การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม


คาถาลดความอ้วน

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพ หมายถึง การใดๆ ที่มุ่งกระทำเพื่อสร้างเสริมให้บุคคลมีสุขภาวะทางร่างกาย จิต และสังคม โดยสนับสนุนพฤติกรรมของบุคคล สภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่จะนำไปสู่การมีร่างกายที่แข็งแรง สภาพจิตที่สมบูรณ์ อายุยืนยาว และคุณภาพชีวิตที่ดีแต่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก จึงมีคนเสนอให้ใช้ยุทธศาสตร์ในการปรับหรือจัดทำสร้างสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

คาถาลดความอ้วน พระเจ้าเกษมธิโกศล เป็นพระเจ้าแผ่นดินครองแคว้นโกศล สมัยพุทธกาล ขณะที่พระพุทธเจ้าประทับที่เมืองสาวัตถีซึ่งเป็นเมืองหลวงของแคว้นนี้ วันหนึ่ง พระเจ้าเกษมธิโกศลเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าในเวลาหลังอาหารกลางวันแสดงอาการแน่นอึกอัดท้อง พระพุทธเจ้าเห็นว่าพระเจ้าเกษมธิโกศลไม่สุขสบายจากการอึดอัดท้องจึงให้คำสอน 1 บท  คือมีสติ รู้จักประมาณในการบริโภค จะมีเวทนาเบาบาง แก่ช้า และอายุยืนยาว เมื่อพระเจ้าเกษมธิโกศลได้ฟังดังนั้นจึงเรียกให้หลานชายมาจำคำสอนของพระพุทธเจ้าไว้ และให้พูดเตือนสติทุกครั้งที่พระองค์เสวยพระกระยาหาร หลังจากนั้นอาการอึดอัดท้องของพระองค์ก็ดีขึ้นตามลำดับจะเห็นได้ว่า คำสอนของพระองค์สอดคล้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ และ outcome Mapping การมีสติ เป็นยุทธศาสตร์ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรับประทานอาหาร มีคนเตือนสติ  เปรียบเสมือนกับการเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคน หากทำได้สำเร็จ มีการเปลี่ยนพฤติกรรม คือการประมาณการในการบริโภค จะเกิดผลเปรียบเป็น 0utput outcome impact การมีเวทนาเบาบาง เป็นผลระยะสั้น แก่ช้า เป็นผลระยะกลาง  อายุยืนยาว เป็นผลระยะยาว

การตรวจเท้าผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลแห่งหนึ่งมีปัญหาการตรวจเท้าผู้ป่วยเบาหวานของแพทย์อายุรกรรม ปัญหาคือแพทย์ไม่ได้ตรวจเท้าให้ผู้ป่วยทุกราย อ้างสาเหตุนานาประการ จึงมาแก้ไขโดยการให้ผู้ป่วยเบาหวานทุกรายถอดรองเท้าตั้งแต่หน้าห้องแล้วเข้าพบแพทย์ (เพราะแพทย์รู้อยู่แล้วว่าต้องตรวจ)แพทย์จึงจำเป็นต้องตรวจเท้าผู้ป่วยทุกราย อัตราการตรวจเท้าผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น อีกตัวอย่างหนึ่ง เช่นการจัดหาอุปกรณ์ อ่างล้างมือ สบู่ ผ้าเช็ดมือให้เพียงพอ จะสนับสนุนให้คนล้างมือมากขึ้น

การดื่มกาแฟ อาจจะจัดให้มีเครื่องดื่มที่มีประโยชน์อื่นๆ ไว้ให้หยิบสะดวกในการรับประทานหรือเข้าถึงง่ายกว่าชา กาแฟ อาจเป็นหนทางหนึ่งที่เอื้อให้คนปรับพฤติกรรมในการรับประทานน้ำหรือเครื่องดื่มที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพมากขึ้น

คำสำคัญ (Tags): #hph
หมายเลขบันทึก: 117479เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2007 22:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท