การสร้างความสามารถในการแข่งขัน ยุคแห่งเศรษฐกิจพอเพียง


การแข่งขันเพื่อมุ่งสู่ชัยชนะร่วมกัน เริ่มกันที่การสร้างความสามารถในองค์กรขึ้น

วันนี้อ่านบทความในคอลัมน์ SMEs Movement ของกองบรรณาธิการ วารสาร เพื่อนธุรกิจ SMEs โดยสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMED) ฉบับ พ.ค. - มิ.ย. 2007 แล้วน่าสนใจที่จะนำมาเล่าให้ฟังในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันที่เริ่ม ซบเซา และมีการปิดตัวเองลงเรื่อยๆ  และการแข่งขันด้านการพัฒนาเศรษฐกิจระดับภูมิภาคเอเชียด้วยกัน จากที่ประเทศไทยนั้นมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจรุดหน้ารวดเร็วในระดับต้นๆ เมื่อเทียบกับประเทศจีน อินเดีย และเวียดนามในปัจจุบัน กลับพบว่าเราเริ่มถดถอย ลดลงเรื่อยๆ จากในอดีตเราเคยมีอัตราเติบโตที่สูงมาก คือ ร้อยละ 8-9 ต่อปี ณ ปัจจุบันที่ผ่านมา ลดลงมาเหลือร้อยละ 4.5 ในปี 2549  และในปี 2550 นี้ ก็คาดการณ์กันว่าเหลือแค่ร้อยละ 3-4 เอง  ซึ่งเมื่อนำแนวคิดเรื่องความสามารถในแข่งขัน (Competitiveness) ของ นายไมเคิล พอตเตอร์ ซึ่งมองว่า ความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะของประเทศนั้นวัดจาก "ผลิตภาพ (Productivity)" เช่น การดูจาก GDP การพิจารณาความสามารถในการผลิตของประเทศ จากการใช้ทรัพยากรมนุษย์  เงินทุน และทรัพยากรธรรมชาติ ปัจจุบันมีนักกลยุทธ์ในหลายประเทศได้เสนอเรื่อง ของ "ทุนทางปัญญา" (IC: Intellectual Capital) เข้ามาเป็นปัจจัยการพิจารณาความสามารถในการแข่งขันด้วย

ซึ่งความสามารถในการแข่งขันของไทยนั้น ต้องอาศัย Dynamic Diamond Model หรือ The Diamond of National Advantage ในการปฏิบัติการเพื่อเป็นพื้นฐานในการดำเนินการแข่งขันได้ ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยสำคัญ 4 ประการคื

1) ปัจจัยด้านเงื่อนไข (Factors Conditions) คือ ความสามารถในการปรับจุดอ่อนให้กลายเป็นจุดแข็ง หรือ "การเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส"

2) ปัจจัยด้านอุปสงค์ (Demand Conditions) คือ การสร้างอุปสงค์ หรือความต้องการให้เกิดขึ้นในตลาดทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ

3) ปัจจัยด้านความสัมพันธ์และการสนับสนุนอุตสาหกรรม คือ การสร้างคลัสเตอร์ของอุตสาหกรรมให้เกิดขึ้นทั้ง Primary, Secondary และ Tertiary Industry หรือทั้งอุตสาหกรรมต้นน้ำและปลายน้ำ

4) ปัจจัยด้านกลยุทธ์ธุรกิจ โครงสร้างและการแข่งขัน  ความสำเร็จของธุรกิจอยู่ที่การสนับสนุนภาครัฐบาลโดยให้เอกชน หรือภาคธุรกิจเป็นหลักในการดำเนินธุรกิจ

ในแนวคิดเรื่องของความสามารถในการแข่งขันมีหลายธุรกิจ และหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยยอมรับในเรื่องของ "คลัสเตอร์ (Cluster) หรือ "กลุ่มคลัสเตอร์อุตสาหกรรม (Industrial Cluster)" คำว่าคลัสเตอร์ เป็นการรวมกลุ่มของบริษัทหรือธุรกิจ อุตสาหกรรมที่มีความสัมพันธ์กันในกลุ่ม  ซึ่งเชื่อมโยงด้วยสิ่งที่ร่วมกันและประกอบกันอย่างสมบูรณ์  คลัสเตอร์ยังมีทั้งแนวตั้งและแนวนอน  แต่ส่วนใหญ่จะรวมทั้งผลิตภัณฑ์หรือบริการซัพพลายเออร์  ส่วนประกอบเครื่องจักร  สถาบันการเงิน  ธุรกิจที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมหรืออาจรวมสถาบันการศึกษา  การฝึกอบรม  และการสนับสนุนด้านเทคนิค ฯลฯ

สำหรับผู้ประกอบการ SMEs หากสามารถนำแนวคิดทั้ง 4 ประการของ ไมเคิล  พอตเตอร์  มาประยุกต์ใช้กับธุรกิจของท่าน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลยุทธ์ทางธุรกิจ การตลาดและการสร้างโอกาส ซึ่งปัจจัยทั้ง 4 ประการ  เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการประกอบธุรกิจหากท่านมีการจัดทำแผนธุรกิจ สำหรับบริษัทของท่าน  ซึ่งครอบคลุมสาระสำคัญด้านการตลาด  การขาย การบริหารทรัพยากรมนุษย์  การผลิต และการเงิน  จะช่วยทำให้ท่านมีเป้าหมายในการบริหารธุรกิจที่ชัดเจนและประเมินผลได้

ปัจจัยเรื่องคลัสเตอร์ เป็นแนวคิดใหม่ที่เพิ่งมีการพูดถึงเมื่อไม่กี่ปีมานี้  ซึ่งเป็นเรื่องที่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมที่จะนำมาพิจารณาในการรวมกลุ่ม  หรือหาพันธมิตรที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน  ที่จะร่วมมือกันในการผลิตสินค้าเฉพาะชิ้นส่วนที่มีความชำนาญ และนำชิ้นส่วนต่างๆ มาประกอบเข้าด้วยกัน  การสร้างคลัสเตอร์การผลิตจะทำให้ผู้ประกอบการลดต้นทุน  และใช้ความชำนาญเฉพาะด้านในการผลิตทำให้สินค้ามีคุณภาพดี  และตรงกับอุปสงค์ของผู้สั่งซื้อ  เหมือนที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมยานยนต์  ซึ่งมีผู้ประกอบการระดับ SMEs จำนวนมากเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ที่แตกต่างกัน  และต่างฝ่ายต่างเป็นผู้จำหน่ายให้อุตสาหกรรมประกอบรถยนต์  เป็นต้น 

 ดังนั้น SMEs ในประเทศคงต้องปรับตัวเองให้สามารถดำรงตนอยู่ได้ในสภาวะธุรกิจ และสภาพการดำเนินงานในปัจจุบัน เพื่อต่อสู่ทางธุรกิจให้เกิดผลดีที่สุด และสิ่งหนึ่งที่ต้องมองคือ  การมีหุ้นส่วนทางธุรกิจทางการค้าทั้งภายใน และภายนอกประเทศ เพื่อให้เกิดผลสำเร็จและผลสัมฤทธิ์ของธุรกิจแบบ Win - Win คือ ชนะด้วยกันทั้งคู่

หมายเลขบันทึก: 118290เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2007 11:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 15:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เห็นด้วยกับความคิดนี้  แต่ปัญหาความร่วมมือของคนไทยมักจะติดอยู่ที่ลักษณะนิสัยที่ชอบอะไรที่ไม่ยุ่งยาก  มีความจํากัดในความอดทน  มองข้อบกพร่องมากกว่าการแก้ปัญหา  ทําเกินตัว ยังเป็นจุดอ่อนเมื่อเปรียบเทียบกับ  ลักษณะนิสัยเพื่อนบ้านอย่างเวียดนาม หรือแม้แต่คนไทยเชื้อสายเวียดนามที่เขาใช้พื้นฐานของความรักใคร่ปรองดองในเชื้อชาติ มีจิตใจคิด แบ่งปัน  ช่วยเหลือผู้ที่ด้อยกว่า ร่วมมือ  แก้ปัญหา มีความอดทนเป็นเลิศ เขาดําเนินธุรกิจพันธมิตรแบบร่วมชาติเพราะเขามีรากความขมขื่นที่เคยเสียชาติให้ชาติอื่นแต่ใช้วิกฤตให้เป็นโอกาส จากประวัติศาสตร์  ที่เขากู้ชาติเขาต้องร่วมมือและเสียสละ  เพื่อชาติ เขาสามารถดําเนินธุรกิจจนเป็นคู่แข่งทางการค้ากับไทยได้  เราจึงควรหันกลับมาพัฒนาข้อด้อยข้อจํากัดโดยไม่ต้องรอให้เสียชาติ  ยุทธศาสตร์ในทางเศรษฐศาสตร์จึงต้องควบคู่ไปกับการพัฒนาทางสังคม ปรัชญา ในด้านจิตวิญญาณพัฒนาลักษณะนิสัยที่ดีบนพื้นฐานให้กับเด็กๆเพื่อเขาเติบโตเป็นนักธุรกิจที่มีพื้นฐานความรักและการแบ่งปัน

เป็นอีกแง่คิดที่ดีครับ คุณชิวชิว  เพราะการปลูกฝังให้เด็กเป็นคนรักชาตินั้น และร่วมแบ่งปันกันนั้น เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และสังคมที่ยั่งยืน  ซึ่งตรงนี้ผมคิดว่าคนไทยมีอยู่เต็มเปี่ยม แต่หากว่าการสอนให้รักชาติตัวเองนั้น จะต้องสอนในลักษณะที่ต้องไม่ดูถูก ดูแคลนชาติอื่นๆ และต้องไม่ยกตนข่มท่าน ต้องมองในลักษณะที่ win - win กันทั้งสองฝ่าย เพื่อจะได้ไม่เกิดการระแวงในความร่วมมือกัน ระหว่างเพื่อนบ้านในทุกๆ ด้าน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท