ค่าย มมส ร่วมใจห่วงใยชุมชน (๔) : อย่าให้ศาลาหลังใหม่พรากชาวบ้านออกไปจากชานชลาริมน้ำหลังเดิม


เก่าไป ใหม่มา

บ่อยครั้งในการออกค่ายอาสาพัฒนา   โดยเฉพาะการสร้างศาลาอเนกประสงค์ในโรงเรียน  หรือแม้แต่ในชุมชนก็ตาม  ผมมักเห็นว่าอาคารหลังเก่าถูกรื้อถอนออกไปเพื่อเป็นที่ว่างให้อาคารหลังใหม่ได้เข้าไปหยัดยืนแทนที่    

 

สิ่งเหล่านี้ถือเป็นปรากฏการณ์ของความจริงในบางประการ  นั่นก็คือ เก่าไป ใหม่มา  อันเป็นสากลของสังคมที่ต้องวิวัฒน์ไปเช่นนั้นอยู่แล้ว  และการเปลี่ยนแปลงแทนที่นั้นก็เป็นการเปลี่ยนแปลงบนพื้นฐานของความเป็นเหตุผลที่ควรต่อการต้องน้อมรับเป็นที่สุด เพราะนั่นคือการคำนึงถึงประโยชน์อันสูงสุดของการได้ใช้งานสืบต่อกันไปในภายภาคหน้า

    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">แต่สำหรับค่าย มมส ร่วมใจห่วงใยชุมชนที่ชุมชนแกดำนั้น   ผมกลับมีมุมมองที่แตกต่างในเรื่องนี้อย่างสิ้นเชิง   เพราะการสร้างศาลาริมน้ำหลังใหม่นั้น  ไม่มีความจำเป็นอันใดที่จะต้องรื้อถอน ที่นั่งพักริมน้ำ  อันเดิมทิ้งไป  ซึ่งผมเรียกที่นั่งพักริมน้ำนั้นว่า ชานชลาริมน้ำ …. </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">อย่าว่าแต่การ  รื้อทิ้ง  แค่  หลงลืม  หรือแม้แต่ละเลยต่อการดูแลรักษาผมก็ไม่เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง !</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>  <div style="text-align: center"></div></p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ศาลาริมน้ำที่กำลังปรากฏเป็นรูปเป็นร่างนั้น  สามารถทำหน้าที่ของมันเองโดยไม่จำเป็นต้องทำหน้าที่ทดแทนชานชลาริมน้ำหลังเดิมหลังนั้น !   ทั้งสองส่วนสามารถยืนหยัดและดำเนินไปในแบบฉบับอันเป็นวิถีของตนเอง</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผมปรารถนาที่จะเห็นชาวบ้านยังคงเห็นค่าของชานชลาริมน้ำหลังนั้นเหมือนวันที่ผ่านมา   มิใช่หันมาปลื้มศาลาหลังใหม่จนละเลยและหลงลืมวิถี  หรือบรรยากาศแห่งความเป็นวัฒนธรรมอันเก่าก่อนของตนเองอย่างสิ้นเชิง</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>     <div style="text-align: center"></div></p>    <p> </p><p>ครับ,  ผมกำลังยืนยันว่า   นาฏกรรมครั้งนี้จะไม่ใช่การพรากผู้คนออกจากวิถีริมน้ำเดิม ๆ  ..  สิ่ง ใหม่จำเป็นก็จริง  แต่ก็ไม่ใช่ว่า  สิ่งเก่า ๆ  จะถูกโค่นทิ้งเสมอไป  !     </p><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผมคิดเช่นนั้น !  และกำลังคิดดัง ๆ   ซึ่งบัดนี้  นิสิตคนค่ายก็ได้ยินความคิดของผมแล้วอย่างชัดเจน</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p></p><p> </p>

หมายเลขบันทึก: 118926เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2007 20:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • ของเก่ามีค่า
  • รักษาไว้ดูต่างบรรพชนที่สร้างไว้
  • เป็นเสมือนหลักฐานในเรื่องเล่าครั้งอดีตครับ
  • สิ่งใหม่ก็จำเป็นต้องเลือกให้ดี
  • ขอบคุณครับ
  • สวัสดีครับ  คุณออต
    P
  • สิ่งที่ผมไปค่ายในแต่ละครั้ง  ที่ไม่ลืมเลยก็คือการพยายามเพ่งมองลงไปถึงรูปรอยของวัฒนธรรม หรือสิ่งอันเป็นเสมือนหลักฐานอันเป็นวัฒนธรรมของชุมชนที่หลงเหลือในรูปลักษณ์ต่าง ๆ  ซึ่งสิ่งเหล่านั้นก็พยายามสะกิด  หรือบอกกล่าวต่อนิสิตให้ไม่ละเลยที่จะดูและศึกษาในเรื่องเหล่านั้น
  • สิ่งใหม่ ๆ  จำเป็นก็จริง  แต่ก็คงต้องคำนึงถึงความจำเป็นที่แท้จริงดังที่คุณออตตั้งข้อสังเกตไว้ ...
  • แต่ความสะดวกสบาย  กลับกลายมีอานุภาพอย่างมากต่อการตัดสินใจเลือกของชาวบ้าน
  • สังคมเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก  ก้หวังแต่เพียงว่า  ชาวบ้าน หรือแม้แต่ผู้ตนจะเปลี่ยนแปลงไปแต่ไม่หลงลืมวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนเอง
  • อย่างน้อยหากยังจดจำ  อธิบายและบอกเล่าได้...ผมก็ชื่นชมแล้วครับ

อาจารย์แผ่นดิน

  • ตอนเด็กผมมักไปตักน้ำที่ท่าน้ำหมู่บ้านบ่อย ๆ เป็นท่าน้ำแห่งความหลัง
  • เขาลื้อหลายปีมาแล้ว
  • แต่ทุกวันผมยังจำภาพได้แม่น  มันเป็นเรื่องราวของคนในชุมชนที่บอกเล่าเรื่องราวของการใช้ทรัพยากรน้ำก่อนมีระบบประปาหมู่บ้าน
  • คนหนุ่มสาว สาวน้อยสาวใหญ่ หนุ่มน้อยหนุ่มใหญ่มารวมกันที่ท่าน้ำ สนุกสนานได้พบปะพูดคุย มันเป็นสถานที่ที่เราได้พบกัน คุยกัน
  • ทุกวันนี้มีประปา เปิดก็ไหล เปิดก็ไหล
  • ดังนั้นเปิดบ้านใครบ้านมัน
  • ความใกล้ชิดของคนในชุมชนลดลงไปมาก
  • จะเจอกันก็ต่อเมื่อมี 3 ขวดร้อยเท่านั้น
  • แม้แต่คนบ้านเดียวกันยังต่อยกันในงานบุญบ้านเจ้าของ คนบ้านเดียวกันแท้ ๆ
  • เศร้า
  • แต่ก็ต้องเดินต่อไปนะครับ บ่นเฉย ๆ บ่นแล้วสบายใจดี

สวัสดีค่ะ

เห็นด้วยกับความคิดนี้ และเอาไปใช้ได้ทุกเรื่องค่ะ

  สิ่ง ใหม่จำเป็นก็จริง  แต่ก็ไม่ใช่ว่า  สิ่งเก่า ๆ  จะถูกโค่นทิ้งเสมอไป  !    

เห็นด้วยครับ เอาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ครับ
  • สวัสดีครับ คุณออต
    P
  • ผมเองก็มีความทรงจำในทำนองนี้เหมือนกัน
  • หากแต่เป็นความทรงจำที่ "บ่อน้ำ"  ดังที่เขียนไว้ในบันทึกระยะแรกเริ่มในเรื่อง ..."บ่อน้ำ และ กองไฟในสายลมหนาว" 
  • บ่อน้ำ  เป็นเสมือนเวทีแห่งการพบปะ, พบรัก, เลิกร้าง,  พูดคุยแลกเปลี่ยนข่าวสารนานาเรื่องกันที่นั่น...
  • บ่อน้ำ  จึงมีความสำคัญต่อวิถีชาวบ้านในอดีตเป็นยิ่งนัก
  • แต่บัดนี้  บ่อน้ำแทบไม่หลงเหลือแล้วครับ  จะพบบ้างก็แต่ขุดไว้ตามทุ่งนา  เพื่อเป็นแหล่งให้น้ำวัวควาย
  • น้ำประปา  พรากทุกคนออกจากกันอย่างสิ้นเชิง ...
  • สวัสดีครับ  พี่ศศินันท์
    P
  • ช่วงนี้การงานลดความรัดตัวลงบ้างหรือยังครับ
  • .....
  • หลายสิ่งหลายอย่างเข้ามาเยือนชีวิตคนเราในฐานะการเป็นเครื่องอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน
  • แต่บางครั้งเราก็ไม่สามารถตัดสินใจถึง "ความจำเป็น"  ที่แท้จริงได้
  • เพียงเพราะบางครั้งมันเป็นภาวะการเลียนแบบที่ยากต่อการ "ข่มใจ"  ทั้งโดยรู้ตัว  และไม่รู้ตัว
  • ...
  • ขอบพระคุณครับ

สวัสดีครับ

P

ขอบคุณนะครับที่แวะมาทักทาย,  

ชีวิต จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการแลกเปลี่ยน ...และเรียนรู้  และกระบวนการเช่นนั้นจะช่วยให้เราอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข

การบูรณาการทั้งสิ่งใหม่และสิ่งเก่า  น่าจะเป็นสิ่งที่ดีกว่าการหักดิบไปสู่สิ่งใหม่ ๆ โดยปราศจากรากฐานทางความคิดและการขาดสังเคราะห์อย่างถี่ถ้วน

ผมเชื่อในหลักคิดเช่นนี้นะครับ -

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท