เรื่องเล่าจาก PCU พิจิตร


วันนี้ได้มีโอกาสพบกับทีมงานของ สคส.อีกครั้ง ซึ่งนำทีมโดยอาจารย์หมอวิจารย์ และทีมวิจัยของสกว.ที่เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และช่วยกันพัฒนาโจทย์การวิจัยร่วมกัน ในการขับเคลื่อนเครือข่ายในภาคการเกษตรของจังหวัดพิจิตร

แต่วันนี้ผมคงไม่เล่าเรื่องการประชุมใน 2 วันนี้ แต่จะนำเรื่องการจัดการความรู้ในภาคราชการของหน่วยงานทางด้านสาธารณสุขมาเล่าให้ฟังก่อน เมื่อประมาณปลายปีที่ผ่านมาสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิจิตรได้จัดให้มีการประกวดเรื่องเล่าเร้าพลังขึ้นใน 2 ส่วนคือ ในส่วนของโรงพยาบาล และในส่วนของศูนย์สุขภาพชุมชน (PCU) ซึ่งแบ่งออกเป็นด้านๆ ในวันนี้จะเสนอด้านการนำองค์กรครับ ซึ่ง PCU ที่ชนะเลิศในการเล่า คือ PCUท่าเสา อำเภอโพทะเล ซึ่งสามารถสรุปผลจากการเล่าได้ดังนี้ครับ

ศูนย์สุขภาพชุมชนท่าเสา  ต.ท่าเสา  อ.โพทะเล  จ.พิจิตร

เรื่องเล่า

ขีดความสามารถหลัก       การนำ

กิจกรรมสำคัญ      1. มีการร่วมกันกำหนดนโยบายและจัดทำแผนของศูนย์สุขภาพชุมชน โดย
-          คณะกรรมการสุขภาพศูนย์สุขภาพชุมชน
-          ทีมสุขภาพ
-          ชมรมสร้างสุขภาพต่างๆในพื้นที่
    โดยใช้ข้อมูลสถานะสุขภาพ และปัญหาสาธารณสุขมาเป็นข้อมูลในการจัดทำแผน
    และทำประชาคมร่วมกันระหว่าง องค์กรท้องถิ่น  ประชาชน  ศสช.
                             2. องค์กรท้องถิ่น(เทศบาล, อบต.) สนับสนุนงบประมาณ
                ปี 2548  จำนวน                   706,000.-              บาท
                ปี 2549   จำนวน            1,274,000.- บาท
                             3. ในแต่ละแผนงานจะมีคณะทำงานรับผิดชอบ ซึ่งประกอบด้วย ประชาชน และเจ้าหน้าที่                                    
                                 สาธารณสุข
                            4. ดูแลสถานีอนามัยเครือข่าย โดย
-          พยาบาลวิชาชีพออกเยี่ยมบ้านดูแลผู้ป่วยร่วมกับเจ้าหน้าที่สอ.เครือข่าย
-          พยาบาลวิชาชีพออกปฏิบัติงานที่สอ.เครือข่าย 1วัน / สัปดาห์
                            5. มีการประสานแผนกับสอ.เครือข่าย
                            6. มีการประชุมโซน  เดือนละ 1 ครั้ง
                            7. มีการประชุม PCU 2 เดือน / ครั้ง
                            8. ประชุมพยาบาล PCU เดือนละ 1 ครั้ง โดยCUP โพทะเล-บึงนาราง และพยาบาล PCU จะนำ
                                มาถ่ายทอดความรู้ ในการประชุมโซน / ประชุม PCU

                            9. เป็นพี่เลี้ยงและที่ปรึกษาให้กับ PCU ที่กำลังพัฒนา และสอ.ที่จะประเมินเป็น สอ.คุณภา

สิ่งที่ภาคภูมิใจ                    

                  1. ศูนย์สุขภาพชุมชน ผ่านเกณฑ์มาตราฐาน
                              2. ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากองค์กรท้องถิ่นเพื่อมาแก้ไขปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่
                              3. สามารถเป็นพี่เลี้ยงและที่ปรึกษาให้กับ PCU อื่น และสอ,คุณภาพ
                              4. ใช้เทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์) ในการจัดเก็บข้อมูล  FF                           
สิ่งที่อยากพัฒนา 1. ทีมสุขภาพให้มีครบทุกสหวิชาชีพ
คะแนนประเมินตนเอง      อยู่ในระดับ 3
ผู้เล่า……. PCU ท่าเสา                      โดย          นางอัจนา  เจศรีชัย

 

เรื่องเล่า Heatty by participation

 

ขีดความสามารถหลัก     การดูแลสุขภาพภาคประชาชน
กิจกรรมสำคัญ              มีการทำงานเป็นทีมระหว่างองค์กรส่วนท้องถิ่นและเทศบาลตำบลท่าเสา,
สถานี อนามัยตำบลท่าเสา    เทศบาลและอบต.ท่าเสามองเห็นความสำคัญของงานสาธารณสุข  ดังนี้
งานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด  มีการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างเทศบาล ,อบต
จนท.สายตรวจประจำตำบล จนท.สาธารณสุข มีการประชุมทำแผนร่วมกันมีคณะทำงานที่ชัดเจน จากเดิมตำบลท่าเสามีเป้าหหหมายมากที่สุดของอำเภฮดพทะเลจนสามารถประกาศเป็นตำบลที่ปลอดยาเสพติดได้
โครงการเมืองไทยแข็งแรง  ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก อบต.และเทศบาลตำบลท่าเสาเมื่อมีงบประมาณบางอย่างที่ของสถานอนามัยมีไม่พอเพียงก็จะไปบอกทางเทศบาลและอบต.ก็สนับสนุนเพิ่มขึ้น เช่น งานอาหารปลอดภัย   งานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก, งานออกกำลังกายที่สนับสนุนจนทีมแอโรบิคได้รับรางวัลชนะเลิศระดับจังหวัดในปี2548สนับสนุนอุปกรณ์กีฬาทุกชุมชนทุกหมู่บ้าน
เครือข่ายดูแลสุขภาพ    มีเครือข่ายสร้างสุขภาพ   ด้วยตนเองโดยที่ไม่ต้องพึ่งจนท.สาธารณสุขและอบต. เทศบาลมีการทำงานที่ยั่งยืนคือ ชมรมสร้างสุขภาพต่างๆที่อยู่ในตำบลท่าเสา  เช่นชมรมออกกำลังกายแบบแอโรบิค/รำไม้พลองในผู้สูงอายุ,กลุ่มเกษตรปลอดสารพิษ,    กลุ่มพืชสวนที่มุ่งสร้างสุขภาพด้วยการปลอดสารพิษตกค้างในผักและข้าว จนได้รับเป็นชมรมสร้างสุขภาพดีเด่นระดับอำเภอ
กลุ่มผู้สูงอายุ       มีคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุชัดเจนซึ่งก่อตั้งตั้งแต่ ปี2545มีกิจกรรมต่อเนื่องคือการออกกำลังกายด้วยการรำไม้พลองทุกวัน  มีทัวร์ธรรมะสัญจรทุกเดือนร่วมกับชมรมคนรักโพทะเล ศึกษาดูงานตามวัดต่างๆในจังหวัดใกล้เคียงโดยเทศบาลตำบลท่าเสา
โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ  ในตำบลท่าเสามี 6 โรงเรียน โรงเรียนมัธยม1 โรงเรียน
โรงเรียนระดับประถมศึกษา 4 โรงเรียน  ขยายโอกาส 1 โรงเรียน  ในอำเภอโพทะเลมีการประเมินโรงเรียนอย่างเข้มข้นแต่ตำบลท่าเสาสามารถทำให้มีโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับทอง2 โรงเรียน ระดับเงิน 4โรงเรียนทำให้เด็กนักเรียนได้รับการดูแลอย่างมีมาตรฐาน
ศูนย์เด็กเล็ก      มีทั้งหมด 5 ศูนย์  อบต.ท่าเสาและเทศบาลตำบลท่าเสาให้การสนับสนุนงบประมาณ    ผ่านเกณฑ์ขั้นพื้นฐานศูนย์ ขั้นดีมาก 1 ศูนย์
กลุ่มอสม.มีการจัดทำละแวกการดูแลครอบครัวที่ชัดเจนมีคณะกรรมการชมรมที่เข้มแข็ง

 สิ่งที่ภาคภูมิใจ               1.ชมรมแอโรบิค SPICY ชนะเลิศการประกวดระดับจังหวัดใน ปี2548

                                    2.ศูนย์สุขภาพชุมชนผ่านเกณฑ์มาตรฐาน
                                    3.โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพผ่านเกณฑ์มาตรฐาน
4. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมองเห็นความสำคัญของงานสาธารณสุขและสนับสนุนงบประมาณในการทำงาน
สิ่งทีอยากพัฒนา           1.พัฒนาให้เป็น PCU ในฝัน
2.สนับสนุนองค์กรสวนท้องถิ่นสนับสนุนทุนการศึกษาของเด็กในพื้นที่ให้กลับมาพัฒนาชุมชนตนเอง  เช่น ให้ทุนเรียนแพทย์  พยาบาล
คะแนนประเมินตนเอง   อยู่ในระดับ 4

 

ผู้เล่า……. PCU ท่าเสา           โดย          นางสุพวรรณ  แพพ่วง 

อีกเช่นเคยครับรูปภาพและผลสรุปจากทีมวิจัย สกว.จะนำมาลงให้ได้ทราบในภายหลัง ก่อนจะจบในวันนี้ ผมได้รับคำถามมาคำถามหนึ่งที่โดนใจมากอยากให้ทุกท่านได้ลองตอบดูนะครับ "คุณเคยเหนื่อยล้ากับความเข้มแข็งของตัวเองบ้างไหม" จากน้องเปีย มูลนิธิร่วมพัฒนาพิจิตรครับ ลองช่วยกันตอบหน่อยนะครับ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 11859เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2006 00:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 17:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ก็เคยเหนื่อยนะ....แต่ก็ต้องเข็มแข็งต่อไป...

ถ้าเหนื่อยมากๆก็พักซะบ้าง....ชีวิตนี้ต้องสู้ต่อไป....

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท