที่ได้รับการพัฒนา ว่าผลเป็นอย่างไร ต้องมีการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ความสำเร็จของการพัฒนามิได้อยู่ที่สามารถจัดโครงการอบรมตามแผนที่กำหนดไว้เท่านั้น ความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ...ผู้ที่ได้รับการพัฒนา ได้นำความรู้ที่ได้รับ ไปพัฒนาให้เด็กๆในความรับผิดชอบ หรือเพื่อนร่วมงานในองค์กร ได้พัฒนาไปพร้อมๆกันไปด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท