GotoKnow

เด็กพิการทางหู

นางสาว ณัฏฐ์ธิดาษ์ หวลหอม
เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2549 13:56 น. ()
แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2555 23:51 น. ()
เด็กพิการทางหู

เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน
       เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน หมายถึงเด็กหูหนวก และ เด็กหูตึงเด็กหูหนวก เป็นเด็กที่สามารถได้ยินเสียงคนพูดน้อยมาก ใช้เครื่องช่วยฟังก็ไม่ได้ผล ซึ่งเด็กหูตึงเป็นเด็กที่สามารถได้ยินเสียงพูดบ้าง แต่ต้องใช้เครื่องช่วยฟัง ช่วยขยายเสียงให้ชัดเจนขึ้น


สาเหตุที่ทำให้หูพิการมาตั้งแต่เด็ก

ขณะที่แม่ตั้งครรภ์อาจได้รับเชื้อ ไวรัสหัดเยอรมัน เยื้อหุ้มสมองอักเสบ และซิฟิลิส
ขณะที่แม่ตั้งครรภ์อาจได้รับสารหรือยาที่เป็นอันตราย
กรรมพันธุ์
        เด็กขาดออกซิเจนเป็นเวลานาน ในขณะทำคลอด
เด็กที่ต้องคลอดก่อนกำหนด



ทำอย่างไรถึงจะรู้ว่าเด็กมีความพิการทางหู


จากคำแนะนำของคุณหมอเด็ก จากโรงพยาบาลที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง กล่าวว่า ถ้าอยากจะรู้ว่าเด็กคนนั้นมีความผิดปกติทางหูหรือไม่นั้น ต้องอาศัยการตรวจอย่างละเอียด อย่างสม่ำเสมอ ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 1 ขวบ ซึ่งการตรวจเช็คนั้นจะมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้คุณหมอทราบว่าเด็กคนนั้นมีความพิการทางหูหรือไม่ แต่คุณแม่สามารถสังเกตุจากพัฒนาการการได้ยินเสียงของลูกได้ คือ เด็กตั้งแต่แรกเกิด เมื่อได้ยินเสียงดัง เค้าจะผวา อายุ 5 เดือน เค้าก็จะพยายามเปล่งเสียง อ้อ แอ้ เพื่อตอบสนองเวลาเราพูดด้วย และอายุ 9 เดือน ลูกจะพยายามหันมองตามเสียงที่เราเรียก ดังนั้น คุณแม่ควรเฝ้าดูและช่วยกระตุ้นพัฒนาการทางการฟังของลูกน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรพาลูกไปรับวัคซีนและพบคุณหมออย่างสม่ำเสมอ





                                     วิธีการที่จะช่วยเด็กที่มีความพิการทางหู มี 2 วิธี
การฝึกฟัง
จะช่วยพัฒนาทักษะในการใช้ประสาทสัมผัส ในส่วนของการได้ยินเสียงที่เหลืออยู่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด อุปกรณ์ที่มีวามสำคัญมากที่สุดในการฝึกฟัง คือ เครื่องช่วยฟัง ซึ่งจะทำหน้าที่ขยายเสียงให้ดังขึ้น โดยมีปุ่มสามารถปรับเสียงดังค่อยได้ตามความต้องการ มีอยู่ 4 ประเภท แล้วแต่ความถนัดของผู้ใช้ คือ


เครื่องช่วยฟังแบบใส่ในรูหู เครื่องช่วยฟังแบบทัดหู                                        เครื่องช่วยฟังแบบติดกระเป๋าเสื้อ เครื่องช่วยฟังแบบแว่นตา


การฝึกพูด
เพื่อส่งเสริมให้เด็กเข้าใจในภาษาพูด และสามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้


สถานศึกษาสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางหู


โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ เขตดินแดง กรุงเทพฯ โทร 245-1700 , 642-8065 , 245-0448
โรงเรียนเศรษฐเสถียร ราชวัตร เขตดุสิต กรุงเทพฯ โทร 241-4738 โทรสาร 241-4455
โรงเรียนโสตศึกษาทุ่งมหาเมฆ สาทร กรุงเทพฯ โทร 285-5618 , 286-0733 โทรสาร 286-6129
         โรงเรียนโสตศึกษา จ.นนทบุรี บางบัวทอง โทร 571-7052 โทรสาร 571-0336


โรงเรียนที่กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นโรงเรียนสำหรับผู้ที่มีความบกพร่องในการได้ยินโดยเฉพาะ มีชั้นเรียนตั้งแต่ เด็กเล็ก - ม.6 จะได้รับการฝึกฝนให้สามารถสื่อสารกับคนทั่วไปได้ ขณะนี้ มีโรงเรียนหลายแห่งได้เปิดรับเด็กที่มีความบกพร่องในการได้ยิน เข้าเรียนร่วมกับนักเรียนปกติ ได้แก่ โรงเรียนอนุบาลลอออุทิศ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ
 ความรู้ทั่วไปสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

     ประวัติความเป็นมาด้านการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

การศึกษาสำหรับเด็กหูหนวกในประเทศไทย เริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2494 โดย ม.ร.ว.เสริมศรี เกษมศรี ซึ่งสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยกอลอเดท (Gallaudet College) วิทยาลัยทางศิลปศาสตร์แห่งแรก และแห่งเดียวสำหรับคนหูหนวก ได้เปิดหน่วยทดลองสอนคนหูหนวกขึ้นเป็นครั้งแรกที่โรงเรียนวัดโสมนัส การสอนคนหูหนวกในตอนนั้นเป็นการสอนพูดโดยใช้ท่าภาษามือประกอบ ต่อมาคุณหญิงกมลา ไกรฤกษ์ ได้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยเดียวกันมาเป็นครูใหญ่โรงเรียนสอนคนหูหนวกดุสิต (ปัจจุบันคือโรงเรียนเศรษฐเสถียร) ได้รวบรวมภาษามือขึ้นเป็นหนังสือภาษามือไทยขึ้น เพื่อใช้สอนคนหูหนวกในประเทศไทย โดยให้มีการสอนพูดรวมกับการใช้ภาษามือและการสะกดนิ้วมือร่วมกับการอ่านและการเขียนตามปกติ

     ปัจจุบันการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในประเทศไทย มี 2 แบบคือ
1. การจัดการศึกษาพิเศษ ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่ระดับชันเด็กเล็ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ใช้หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีการปรับปรุงให้เหมาะสมเพียงเล็กน้อย
2. จัดการเรียนร่วมกับคนปกติ จัดให้เข้าเรียนในโรงเรียนเดียวกับเด็กปกติ โดยมีครูพิเศษช่วยเหลือในด้านภาษาและการสื่อสาร


     ความหมายของบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

     บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน หมายถึง บุคคลที่บุคคลที่สูญเสียการได้ยิน การรับฟังเสียงต่างๆบกพร่องไม่ได้ยิน เสียงเหมือนเด็กปกติ อาจจะเป็นเด็กหูตึงหรือเด็กหูหนาวก็ได้ (ผดุง อารยะวิญญู.2539)
     บุคคลที่ความบกพร่องทางการได้ยิน (Hearing Impaired Children) หมายถึงบุคคลที่สูญเสียการได้ยินตั้งแต่ระดับรุนแรงจนถึงระดับน้อย (ศรียา นิยมธรรม.2541)
บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยินหมายถึงบุคคลที่มีความสามารถในการรับฟังเสียง ต่าง ๆ บกพร่องหรือสูญเสียไปเป็นเหตุให้ได้ยินเสียงต่าง ๆ ไม่ชัดเจน ในกรณีที่สูญเสียการได้ยินเพียงเล็กน้อย เรียกว่า หูตึง และไม่ได้ยินเสียงพูดในกรณี
ที่สูญเสียการได้ยินมาก เรียกว่า หูหนวก (ปรีดา จันทรุเบกษา.2525)


     ประเภทของบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

     เด็กหูหนวก หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยิน 90 เดซิเบลขึ้นไป วัดด้วยเสียงบริสุทธิ์ ณ ความถี่ 500,1000 และ2,000เฮิร์ท ในหูข้างที่ดีกว่า เด็กไม่สามารถใช้การได้ยินให้เป็นประโยชน์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ อาจเป็นผู้ที่สูนเสียการได้ยินมาแต่กำเนิดหรือสูญเสียการได้ยินภายหลังก็ตาม

    เด็กหูตึง หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยินระหว่าง 26-89 เดซิเบล วัดด้วยเสียงบริสุทธิ์ ณ ความถี่ 500,1000 และ2,000เฮิร์ท


เป็นเด็กที่สูญเสียการได้ยินเล็กน้อยไปจนถึงการ สูญเสียการได้ยินขั้นรุนแรง  ระดับการได้ยิน
     ระดับที่ 1 หูปกติ (ไม่เกิน 25 เดซิเบล)
          ได้ยินเสียงพูดกระซิบเบา ๆ
     ระดับที่ 2 หูตึงเล็กน้อย (26-40 เดซิเบล)
          ไม่ได้ยินเสียงพูดเบา ๆ แต่ได้ยินเสียงพูดปกติ อาจใช้เครื่องช่วยฟังบางโอกาส เช่น เรียนหนังสือ
     ระดับที่ 3 หูตึงปานกลาง (41-55 เดซิเบล)
          ไม่ได้ยินเสียงปกติ ต้องพูดดังกว่าปกติจึงจะได้ยิน จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยฟังขณะพูดคุย
     ระดับที่ 4 หูตึงมาก (56-70 เดซิเบล)
          พูดเสียงดังแล้วยังไม่ได้ยิน จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยฟังตลอดเวลา
     ระดับที่ 5 หูตึงรุนแรง (71-90 เดซิเบล)
          ต้องตะโกนหรือใช้เครื่องขยายเสียงจึงจะได้ยิน แต่ได้ยินไม่ชัด
     ระดับที่ 6 หูหนวก (91 เดซิเบลขึ้นไป)
          ตะโกนหรือใช้เครื่องขยายเสียงแล้วยังไม่ได้ยิน และไม่เข้าใจความหมาย   
กระบวนการแบบสองภาษา
          กระบวนการแบบสองภาษา เป็นการจัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่งสำหรับเด็กหูหนวก ทำการสอนโดยครู 2 คน คือ ครูหูหนวก และครูที่มีการ ได้ยิน โดยครูหูหนวกจะเป็นแบบอย่างของการใช้ภาษามือ เป็นผู้ที่ถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์ วิถีชีวิตของคนหูหนวกให้กับเด็กหูหนวก และครูที่มีการได้ยินจะเป็นแบบอย่างของการใช้ภาษาไทย ทั้งการเขียน การอ่าน และการพูด โดยเด็กหูหนวกจะต้องเรียนภาษามือที่สอนโดยครูหูหนวก เป็นภาษาแรกให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ จนเด็กสามารถใช้ภาษามือได้อย่างดี และเรียนรู้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สองโดยครูที่มีการได้ยิน ซึ่งการสอนภาษาโดยใช้วิธีการสอนแบบภาษาที่สอง โดยใช้ภาษามือไทยเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ภาษาไทย การสอนภาษาไทยจะสอนจากการเขียน การอ่าน หรือการพูด ขึ้นอยู่กับเด็กแต่ละคน สำหรับเด็กโต บางวิชาอาจจะสอนด้วยภาษามือ โดยครูหูหนวก เช่น วิชา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสังคม โดยใช้เทคนิค การสอนที่ตอบสนองความต้องการและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนหูหนวก

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized 


ความเห็น

โอเด็ต
เขียนเมื่อ

ได้ความรู้เรื่องเด็กพิการทางหูดีมากเลยค่ะณัฏฐ์ธิดาษ์

พอลล่า
เขียนเมื่อ

ได้รับความรู้มากมายจากสิ่งที่ไม่เคยทราบมาก่อน  เนื้อหาดีมากเลยคะ      ขอบคุณมากคะ  ณัฏฐ์ดาษ์

เบ็ญจวรรณ ฟักแฟง ( โอเด็ต)
เขียนเมื่อ

ได้ความรู้เรื่องเด็กพิการทางหูดีมากเลยค่ะณัฏฐ์ธิดาษ์

วนิดา สายวงษ์ (พอลล่า)
เขียนเมื่อ

ได้รับความรู้มากมายจากสิ่งที่ไม่เคยทราบมาก่อน  เนื้อหาดีมากเลยคะ      ขอบคุณมากคะ  ณัฏฐ์ดาษ์

อาจารย์ประไพ สิทธิเลิศ
เขียนเมื่อ

ข้อมูลที่นำเสนอเป็นประโยชน์  ขอให้ณัฏฐ์ธิดาษ์  หวลหอม พัฒนาทักษะการใช้เว็บไซต์นี้มาก ๆ พยายามฝึกอัพโหลดภาพและไฟล์ให้ได้ ขณะนี้ถือว่ายังไม่บรรลุวัตถุประสงค์ของการบูรณาการ การเรียนรู้จากการใช้เทคโนโลยีกับเนื้อหาสาระในวิชาการศึกษาแบบเรียนรวม 

ข้อทดสอบไม่มีปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ นักศึกษาควรเพิ่มเติมให้ครบสมบูรณ์ด้วย

รุจิเรข เฟื่องบางหลวง (แอนนี่)
เขียนเมื่อ
   หลังจากที่ได้อ่าน เรื่อง เด็กพิการทางหูแล้ว ได้รับความรู้เรื่องนี้เพิ่มขึ้นมากทีเดียว  เนื้อหาดีมากค่ะ.........ขอบคุณนะคะ...
พจมาลย์
เขียนเมื่อ

เนื้อหาดีมากคะอ่านแล้วได้รับประโยชน์มากมายขอบคุณมากคะ

 

พจมาลย์
เขียนเมื่อ

เนื้อหาดีมากคะอ่านแล้วได้รับประโยชน์มากมายขอบคุณมากคะ

 

จตุพร นาเครือhttp://gotoknow.org/javascripts/tinymce/jscripts/tiny_mce/themes/advanced/color_picker.htm
เขียนเมื่อ

ณัฏฐ์ธิดาษ์ หวลหอม  เก่งมากเลยนะครับผม จะคอยเป็นกำลังใจให้นะครับ

ศุภลักษณ์ เรืองเรื่อ
เขียนเมื่อ

เนื้อหาเหมาะสำหรับคุณแม่มากเพราะลูกคือดวงใจ น่าศึกษาเพื่อการป้องกันที่ดีค่ะ

สิวารี
เขียนเมื่อ

ข้อมูลเป็นประโยชน์มากเลย

กำลังสนใจเรื่องนี้อยู่พอดี

ขอบคุณมากนะคะ

เด็กหูหนวกไทย
เขียนเมื่อ

ไม่จำเป็นต้องใส่เครื่องช่วยฟัง เพราะ บางคนไม่ได้ผล ดีที่สุดสำคัญการฝึกพูด เพื่อการสื่อสาร ตามร้าน เเละฝึกอ่านปาก ด้วย เเทนฟังค่ะ ดิฉันเป็นคนหูหนวกมาตั้งเเต่เกิด เเต่พอพูดได้ชัดเจน ไม่อยากใส่เครื่องช่วยฟังอีกเเล้ว เห็นเเล้วไม่ได้ผลอะไร

12 เมษา
เขียนเมื่อ

ขอบคุณมากสำหรับข้อความดี ดี เพราะอยากรู้เรื่องอยู่พอดี

นันทิดา
เขียนเมื่อ

อยากทราบชื่อโรงเรียนที่รับเด้กพิการทางหูเรียนร่วมกับเด้กปกติ ที่ไหนดี บ้างค่ะ

หน่อย จร้า
เขียนเมื่อ

อยู่กระบี่ค่ะ..อยากทราบว่ามีโรงเรียนสำหรับเด็กพิการทางหูที่อยู่ใกล้ๆกระบี่มั้ยค่ะ

เสาวนีย์
เขียนเมื่อ

แอพฟรี สำหรับช่วยคนหูหนวก หรือผู้ที่มีปัญหาในการฟังและการพูด ให้สื่อสารกับคนที่ไม่เข้าใจภาษามือได้ง่ายขึ้น

ดิฉันได้สร้างแอพฟรี สำหรับช่วยให้คนหูหนวกสามารถสื่อสารกับคนที่ไม่เข้าใจภาษามือได้ง่ายขึ้น แอพนี้จะแปลงเสียงพูดของผู้พูดให้เป็นตัวหนังสือ ให้คนหูหนวกได้อ่าน และคนหูหนวกสามารถพิมพ์ข้อความที่ต้องการสื่อสาร และแอพนี้จะแปลงข้อความที่พิมพ์เป็นเสียงพูด ทำให้คนที่ไม่เข้าใจภาษามือ สามารถสื่อสารกับคนหูหนวกได้ง่ายขึ้น

แอพนี้ใช้ได้กับโทรศัพท์หรือแทปเลตที่เป็น Andriod เท่านั้น ของ IOS ยังไม่ได้ทำออกมาค่ะ

ฟังชั่นการแปลงเสียงพูดเป็นตัวหนังสือสามารถใช้ได้เฉพาะตอนที่โทรศัพท์ หรือแทปเลตต่อกับอินเตอร์เน็ตเท่านั้น แต่ฟังชั่นการแปลงตัวหนังสือเป็นเสียงพูดใช้ได้ในทุกกรณี

แอพนี้มีให้โหลดฟรีได้ที่ Google App Store ตามลิ้งค์ด้านล่างนี้

https://play.google.com/store/apps/details?id=com.thunkable.android.justpissapp.HearItTH

ดิฉันหวังว่าแอพนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้ที่มีปัญหาในการฟังและพูดค่ะ

ลองโหลดมาใช้ดูนะคะ และถ้าใช้แล้วต้องการให้เพิ่มฟังชั่นอะไรใหม่ๆ หรือต้องการให้แนะนำ หรือติชม ติดต่อเข้ามาได้ที่อีเมล์ที่ให้ไว้ที่ Google Play store ค่ะ

ถ้าเห็นว่าแอพนี้เป็นประโยชน์กับคนพิการหูหนวก หูตึง หรือคนใบ้ ช่วยบอกต่อด้วยค่ะ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย