การนวดแผนไทย


ความแตกต่าง

 

ความแตกต่างของการนวดแบบทั่วไปกับแบบราชสำนัก

หมอนวดแบบราชสำนัก      ต้องมีกิริยามารยาทเรียบร้อย เดินเข่าเข้าหาผู้ป่วย ไม่หายใจรดผู้ป่วย ขณะทำการนวดต้อง หันหน้าตรง ไม่ก้มหน้าจนหายใจรดผู้ป่วย และไม่เงยหน้าจนเป็นการไม่เคารพ ส่วนหมอนวดแบบทั่วไป มิได้เพ่งเล็งถึงเรื่องเหล่านี้  แต่มีลักษณะการนวด เป็นกันเองกับผู้ป่วยมากกว่า บางครั้งจึงอาจดูไม่สำรวมและระวังตัวมากนักหมอนวดแบบราชสำนัก      จะไม่เริ่มนวดฝ่าเท้า นอกจากจำเป็นจริงๆ มักเริ่มนวดตั้งแต่ใต้เข่าลงมาข้อเท้า หรือจาก ต้นขาลงมาถึงข้อเท้า ส่วนหมอนวดแบบทั่วไปจะเริ่มนวดที่ฝ่าเท้าหมอนวดแบบราชสำนัก      จะใช้เฉพาะมือ คือ นิ้วหัวแม่มือ และปลายนิ้วอื่น ๆ และอุ้งมือในการนวดเท่านั้น และไม่ ใช้การนวดคลึงในขณะกด (นวด) แขนจะต้องเหยียดตรงเสมอ ส่วนหมอนวดแบบทั่วไป มิได้คำนึงถึงท่าทางของแขน ว่าจะตรงหรือไม่หมอนวดแบบราชสำนัก      ทำการนวดผู้ป่วยซึ้งอยู่ในท่านั่ง นอนหงายหรือตะแคงเท่านั้น ไม่มีการให้ผู้ป่วยนอนคว่ำเลย แต่การนวดแบบทั่วไปมีการให้ผู้ป่วยนอนคว่ำด้วยหมอนวดแบบราชสำนัก      ไม่ใช้การดัดงอข้อหรือส่วนใดของร่างกายด้วยกำลังแรงและไม่มีการนวดโดยใช้เท้า เข่า ข้อศอก ฯลฯ แต่หมอนวดแบบทั่วไปไม่งดเว้นการปฏิบัติดังกล่าว และอาจมีหมอนวด ๒ คนช่วยกันนวดในขณะเดียวกันต่อผู้ป่วย ๑ คนหมอนวดแบบราชสำนัก      ต้องการทำให้เกิดผลต่ออวัยวะและเนื้อเยื่อที่อยู่ลึก ๆ โดยการเพิ่มการไหลเวียนของเลือด และเพิ่มการทำงานของเส้นประสาทในกรณีนี้หมอนวดจะต้องมีความรู้ทางกายวิภาคศาสตร์เชิงปฏิบัติการอย่างดีพอสมควร สำหรับหมอ นวดแบบทั่วไป หวังผลโดยตรงจากการกดนวดเป็นส่วนใหญ่ และจากการนวดคลึงเป็นครั้งคราว ซึ้งการไม่ระมัดระวังจุดสำคัญตาม ความรู้ทางกายวิภาคศาสตร์ดีพออาจเกิดอันตรายได้

การนวดแบบราชสำนัก
                เป็นการนวดไทยที่ใช้ในพระราชวัง ดังนั้นท่าต่างๆ ในการนวดจึงได้รับการพัฒนา ให้สุภาพและมักนวดด้วยนิ้วมือเท่านั้น เพื่อให้สามารถควบคุมน้ำหนักในการนวดไม่ให้มากเกินไป และไม่ให้เป็นที่ ล่วงเกินต่อพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ จนมีคำกล่าวว่าแม้เพียงลมหายใจก็ไม่ให้แตะต้องพระวรกายโดยมีองศามาตราส่วน ของการนวดที่ไม่ประชิดตัวมากและจะหันหน้าตรงไป ไม่ก้มหน้าหายใจรดพระองค์ และไม่เงยหน้าจนเป็นการไม่เคารพ
                การนวดไทยเป็นที่นิยมมากและยอมรับมากในสมัยโบราณ และเป็นผู้ใกล้ชิดและเป็นที่ไว้วางใจของพระมหากษัตริย์ ในสมัยนั้นจนได้รับการแต่งตั้งให้มีกรมหมอนวดซ้าย และกรมหมอนวดขวา ทำให้หมอนวดสามารถรับราชการอยู่ในตำแหน่งระดับสูงได้
                ปัจจุบันมีผู้สืบทอดการนวดแบบนี้น้อยมาก เนื่องจากส่วนใหญ่จะเป็นการถ่ายทอดกันในครอบครัว และผู้รู้มักหวงวิชา ทำให้การนวดสายนี้ได้รับการถ่ายทอดกระท่อนกระแท่นเต็มที
                การนวดไทยนี้ มีคุณค่าต่อการพึ่งตนเองเป็นอย่างมาก สามารถบรรเทาโรคและอาการปวดต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพในความรู้สึกของผู้ใช้บริการ เช่นอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อลดการติดขัดของข้อต่อ ช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อที่อ่อนแรง เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม การนวดที่ไม่ถูกต้อง อาจเป็นการซ้ำเติมหรือเพิ่มการบาดเจ็บได้ ฉะนั้นผู้ที่จะนำการนวดไปใช้ จึงควรมีความรู้ในการใช้อย่างถูกต้อง เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างแท้จริง
สิ่งสำคัญของการนวดแบบราชสำนักมีดังนี้
                ศีลของหมอนวด
  1. ไม่ดื่มสุรา หมายถึง ไม่ดื่มสุราทั้งก่อนและหลังการนวดรวมทั้งการรับประทานอาหารที่บ้านของคนไข้ เพราะอาจควบคุมตนเองไม่ได้ และอาจทำให้การนวดไม่ได้ผล รวมทั้งอาจเป็นการรบกวนคนไข้และญาติ
  2. ไม่หลอกลวง  หมายถึง ไม่เลี้ยงไข้ เช่น ถ้าสามารถรักษาโรคนั้นๆ ให้หายได้ภายใน 1-2 ครั้ง ก็ไม่หลอกลวงว่าต้องนวด 5-6 ครั้ง เพื่อหวังประโยชน์ ลาภ ยศ สรรเสริญ
  3. มีความสุภาพ  ไม่เจ้าชู้  หมายถึง ไม่แสดงกริยาท่าทางลวนลามหรือใช้คำพูดแทะโลมคนไข้ที่เป็นหญิง หรือถ้าผู้นวดเป็นผู้หญิงก็ไม่ควรแสดงกริยายั่วยวนคนไข้ที่เป็นผู้ชาย ต้องนวดด้วยความสุภาพเรียบร้อย พูดคุยแต่พอควร
  4. ไม่พูดจาโอ้อวด
             การเตรียมตัวของผู้นวด
  1. การฝึกกำลังนิ้ว  เพื่อให้นิ้วมือมีกำลังแข็งแรง  จะได้มีกำลังเพียงพอ  มือไม่สั่นไม่อ่อนแรง  กดได้ตรงเป้าหมายในการรักษาและได้ผลรวดเร็ว  สามารถทำได้โดยฝึกซ้อมยกกระดานทุกวัน ด้วยการนั่งขัดสมาธิเพชรและหย่งมือเป็นรูปถ้วยวางไว้ข้างลำตัว แล้วยกตัวให้พ้นจากพื้น  อาจใช้การฝึกโดยบีบขี้ผึ้งจนอ่อนตัว
  2. การรักษาสุขภาพ ผู้นวดจะต้องรักษาสุขภาพให้ดีอยู่เสมอทั้งกายและใจหมั่นออกกำลังกายให้ร่างกายแข็งแรง ถ้ารู้สึกว่าไม่สบายหรือมีไข้ไม่ควรทำการนวดเพราะนอกจากการนวดจะไม่ได้ผลดีเท่าที่ควรแล้วยังอาจแพร่โรคให้กับผู้ถูกนวดได้ และเล็บมือควรตัดให้สั้น
  3. การแต่งรสมือ  หมายถึง การลงน้ำหนักแต่ละรอบและจังหวะการลงน้ำหนัก ซึ่งการลงน้ำหนักนิ้วมือที่กด มี ๓ ระดับ คือ
            3.1   น้ำหนักเบา                             ประมาณ 50 % ของน้ำหนักที่สามารถลงได้สูงสุด
            3.2   น้ำหนักปานกลาง                  ประมาณ 70 % ของน้ำหนักที่สามารถลงได้สูงสุด
            3.3   น้ำหนักมาก                           ประมาณ 90 % ของน้ำหนักที่สามารถลงได้สูงสุด
การลงจังหวะนิ้วมือในการนวด
  จังหวะในการลงน้ำหนักแต่ละครั้ง มี 3 จังหวะ คือ
  • หน่วง              เป็นการลงน้ำหนักเบา เพื่อกระตุ้นให้กล้ามเนื้อรู้ตัว ไม่เกร็งรับการนวด
  • เน้น                 ลงน้ำหนักเพิ่มขึ้นบนตำแหน่งที่ต้องการกด
  • นิ่ง                   ลงน้ำหนักมาก และกดนิ่งไว้พร้อมกับกำหนดลมหายใจสั้นยาวตามต้องการ
    การลงน้ำหนักเพิ่มขึ้นที่ละน้อย ทำให้กล้ามเนื้อสามารถปรับตัวรับน้ำหนักได้ ทำให้ไม่เจ็บหรือเจ็บป่วยมากขึ้น การลงน้ำหนักมากตั้งแต่เริ่มกด จะทำให้กล้ามเนื้อเกร็งรับทันที และอาจทำให้ตำแหน่งที่กดคลาดเคลื่อนไป และผู้ถูกนวดจะเจ็บมากหรือระบมได้เช่นกัน
  1.  การกำหนดลมหายใจ ต้องฝึกหายใจเข้าออกให้สัมพันธ์กับการลงน้ำหนักโดยทั่วไปการลงน้ำหนักควรกดลงไปขณะผู้ที่ถูกนวดหายใจออก ซึ่งเป็นขณะที่ร่างกายผ่อนคลาย
            หายใจเข้าออกปกติ 1 ครั้ง เรียกว่า คาบน้อย คือ การสูดลมหายใจประมาณ 10 วินาทีส่วนใหญ่ใช้กับ
การนวดพื้นฐานต่างๆ การหายใจเข้าลึก หายใจออกยาว 1 ครั้ง เรียกว่า คาบใหญ่ คือ การสูดลมหายใจประมาณ 15-20 วินาที ส่วนใหญ่ใช้กับการนวดรักษาโรค และการเปิดประตูลม แต่การเปิดประตูลมมักจะใช้คาบใหญ่ 3 ครั้ง
            การนวดนานเพียงใดขึ้นกับ ลักษณะของโรค ระยะเวลาที่เป็น และลักษณะของผู้ถูกนวดการกดโดย
ใช้ระยะเวลาสั้นเกินไป การรักษาจะไม่ได้ผล การกดนานเกินไปทำให้มือผู้นวด และตำแหน่งที่ถูกนวดระบมได้
  1. การกำหนดองศามาตราส่วนหรือท่านวดและการวางมือ
              เป็นการวางท่านวดของผู้นวดให้เหมาะสมกับผู้ถูกนวดและตำแหน่งที่นวดเพื่อให้ใช้แรงที่กดนั้นลงตามจุด
และมีน้ำหนักเพียงพอที่จะรักษาโรค ซึ่งการวางมือ การวางเท้า การนั่งของผู้นวดต้องเหมาะสมกับมือที่กดลง
บนผู้ป่วย เรียกได้ว่าเป็นสัดส่วนองศาและทิศทางในการนวด โดยทั่วไปแล้วขณะที่นวดแขนจะเหยียดตรง เพื่อลงน้ำหนักตามแขนลงไปสู่นิ้วที่นวด หากมีการงอแขนอาจทำให้น้ำหนักลงไม่ตรงจุด แม้จะใช้น้ำหนักมาก
และทำให้การรักษาได้ผลน้อยหรือไม่ได้ผลเลย ซึ่งในการนวดแบบราชสำนักได้ให้แนวทางไว้ว่า 
แขนตึง หน้าตรง องศาได้
  1.    มารยาทในขณะทำการนวด
                1.    ก่อนทำการนวด ผู้นวดควรสำรวมจิตใจให้เป็นสมาธิ ระลึกถึงคุณครูอาจารย์ สำหรับการนวดแบบราชสำนักจะมีการยกมือไหว้ผู้ถูกนวด เพื่อเป็นการขอขมาที่ล่วงเกินบนร่างกาย
                2.    ขณะนวดควรนั่งห่างจากผู้ถูกนวดพอสมควรในด้านที่จะทำการนวดไม่ควรคร่อมตัวผู้ถูกนวด สำหรับการนวดแบบราชสำนัก จะเดินเข่าเข้าหาผู้ถูกนวดอย่างน้อย 4 ศอก และนั่งห่างจากผู้ถูกนวดประมาณ 1 ศอก และจับชีพจรดูลมเบื้องสูงกับลมเบื้องต่ำ
                3.    ขณะนวดไม่ควรก้มหน้าจะทำให้หายใจรดผู้ถูกนวด ซึ่งในการนวดแบบราชสำนัก ได้มีคำกล่าวไว้ว่าแม้ลมหายใจก็ไม่ให้รดพระวรกายขณะทำการนวดจึงมักจะหันหน้าตรงไปข้างหน้า โดยไม่ก้มหน้า และไม่เงยหน้ามองฟ้า อันเป็นการแสดงความไม่เคารพ
                 4.    ขณะทำการนวด ห้ามกินอาหารหรือสิ่งใดๆ และระมัดระวังการพูดที่อาจทำให้ผู้ถูกนวดตกใจ สะเทือนใจหรือหวาดกลัว ควรซักถามและสังเกตอาการอยู่เสมอ ควรหยุดเมื่อผู้ถูกนวดขอให้พัก หรือเจ็บปวดจนทนไม่ไหว
  1. ข้อควรระวังในการนวด
                1.    ในกรณีที่นวดท้องไม่ควรนวดผู้ที่รับประทานอาหารอิ่มใหม่ๆ (ไม่เกิน 30 นาที )
                2.    ไม่ควรให้เกิดการฟกช้ำมากเกินไป หรือมีอาการอักเสบซ้ำซ้อน
                3.    กรณีผู้สูงอายุ โรคประจำตัวบางอย่าง เช่น เบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ต้องระมัดระวังในการนวด
                4.    ไม่ควรนวดผู้ที่มีอาการอักเสบติดเชื้อ คือ มีไข้มากกว่า 38 องศาเซลเซียส ปวด บวม แดง ร้อน
                5.    ไม่ควรนวดผู้ที่หลังประสบอุบัติเหตุใหม่ๆ ควรได้รับการช่วยเหลือขั้นต้น และตรวจวินิจฉัย
ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ หากเกินความสามารถ ควรประสานความร่วมมือกับแพทย์แผนปัจจุบัน
                6.    ข้อห้ามหรือข้อควรระวังอื่นๆ ที่กล่าวไว้เฉพาะแต่ละโรคหรืออาการ
ข้อปฏิบัติหลังการนวด
                  1.    คำแนะนำสำหรับผู้นวด หากผู้นวดมีอาการปวดนิ้วมือ ให้แช่มือในน้ำอุ่นเพื่อช่วยให้
กล้ามเนื้อผ่อนคลายและการไหลเวียนโลหิตดีขึ้น หรือใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบมือ และนวดคลึง
บริเวณเนินกล้ามเนื้อฝ่ามือและรอบข้อนิ้วมือ
                2.    คำแนะนำสำหรับผู้ถูกนวด  
  • งดอาหารแสลง เช่น อาหารมัน อาหารทอด หน่อไม้ ข้าวเหนียว เครื่องในสัตว์ เหล้า เบียร์ ของหมักดอง
  • ห้าม สลัด บีบ ดัด ส่วนที่มีอาการเจ็บปวด
  • ท่ากายบริหารเฉพาะโรคหรืออาการ
  • คำแนะนำอื่นๆ เช่น หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เป็นมูลเหตุเกิดโรค
หมายเลขบันทึก: 118820เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2007 10:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท