ธนาคารขยะ


พึ่งพาตนเอง

   เมื่อวานนี้ (9  ส.ค. 2550) ตอนเย็น ได้มีโอกาสพบปะ พูดคุยกับผู้นำชุมชนหลายท่านในเขตเทศบาลฯ เรื่องการจัดตั้งธนาคารขยะ เพื่อรองรับปัญหาขยะที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เราในฐานะ นักศึกษามหาวิทยาลัยชีวิต ได้มีโอกาสไปดูงานเรื่อง ธนาคารขยะที่ พิมาย เขาประสบผลสำเร็จในระดับที่น่าพอใจจนสามารถเป็นแบบอย่างให้กับองกรอื่นๆได้หลายแห่ง มีการมาศึกษาดูงานจากหลายๆหน่วยงาน ผลสำเร็จตรงนี้  มันเกิดจากความต้องการของคนในชุมชน นั่นหมายถึงคนในชุมชนบ้านส่วนนอกเขามีจิตสำนึกที่ดีต่อชุมชนที่เขาอาศัยอยู่ โครงการของเขาที่ประสบผลสำเร็จได้นั้น เกิดจากกระบวนการจัดการของคนในชุมชนเป็นหลัก ตั้งแต่ การกำหนดทิศทาง การดำเนินการ การแก้ปัญหา และการจัดการทุกอย่างที่เกี่ยวข้องในโครงการโดยการช่วยเหลือจาก อปท.บ้าง สิ่งที่ผมเห็นก็คือวิธีคิดของพวกเขาว่าทำไมเขาจึงคิดได้ขนาดนี้ ทั้งที่พวกเขาก็เป็นชาวบ้านธรรมดา สิ่งที่เห็นก็คือ ความเข้มแข็งของชุมชนที่เขามีความสามัคคี มีความเชือมั่น ทั้งในตัวผู้นำ ต่อคนในชุมชน และตัวเขาเอง เขาเชื่อมั่นตัวเองว่าเขาทำได้แม้จะไม่ค่อยได้รับความสนใจจากหน่วยงานในท้องถิ่นก็ตาม ทุกอย่างเริ่มต้นที่การ พึ่งพาตนเอง

  ผม และเพื่อนนักศึกษาที่อยู่ในเขตเทศบาลด้วยกัน เช่นคุณจีรศักดิ์ จินดามัย ในฐานะ สท.เขต 2  และดต.สุวัจน์  สมวงษา ประธานกลุ่มที่ 5 จึงได้เกิดแนวความคิดที่จะทำให้คนบ้านเรามีความคิดอย่างเขาบ้างจึงเริ่มที่โครงการธนาคารขยะ ความจริงกิจกรรมเป็นเพียงเครื่องมือเท่านั้น แต่สิ่งสำคัญคือ เราจะปลูกจิคสำนึกให้เกิดขึ้นในชุมชนของเราได้อย่างไร จึงตกลงกันว่าพวกเราจะพาผู้นำชุมชนเหล่านี้ไปศึกษาดูงานที่ ธนาคารขยะรีไซเคิล อ.พิมาย เราเชื่อว่าเมื่อเขาเห็นวิธีคิดของคนที่นั่นแล้วเขาน่าจะมีความคิดอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนของเขาเอง ตอนนั้นวิธีการก็จะเกิดขึ้น โดยพวกเขาเอง

  เราโชคดีที่มีผู้บริหารท้องถิ่นอย่างท่านนายกเทศมนตรี ตำบลประทาย ที่มองเห็นความสำคัญของคนในชุมชน ต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น ท่านให้ความสนใจและใส่ใจในกลุ่มต่างๆในเขตเทศบาล ให้การสนับสนุน ทั้งในด้านงบประมาณ บุคคลากร วิชาการ และอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนอย่างแท้จริง ดังที่ปรากฏต่อสายตาของคนในอำเภอประทาย กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนหลายกิจกรรมได้เกิดขึ้นในช่วงที่ท่านได้มาเป็นผู้บริหาร ผมเห็นว่าเป็นโอกาสที่ดีที่ชุมชนจะได้มีโอกาสแสดงความสามารถและศักยภาพของชุมชน  และหากได้รับการสนับสนุนอย่างถูกต้องและเหมาะสม ก็จะเป็นโอกาสดีที่เราจะเริ่มปลูกจิตสำนึกที่ดี ที่รับผิดชอบต่อชุมชนของคนในชุมชน ให้พวกเขามองเห็นคุณค่าของกิจกรรมการต่างๆ และเป็นประโยชน์ต่อพวกเขาเอง และลูกหลานของพวกเขาต่อไป  

หมายเลขบันทึก: 118493เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2007 08:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

       เมื่อปีหนึ่งกลุ่มของเราก็ไม่พากันไปดูงานที่  ตำบลดอนแก้ว  อำเภอแม่ริม  ที่ได้รับรางวัลเกี่ยวกับการกำจัดขยะ  อย่างเป็นระบบ  และเจ้าหน้าของตำบลก็พาเราไปดูตามบ้านที่ทำการกำจัดขยะที่ชาวบ้านทำกัน  โดยใช้ท่อขนาดใหญ่ประมาณ  2  ลูกนำมาต่อกัน  เพื่อใช้เป็นที่เผาขยะ  ส่วนขยะแห้ง เช่น  เศษใบไม้  ใบหญ้า  ก็นำมาใส่ใต้ต้นไม้เพื่อเป็นปุ๋ยแก่ต้นไม้

        

  • ในมิติหนึ่ง  ลองเอาความรู้เก่า มาใช้ใหม่  ดีไหม 
  • ในบางพื้นที่  เขาใช้แนวคิด  หิ้วตะกร้าไปตลาดสด   ช่วยลดขยะ  
  • เป็นกำลังให้ทุกคน  ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท