ผู้หญิงมีโอกาสในงานบริหารแค่ไหน


มีบล๊อกอันหนึ่งซึ่งเป็นแฟนประจำของ "คนเป็นนาย" แต่ไม่ได้เป็นสมาชิก GotoKnow -- เจ้าของบล๊อกกระซิบบอกมาว่าอยากฟังความเห็นของผมเรื่องความเท่าเทียมทางเพศในที่ทำงานครับ (บันทึก: Girl Power in Thai IT

ผู้หญิงมีโอกาสเท่าเทียมกับผู้ชายในตำแหน่งบริหารหรือไม่

ขอตอบแบบไม่เกรงใจว่าไม่เท่าครับ! โอกาสของผู้ชายกับผู้ชายก็ไม่เท่ากัน ใครจะเป็นผู้บริหาร ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเพศ ไม่ได้ขึ้นกับประสบการณ์ ไม่ได้ขึ้นกับอายุงาน และไม่ได้ขึ้นกับผลงาน หากแต่ขึ้นกับความเหมาะสมในช่วงเวลานั้นๆ

เลือกผู้บริหารแบบไหนถึงจะดี

ไม่มีคำตอบสำเร็จรูปหรอกครับ จะเป็นชาย เป็นหญิง จะอ่านมาด้วยนพลักษณ์ (เมื่อกี๊ไปทดสอบมา อ่านผลแบบง่ายๆ ได้ว่า เป็นปราชญ์[แบบ5]-เป็นนักบุญ[แบบ2]-แล้วตามด้วยเป็นนักปฏิรูป[แบบ1] ซึ่งก็ยังไม่แน่ใจว่าแม่นหรือไม่ คงต้องให้คนที่รู้จักประเมิน) ด้วย Extended DISC ด้วยจริต ๖ ด้วยโหงวเฮ้ง หรือด้วยวิธีการคัดเลือกคนแบบใดก็ตาม

แต่ถ้าจะให้ผมเลือก ผมจะเลือกคนดีที่มีความเป็นผู้นำและสามารถทำให้องค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ได้ก่อนครับ เรื่องนี้คงต้องแยกอธิบายเป็นสามส่วน

  1. เลือกคนดี ดีกว่าเลือกคนไม่ดีที่เก่ง สังคมไทยควรจะเลิกอดทนกับคนไม่ดีเสียที หากเลือกคนไม่ดีมาปกครององค์กร แม้จะประสบความสำเร็จ ก็จะเป็นความสำเร็จอย่างชั่วร้าย กลายเป็นผู้เลือกมีส่วนช่วยขยายความชั่วร้ายให้บังเกิดผล กลายเป็นการให้รางวัลกับคนไม่ดี กรณีวัดครึ่งหนึ่ง-กรรมการครึ่งหนึ่ง ต้องเลิกเสียทีครับ ถ้ายังคิดอย่างนี้ ไม่ควรไปข้องเกี่ยวให้วัดแปดเปื้อนเลย
  2. เลือกคนดีที่มีความเป็นผู้นำ การขับเคลื่อนองค์กรไม่ได้เป็นไปตามสูตร (บันทึก: สมการในหัวคนแบบ ซี้ปังเท้า) แต่ปฏิสัมพันธ์ในองค์กรเป็นปฏิกริยาทางสังคม บทบาทหลักของผู้บริหารไม่ใช่ผู้ที่รวบทุกอย่างเอาไว้ทำเอง ผู้บริหารมีหน้าที่จัดการให้งานต่างๆ เดินหน้าไปแบบที่ควรจะเป็น แก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ จัดสรรทรัพยากร (คน เงิน เวลา) อย่างเหมาะสม งานของผู้บริหารจึงต้องเจอกันคนเยอะ และต้องจัดการกับทุกอย่างให้ได้ดี แล้วก็อย่ามัวจัดการแต่คนอื่นจนลืมจัดการตัวเองด้วย เพราะตัวผู้บริหารเองก็สามารถปรับปรุงได้เช่นกัน
  3. เลือกคนดีที่มีความเป็นผู้นำและสามารถทำให้องค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ได้ ผู้บริหารควบคุมทรัพยากรอยู่เป็นจำนวนมาก หากใช้ไปในทางที่ไม่ถูกต้อง (เช่นใช้เพื่อตนเอง) ก็จะเป็นผลร้ายและเป็นความสูญเสียต่อองค์กร ผู้บริหารมักจะได้รับค่าจ้างและสิทธิพิเศษเหนือพนักงาน ดังนั้นก็อย่ามัวแต่คิดว่านี่เป็นเวลาเสวยสุข ในเมื่อตัวผู้บริหารเป็นต้นทุนที่สูงกว่าพนักงานอื่นๆ contribution ของผู้บริหารต่อองค์กร ก็จะต้องสูงกว่าพนักงานอื่นๆ เช่นกัน จึงจะสามารถอยู่ในตำแหน่งบริหารนั้นต่อไปได้ ผู้บริหารที่จะนำพาองค์กรให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้นั้น ต้องรู้เสียก่อนว่าวัตถุประสงค์คืออะไร มีอะไรอยู่ในมือ จากนั้นจึงจะคิดหาวิธีการ อย่าให้เรียงกลับกัน คือไปฟังคนอื่นว่ามา แล้วก็รับเอามาทำทั้งดุ้นโดยรู้สึกว่าเข้าท่าดี ไม่ได้สนใจว่าเหมาะสม-ทำได้หรือไม่ ท้ายที่สุดพอออกมาหัวมังกุท้ายมังกร ก็เปลี่ยนเป้าหมายให้เข้ากันกับ "ผลงาน" ของตัว

ถ้าถามว่าผู้หญิงมีโอกาสเป็นผู้บริหารหรือไม่ ตอบว่ามีแน่นอนครับ แต่จะเป็นได้หรือไม่ เป็นแล้วดีหรือไม่นั้น ต้องพิสูจน์ตัวเองครับ ผมไม่อยากเหมารวมไปว่าผู้หญิงเป็นอย่างไร แล้วผู้ชายเป็นอย่างไร

ไม่มีใครที่เหมาะกับทุกสถานการณ์ตลอดเวลาหรอกครับ แล้วสำหรับคนที่รักความก้าวหน้า ก็จะมีโอกาสอยู่เสมอ เพียงแต่ว่ามองเห็นโอกาสนั้นในจังหวะที่โอกาสเปิดอยู่หรือไม่
หมายเลขบันทึก: 119343เขียนเมื่อ 13 สิงหาคม 2007 21:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

conductor ...

ในข้อ ๑ เลือกคนดี ดีกว่าเลือกคนไม่ดีที่เก่ง สังคมไทยควรจะเลิกอดทนกับคนไม่ดีเสียที หากเลือกคนไม่ดีมาปกครององค์กร แม้จะประสบความสำเร็จ ก็จะเป็นความสำเร็จอย่างชั่วร้าย กลายเป็นผู้เลือกมีส่วนช่วยขยายความชั่วร้ายให้บังเกิดผล กลายเป็นการให้รางวัลกับคนไม่ดี

อ่านไปก็ติดกับคำว่า คนดี นั่นคือ เราจะประเมินค่าและตัดสินว่า คนดี เป็นอย่างไร ?

อย่างเช่น นักการเมืองบางคน ในระดับประเทศอาจได้รับการประเมินค่าว่า มิใช่คนดี ... แต่ในท้องถิ่นที่เขาอยู่ อาจได้รับการประเมินค่าว่า คนดี

ในองค์กร อาจประเมินค่าว่า คนดีคือคนที่ให้การงานประสบความสำเร็จ ... แต่ในข้อ ๑ ตามที่ยกมามิได้เป็นไปตามนี้ เพราะอ้างว่า หากคนไม่ดีมาปกครององค์กร แม้จะประสบความสำเร็จ... 

อาจไม่ตรงประเด็นหัวข้อ แต่คิดว่าสำคัญ เผื่อจะมีใครมาต่อยอด.... 

เจริญพร

สวัสดีค่ะ

          ต่อคำถามที่ว่า ผู้หญิงมีโอกาสเป็นผู้บริหารหรือไม่

          ตามความเห็นและประสบการณ์ของดิฉันแล้ว มีแน่นอนค่ะ

            ตัวดิฉันเอง ชอบทำงานบริหาร และมีคุณสมบัติที่เป็นได้ แต่ คนทุกคน มีข้อด้อยค่ะ

          แต่ก่อน จะเป็นคนที่เอาจริงเอาจังมากๆ  จนค่อนข้างเครียดบ่อย เรื่องอารมณ์นี้ ผู้ชาย น่าจะดีกว่าผู้หญิง คือปล่อยวางได้มากว่า ไม่ค่อยคิดอะไรเป็นเรื่องใหญ๋ ในขณะที่ผู้หญิงจะละเอียดรอบคอบแต่จะอดทนกว่ามาก ผู้หญิงมักจะรู้ว่า ขณะนี้ เกิด เหตุการณ์แปลกๆขึ้นในบริษัทเราแล้ว  ก่อนผู้ชาย

          ประเมินแล้ว  ตัวเองน่าจะเป็นผู้บริหารแบบ ใช้ความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชาให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

ในขณะเดียวกัน ก็ใช้ระบบการเป็นผู้นำแบบให่มีส่วนร่วม ได้ใจพนักงานมากกว่า เราก็ไม่ค่อยเหนื่อยมาก

แต่ทั้งนี้  จะเป็นแบบนี้ได้ องค์กรต้องผ่านการเป็นวันเด็กมาแล้ว พนักงานเป็นงานแล้วค่ะ

นี่เป็นประสบการณ์ส่วนตัวค่ะ

ขอแก้ไขค่ะ

องค์กรต้องผ่านการเป็นวัยเด็กมาแล้ว

ขอโทษค่ะ ง่วงไปหน่อย พิมพ์ผิดๆถูกๆ

พระอาจารย์ชัยวุธ P

ประเด็นในข้อ 1 คือการเลือกครับ ซึ่งเมื่อจะเลือก ก็ต้องมีตัวเลือกก่อน แล้วจึงพินิจพิจารณาตัวเลือก

แต่ในกรณีของการเมือง หลายครั้งที่การเลือกเกิดขึ้นก่อนตัวเลือกครับ ในกรณีนี้ไม่ได้เป็นการเลือกคนดีเลยครับ ถึงต่อให้เป็นคนมีน้ำใจ ช่วยเหลือชาวบ้านที่เลือกตนมา แต่ไม่ได้ทำหน้าที่ที่เขาเลือกมาทำ แบบนี้ต้องเรียกว่าไม่เข้าใจบทบาทของตนเองครับ

คนดีในที่นี้ ผมหมายถึงคนที่เสียสละ ทำความดีกับคนอื่นครับ ในบริบทขององค์กร ความสำเร็จไม่ควรจะขึ้นกับคนๆ เดียว (ไม่อย่างนั้นก็ไม่จำเป็นต้องมีองค์กรนั้นด้วยซ้ำไป) ผู้บริหารจึงทำหน้าที่เป็น enabler กำหนดทิศทางวิธีการ รับฟัง-ประเมินสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง แก้ไขปัญหา สร้างแรงจูงใจ ผลักดันกระบวนการ เมื่อองค์กรได้รับผลดี ตัวผู้บริหารจึงได้ในส่วนของตนในภายหลังครับ

ในทำนองกลับกัน ถ้าเป็นคนบ้าอำนาจข่มเหงผู้อื่น ใช้องค์กรเป็นฐานเพื่อประชาสัมพันธ์ตัวเอง เพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่ตนเอง ตอบตัวเองและคนอื่นไม่ได้ว่าทำอะไรให้กับองค์กรบ้าง พอเป็นเรื่องของตัวเองแล้ว สำคัญกว่าเรื่องขององค์กร แบบนี้ไม่ดีครับ

คุณศศินันท์ P

ผมชอบวิธีการบริหารแบบที่เล่ามาครับ การได้ใจพนักงานนั้น เน้นให้เห็นถึงการมีส่วนร่วม ซึ่งในกระบวนการนี้ เป็นการให้เกียรติแก่ทุกคน -- ซึ่งพี่ได้ใจผมด้วยครับ

ในรูปผู้นำห้าระดับของ Jim Collins เรื่องที่ยากที่สุดของการเข้าไปอยู่ในระดับที่ 5 คือการทิ้งตัวตนไปครับ

ผมเห็นว่าองค์กรไม่สามารถเติบโตทางความคิดได้ตามธรรมชาติ ถ้าผู้บริหารไม่กล้าพอครับ ถ้าไม่ทำในสิ่งที่ต้องทำเพื่อองค์กร คนที่ดีก็มีทางเลือกอื่นๆ นอกองค์กรเช่นกัน

I happened to read the same Computerworld article "Making IT Work for Women" as mentioned in (บันทึก: Girl Power in Thai IT)

I'd like to generalize from the article that there are two syndromes in US based IT world;

  • "You can't have your cake, and eat it, too" You have to make a choice between a partnership in a work place or at home. Tough choice? For some women, but not all.
  • "Build it and they will come" - Field of Dreams: Women as industry leaders and role models to inspire/mentor younger female professionals. 

Most working women in America share problems in (1) keeping househouse and (2) raising children. They have a tougher time, compared to working women in Thailand, to have these two womenly/motherly job accomplished as (1) help is harder to find (geographically speaking), (2) help costs a bit more (economically speaking).

In sum, Thai IT girls, compared to their American counterparts, might have been given more opportunity without them knowing it. It's all up to them if they want to grab it or not.

However, this "opportunity" thing, is not a girl or a guy thing - it's genderless. It could be a "gut" i.e. courage to do things, and a lot of things..

สวัสดีอีกทีค่ะ

P

ช่วงนี้เป็นไข้หวัด เลย ไม่ค่อยมีความเห็นอะไร ได้แต่อ่านค่ะ

ได้เข้าไปอ่านที่link ที่ให้ไว้อีกที

วัฒนธรรมแบบไทยจะช่วยสร้างโอกาสให้ "ผู้หญิงเก่ง" มากกว่าประเทศอื่น (ในมุมกลับกัน ผู้หญิงเหล่านี้ยินดีจะแลกชีวิตครอบครัวบางส่วนไปกับตำแหน่งระดับนี้ด้วยหรือเปล่า?) ฯลฯ ล้วนแต่เป็นคำถามที่น่าคิดทั้งนั้น

ตามความเห็นของดิฉัน ประเด็นนี้ ใช่ค่ะ วัฒนธรรมไทยเปิดโอกาสมาก ให้ผู้หญิงได้ทำงาน เรามีคนช่วยทำงานบ้าน มีญาติผู้ใหญ่มาช่วยกำกับดูแลลูกให้ตอนเด็กๆ

และการไปทำงาน มีdrive ว่า มันทำให้มีสังคม ได้ใช้ความรู้ ได้แต่งตัวสวยๆ ได้พบปะ มีconnectionกับคนเพิ่มมากขึ้นมาก และมีอิสระภาพทางการเงิน ทำให้รู้สึกว่าไม่ด้อยกว่าสามีเท่าใด

ในขณะที่บางประเทศเช่นญี่ปุ่น แต่งงานแล้ว อยู่บ้านอย่างเดียว ไปไหนด้วยกัน ผู้ชายเดินตัวปลิว ผู้หญิงลากของตาม มีอยู่หนนึง เพื่อนญี่ปุ่นคู่หนึ่งจบUCLA เชิญไปทานข้าวที่บ้านที่โตเกียว เป็นไปได้ไง ปล่อยให้เราทานข้าวกับสามีเขา และภรรยา คอยนั่งดูแลอยู่ใกล้ๆ และบอกว่า ว่าทานแล้ว ภรรยา จบปริญญาโท UCLAค่ะ ถามเขาว่า ไปเรียนมาดีๆทำไมมาเป็นแม่บ้านอย่างเดียว เขาบอกว่า Just a decoration!! ผู้หญิงญี่ปุ่นเรียนสูงๆค่ะ

นึกในใจ ขอเป็นผู้หญิงไทยดีกว่า

พอเป็นชาวอเมริกัน ผู้หญิงส่วนใหญ่ อยากเป็นแม่บ้าน อยากให้สามีดูแล อย่างมากขอทำpart time เพราะ ไม่มีใครดูแลลูก

ที่ยุโรปก็เหมือนกันค่ะ

จนมีผู้หญิงไทยหลายคนเหมือนกัน ที่ไปเรียนต่อที่อเมริกา อยากเป็นแม่บ้านอย่างเดียวแบบนี้บ้าง แม้จะเรียนจบมาอย่างดี

จริงๆแล้ว โอกาสของผู้หญิงผู้ชายมีเท่ากันค่ะในการทำงานระดับบริหาร แต่ บางอย่าง ผู้ชายได้เปรียบ เช่น คล่องตัวกว่า ไม่จำกัดด้านเวลา ในขณะที่ผู้หญิงจะไปนั่งเลี้ยงลูกค้ากลางคืนก็ไม่เหมาะ  เดินทางมากๆก็ไม่ดี ที่บ้านเป็นห่วง มีหมอผู้หญิงเด็กๆคนหนึ่งทำงานที่ธนาคารใหญ่แห่งหนึ่ง ยอมทิ้ง รายได้ประมาณเดือนละ 2 แสนกว่า กลับไปเป็นแม่บ้านอย่างเดียว เพราะสู้งานหนักไม่ไหว กลับบ้านไม่ต่ำกว่า 3 ทุ่มทุกวัน ฝรั่งให้มาก ก็ใช้มากค่ะ บางทีมีโอกาส ก็ต้องทิ้งโอกาส เพราะไม่คุ้มกับการที่ชีวิตครอบครัวต้องเสียไป

ดิฉันเคยไปออกงานแสดงสินค้าที่เยอรมัน แวะหาลูกค้าที่อังกฤษ ลูกน้องผู้ชายเดินล่วงหน้าไปก่อน แต่ที่Immigration กักตัวดิฉันไว้  ถามโน่นนี่ใหญ่ ต้องตะโกนเรียกให้ลูกน้องให้กลับมารับด้วย

นี่คือความไม่คล่องตัวบางประการเล็กๆน้อยๆ แต่ส่วนใหญ่ ไม่ค่อยมีความแตกต่างว่า  ต้องเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง แค่ผู้หญิงต้องทำงานหนักกว่าผู้ชายไม่ต่ำกว่า  2 เท่าตัว จึงจะพิสูจน์ได้ว่า มีความสามารถไม่ด้อยกว่าค่ะ และบางทีพิสูจน์ได้แล้ว ก็ต้องยอมถอย เพราะชีวิตครอบครัวสำคัญกว่า

ตอนแรกเข้ามาอ่านก็ไม่คิดจะเขียน แต่เมื่อเห็นข้อเขียนล่าสุดของอ. sasinanda แล้วอดไม่ได้ค่ะ จะขอมาสนับสนุนว่า ผู้หญิงเราบางครั้งต้องสร้างความสมดุลการทุ่มเทระหว่างงานและครอบครัว อาจจะเป็นเพราะสัญชาตญาณของความเป็นแม่มั้ง ที่เป็นห่วงลูกและอดที่จะดูแลเป็น priority ไม่ได้ โดยเฉพาะในยุคนี้ที่ลูกต้องการความใกล้ชิดมากๆ  ทำให้โอกาสที่จะก้าวหน้าในงานอาจไปได้ไม่สุดๆแบบผู้ชายค่ะ  ดังนั้น คนโสดอาจจะมีโอกาสที่จะทุ่มสุดๆได้มากกว่า

Many many thanks to Khun Sasinand & Khun Kapook for a womanly balanced view .. and a reminder that women have to work twice as hard to be taken seriously as one of them men :-)

Food for thought for working moms & women to keep in mind that .. ..your job is not your life.. it'll be a grave mistaken if you think the other way around.

Happy Fridays! 

I'd like to add a final note that,  IMO,  "opportunity" can be had regardless of gender, or marital status. 

It's more on the person's ability and his/her will and courage to lead - as posted by Khun Conductor above.

แวะมาลงชื่อว่าได้อ่านบันทึกนี้แล้ว.....ได้ความรู้เยอะมากค่ะ...โชคดีที่ได้อ่านทีหลัง  เพราะได้เห็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท