คิดเพื่ออะไรกัน


คิ... ออกแล๊ะ
ในวันจันทร์ที่ 9 มกราคม ที่ผ่านมา สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลมีการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของพนักงานในสถาบันฯ วันนี้คุณพิศาล ได้นำเรื่อง การคิด การคิดเชิงวิพากษ์ มาเป็นหัวข้อในการแลกเปลี่ยน เห็นว่าน่าจะมีประโยชน์จึงขอนำมาเผยแพร่ให้แลกเปลี่ยนกันต่อค่ะ

คิดเพื่ออะไรกัน
·       เพื่อกำหนดความเป็นตัวตนของเรา

·       เป็นพื้นฐานของสติปัญญาและความเข้าใจ

·       เป็นพื้นฐานของการตัดสินใจ

·       เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง

·       เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน

เมื่อไหร่ที่ต้องคิด
·       เมื่อเกิดความต้องการทางกายภาพ เช่น หิวต้องคิดว่าจะกินอะไรดี

·       เพื่อความอยู่รอด  เราไม่ได้มีชีวิตอยู่รอดเพื่อให้มีความคิด แต่เราคิดเพื่อให้เราอยู่รอด

·       เมื่อเกิดปัญหา จะคิดเพื่อหาทางแก้ปัญหา

·       เมื่อต้องการสิ่งแปลกใหม่

·       เมื่อเกิดความสงสัย  “คนขี้สงสัยไม่ใช่คนโง่ แต่เป็นคนที่กำลังจะฉลาด”

รูปแบบของความคิด 10 มิติ  

·       การคิดเชิงวิเคราะห์ (analytical thinking) เป็นความคิดที่สามารถนำไปตรวจสอบขอเท็จจริง หาคำตอบโดยการอธิบาย มาจากข้อมูลพื้นฐานและเหตุผลมาอธิบาย

·       การคิดเชิงสังเคราะห์ (Synthesis Thinking) เป็นความสามารถที่จะนำปัจจัยที่แยกกันที่อยู่มาจัดกรอบให้เหมาะสม

·       การคิดเชิงเปรียบเทียบ(Comparative Thinking) เป็นความสามารถในการที่จะหาความคล้ายคลึง มีเป้าหมายที่จะอธิบายเรื่องต่างๆ

·       เชิงมโนทัศน์( Conceptual  Thinking) เชิงหลักการ เป็นความสามารถที่จะนำเอาข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่มาผสมผสานกันเพื่อสร้างความความคิดใหม่ๆ

·       เชิงสร้างสรรค์ (Creative Thinking)

·       การคิดเชิงประยุกต์ (Applicative Thinking)  เป็นการนำความสามารถเดิมไปปรับหรือประยุกต์ใช้

·       การคิดเชิงกลยุทธ์ ( Strategic Thinking) กำหนดทิศทางหรือข้อยุติได้อย่างชัดเจน ตามข้อจำกัดที่มีอยู่ เพื่อบรรลุเป้าหมาย

·       การคิดเชิงบูรณาการ ( Integrative Thinking) การคิดที่นำเรื่องต่างๆ ที่มีอยู่รอบตัวมาทำเป็นเรื่องเดียวกันได้

·       การคิดเชิงอนาคต (Futuristic Thinking)  เป็นการคิดที่ใช้สมมติฐาน เหตุผล ข้อมูลที่มีอยู่ เพื่อกำหนดทิศทางล่วงหน้า

·       การคิดเชิงวิพากษ์  (critical thinking)

การคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking)
·       Critical  แปลว่า เข้าขั้นวิกฤติ   ข้อเท็จจริง  

·       วิพากษ์  เป็นการพิจารณาตัดสินเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยท้าทายโต้แย้งเหตุผล ที่นำมากล่าวอ้าง การท้ายทาย โดยเกิดขึ้นเนื่องจากความสงสัยและไม่เชื่อว่าข้ออ้างนั้นจะเป็นจริง (โดยโต้แย้งกับเหตุผลเดิม ต้องไม่เชื่อว่าข้ออ้างของแต่ใช้การพิจารณาเอง หรือตัดสินโดยใช้เหตุผล)

·       วิจารณ์  ให้คำตัดสินในสิ่งที่กำลังพิจารณาอยู่ (เช่น ดูรูปภาพ ใช้อารมณ์ในการตัดสิน)

·       วิจารณญาณ ปัญญาที่สามารถรู้หรือให้เหตุผลที่ถูกต้อง โดยเกิดจากการคิดเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลึกซื้อ จนเกิดความเข้าใจ (ปัญญาที่สามารถรู้ หรือให้เหตุผลที่ถูกต้อง โดยเกิดจากการคิดเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลึกซึ้ง จนเกิดความเข้าใจ)

·       การคิดเชิงวิพากษ์ การตั้งใจที่จะพิจารณาตัดสินเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยไม่คล้อยตามกับข้ออ้างที่นำเสนอ แต่ตั้งคำถามท้าทาย หรือโต้แย้งข้ออ้างนั้น (การตั้งใจที่จะพิจารณาตัดสินเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยใช้เหตุและผล ไม่ใช่ความเชื่อ)
ทำไมต้องคิดเชิงวิพากษ์

·       ช่วยสืบค้นความจริงแทนการคล้อยตามความเชื่อ

·       ช่วยสังเกตความแตกต่าง ท่ามกลางความเหมือน

·       ช่วยให้เชื่อในสิ่งที่ถูกต้อง ไม่ถูกหลอกง่ายๆ (โฆษณาชวนเชื่อต่างๆ  เพราะเขาจะพูดถึงเรื่องดีของเขา ดังนั้นนักคิดเชิงวิพากษ์ก็ต้องหาข้อมูลมาพิสูจน์)  

·       ช่วยตัดสินใจตามข้อเท็จจริง ไม่ใช้อารมณ์

·       ช่วยให้เกิดการพัฒนา (เช่น การใช้การวิพากษ์เพื่อหาแง่มุมที่ต่างๆ กันเพื่อทราบข้อดี ข้อเสียในการที่จะตัดสินใจปรับปรุงงาน)

เทคนิคในการคิดเชิงวิพากษ์
·       อย่างเพิ่งเชื่อ ให้สงสัยไว้ก่อน

·       เรื่องทุกเรื่อง อาจจะจริงหรือ อาจไม่จริงก็ได้

·       การตั้งคำถามซักค้าน

·       ตั้งคำถามให้มองอีกมุมตรงข้าม

·       ตั้งคำถาม “ทำไม” เพื่อท้าทายข้ออ้าง
การพัฒนานิสัยเพื่อการคิดเชิงวิพากษ์
ส่วนที่ 1 การพัฒนานิสัยเพื่อการวิพากษ์

·       ฝึกวิพากษ์ความคิดตนเอง

·       เปิดใจกว้าง

·       รอบคอบไม่ด่วนสรุป

·       จิตใจมั่นคงไม่หวั่นไหวง่าย

·       หาความรู้เพื่อตอบข้อสงสัย

·       หยุดซะทีที่ว่า “ฉันดีกว่า” “ของฉันถูกต้องกว่า”

·       อย่าเลือกรับข้อมูลเฉพาะที่สนใจ

·       อย่างลำเอียง

·       อย่างทำแสร้งรู้

·       อย่ามีอคติต่อการเปลี่ยนแปลง

ส่วนที่ 2 การฝึกตอบสนองเมื่อถูกวิพากษ์
·       อย่าโต้แย้งแบบเบี่ยงเบนประเด็น

·       อย่าโจมตีตัวบุคคล

·       ซื่อสัตย์ต่อความจริง

·       ถ่อมตัวถ่อมใจ ไม่ยึดมั่นถือมั่น

·       กล้าที่จะเปลี่ยนความคิด

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 11860เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2006 00:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นเนื้อหาที่ดีมากครับ ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท