เมื่อวาน(9ม.ค.)คณะทำงานโครงการบูรณาการหน่วยงานกลุ่มการเงิน3ตำบลและโครงการสำรวจคนจน400หมู่บ้านประชุมกับท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ผมได้รับมอบหมายให้ประสานกับจ่าจังหวัดเพื่อออกแบบเบื้องต้นแนวทางการทำงานโครงการนี้ซึ่งค่อนข้างใหญ่โต กว้างขวาง ผมทำการบ้านเป็นร่างเบื้องต้นไว้ดังนี้ครับ
(ร่าง)โครงการ "จัดการความรู้แก้จนเมืองนครศรีธรรมราช"
เป้าหมายจำนวน 400 หมู่บ้านในจังหวัดนครศรีธรรมราช
งบประมาณดำเนินการ (งบบูรณาการซีอีโอจังหวัด)
1)ผ่านช่องทางกศน.ใน2กิจกรรมประมาณ18ล้านบาท
2)ผ่านช่องทางเกษตรประมาณ 7 ล้านบาท
รวมประมาณ 25 ล้านบาท
ฐานคิด
1)หลักเศรษฐกิจพอเพียง (พอเพียงใน4ระดับ เพื่อพัฒนาไปสู่สังคมดี คนมีความสุข เย็นกายเย็นใจ)
2)การจัดการความรู้ (ใช้ความรู้ในการพัฒนาทุกกระบวนการและขั้นตอน)
กระบวนและขั้นตอน
1)สำรวจทุนรายครัวเรือนอย่างละเอียด ครอบคลุมทุนปัญญา ทุนวัฒนธรรม/สังคม ทุนเศรษฐกิจ และทุนเงินตรา (ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้วโดยทีมงานเครือข่ายยมนาและปกครองจังหวัดในปี2548 โดยใช้ครอบครัวนำร่องในแต่ละหมู่บ้านๆละ100-150ครอบครัวจำนวน 400 หมู่บ้าน)
โครงการนี้จะต่อยอดการดำเนินงานในปี2548 (ขณะเดียวกันทีมงานเดิมก็จะขยายงานไปอีก400 หมู่บ้านในงบปี2549นี้) โดยการ
2)จำแนกครัวเรือนตามฐานทุนเป็น 4 ระดับคือ (1)ยากจน (2)พอมีพอกิน(3) มีกินมีใช้และ(4)มั่งมี ศรีสุขโดยการวิเคราะห์ข้อมูลที่สำรวจได้ ใช้ความรู้ทางวิชาการและเวทีประชาคมในการจำแนก
3)จัดกลุ่มเรียนรู้พัฒนาร่วมกันทั้งในระดับเดียวกันและต่างระดับ ภายในหมู่บ้าน ระหว่างหมู่บ้านภายในอำเภอและระหว่างอำเภอ
3.1)กลุ่มเรียนรู้ระดับครัวเรือนทุกหมู่บ้านๆละ100-150ครัวเรือนจำนวน400หมู่บ้าน
3.2)กลุ่มเรียนรู้ระดับแกนนำหมู่บ้านและแกนนำในแต่ละระดับจำนวน 8+3(4) = 20 คน
3.3)กลุ่มเรียนรู้คุณอำนวยในแต่ละอำเภอ(ทุกตำบล) แบ่งเป็น3ห้องเรียนๆละ6+2(3)=12 คน
3.4)กลุ่มเรียนรู้คุณเอื้อในแต่ละอำเภอจำนวน23อำเภอ
3.5)กลุ่มเรียนรู้คุณเอื้อระดับจังหวัด
คณะทำงานโครงการ
(๑)คณะทำงานระดับจังหวัด(กลุ่มเรียนรู้คุณเอื้อจังหวัด)ประกอบด้วย
1)ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน
2)นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
3)จ่าจังหวัด
4)พัฒนาการจังหวัด
5)ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด
6)เกษตรจังหวัด
7)สาธารณสุขจังหวัด
8)สหกรณ์จังหวัด
9)ผู้อำนวยการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจังหวัด
10)ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน
11)ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
12)คณบดีสำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
13)ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
14)รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตนครศรีธรรมราช
15)นายอำเภอทั้ง23อำเภอ
จ่าจังหวัด เป็นเลขานุการคณะทำงาน
ผอ.กศน. เป็นผู้ช่วยเลขานุการคณะทำงาน
เกษตรจังหวัด เป็นผู้ช่วยเลขานุการคณะทำงาน
พัฒนาชุมชนจังหวัด เป็นผู้ช่วยเลขานุการคณะทำงาน
(๒)คณะทำงานระดับอำเภอจำนวน 23 อำเภอ(กลุ่มเรียนรู้คุณเอื้ออำเภอ)ประกอบด้วย
1)นายอำเภอเป็นประธาน
2)กศน.
3)เกษตร
4)พช.
5)ธกส.
6)ออมสิน
7)สาธารณสุข
8)นายกอบต.ในเขตอำเภอ
9)กำนันในเขตอำเภอ
(๓)คณะทำงานระดับอำเภอ(กลุ่มเรียนรู้คุณอำนวยอำเภอ)ประกอบด้วย
อาสาสมัครจากทุกหน่วยงานคุณเอื้ออำเภอ โดยแบ่งเป็น 3 ห้องเรียนๆละ6 คน (ห้องเรียนละประมาณ 6 หมู่บ้าน) ร่วมกับแกนนำหมู่บ้านที่ทำการสำรวจข้อมูลหมู่บ้านๆละ2 คน(ทีมสำรวจมีประมาณ8คน)จำนวน 12 คน รวมทั้งสิ้น 18 คน
1)อาสาสมัครจากหน่วยงานคุณเอื้ออำเภอจำนวน 6 คน (กศน. พช. เกษตร สธ. ธกส. ออมสิน พช.อบต.)
2)แกนนำหมู่บ้านเป้าหมายหมู่บ้านละ2คนจำนวน 12 คน
รวม 18 คน
(๔)คณะทำงานระดับหมู่บ้าน (กลุ่มเรียนรู้คุณอำนวยหมู่บ้าน)ประกอบด้วย
1)แกนนำหมู่บ้านๆละ 8 คน
2)แกนนำคุณกิจในแต่ละระดับ 4 ระดับๆละ3คนจำนวน12 คน
รวม 20 คน
(๕)คณะทำงานระดับหมู่บ้าน (กลุ่มเรียนรู้คุณกิจหมู่บ้าน)ประกอบด้วย
หัวหน้าครอบครัวจำนวน100-150ครอบครัว แยกเป็น 4 ระดับหรือ4 กลุ่มเรียนรู้ โดยมีคุณอำนวยกลุ่มเรียนรู้ละ 3 คน
1)กลุ่มเรียนรู้ (ก) ประมาณ 20-40 คน (เศรษฐกิจพอเพียงขั้นที่ 1)
2)กลุ่มเรียนรู้ (ข) ประมาณ 20-40 คน (เศรษฐกิจพอเพียงขั้นที่ 2)
3)กลุ่มเรียนรู้ (ค) ประมาณ 20-40 คน (เศรษฐกิจพอเพียงขั้นที่ 3)
4)กลุ่มเรียนรู้ (ง) ประมาณ 20-40 คน (เศรษฐกิจพอเพียงขั้นที่ 4)
(๖) คณะวิทยากรจัดการความรู้
1)นายประยงค์ รณรงค์
2)นายภีม ภคเมธาวี และทีมงาน
วัตถุประสงค์ของโครงการ
เพื่อพัฒนาความสามารถ(ทุนปัญญา)และทุนอื่นๆลงลึกเป็นรายบุคคลในทุกระดับ(ตั้งแต่คนจนถึงผู้ว่าราชการจังหวัด)โดยการเรียนรู้จากกันและกันและการหนุนเสริมวิทยาการอย่างสอดคล้องเหมาะสมเพื่อแก้ปัญหาความยากจนในระดับครอบครัว/หมู่บ้านในจังหวัดนครศรีธรรมราชอย่างยั่งยืน โดยเน้นการพัฒนาความสามารถควบคู่กับการสร้างความตระหนักรู้ในตัวเองของบุคคล ดำเนินชีวิตตามกำลังความสามารถของตนเอง มีความพอเพียง พอใจในสิ่งที่ตนเองมี ไม่ขาดแคลนหรือต้องการในสิ่งที่เกินกำลังความสามารถของตนเอง