มหกรรมตลาดนัดการจัดการความรู้ ๔ ภูมิภาค โครงการ EdKM ครั้งที่ ๓ ภาคกลาง ตอนที่ ๑


 

          มหกรรมตลาดนัดการจัดการความรู้  ๔  ภูมิภาค  (ภาคกลาง)  จัดขึ้นในวันที่  ๒๑-๒๒  กรกฎาคม  ๒๕๕๐ ณ  โรงแรมวรบุรี  อโยธยา  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  เป็นเวทีที่  ๓  แล้ว  โดยครั้งนี้  สพท.พระนครศรีอยุธยา  รับเป็นเจ้าภาพ  มี สพท. และโรงเรียนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและภาคกลาง  ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายโครงการ  EdKM  เข้าร่วมประมาณ  ๕๐๐  คน  และได้รับเกียรติจาก  ดร.สมเกียรติ  ชอบผล  รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  (สพฐ.)  เป็นประธานเปิดงาน 

 

ประธานเปิดงาน

          สำหรับการปาฐกถาพิเศษ  หัวข้อ  “การจัดการความรู้เพื่อสร้างสังคมฐานความรู้”  ได้รับเกียรติจากคุณทรงพล  เจตนาวณิชย์  ผู้อำนวยการสถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข  (สรส.)  ซึ่งสามารถสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

         ปัญหาในชุมชนท้องถิ่น  การศึกษา การจัดการความรู้ไม่เพียงพอ  เดิม บ้าน วัด โรงเรียน  เป็นศูนย์รวมของชุมชน  แต่ปัจจุบันไม่ใช่   แม้นักเรียนอยู่โรงเรียนวิถีพุทธ  แต่ไม่มีความสุข
         ครูเป็นผู้กู้ชาติกู้แผ่นดิน  ปัญหาในโรงเรียนเยอะ  ไม่แน่ใจว่า โรงเรียนเป็นที่พึ่งของชุมชนท้องถิ่นได้อย่างไร  ชุมชนต้องการความรู้ที่กินได้ ตอบโจทย์ปัญหาเขาได้
         ระบบการศึกษาปัจจุบัน ทำให้ชาวบ้านยากจนลง  พูดคุยกันไม่รู้เรื่อง  สุขภาพแย่ลง 
         ชาวบ้านต้องการเรียนรู้เพื่อรู้จักตนเอง  เช่น  บัญชีครัวเรือน  บัญชีชีวิต  แต่เราพบว่า  ในหลายๆ  พื้นที่ หากขาดกระบวนการ ขาดความเข้าใจในการใช้  เอกสารที่ให้ไปก็ไม่มีประโยชน์ 
        ชาวบ้านต้องการรู้จักชุมชนตัวเอง  วัฒนธรรม  อาชีพ  การสื่อสารในชุมชน  เช่น  หอกระจายข่าว  แต่กลับไม่ได้เป็นกลไกในการจัดการเรียนรู้ของชาวบ้านอย่างเพียงพอ 
        ชาวบ้านต้องการรู้จักโลก  เด็กรุ่นใหม่สับสนกับกระแสโลกาภิวัตน์ ความยากในการสอนมีมากขึ้น  สมัยนี้ ข้อมูลเกิดใหม่ทุกวินาที  ความสามารถในการตีความสังเคราะห์ข้อมูล มีความสำคัญ  สอนให้คิดเป็นทำเป็นสำคัญมาก  เราปรับตัวไม่ทัน  เราจัดการความรู้ไม่ดี  เราไปเห็นชาวนาเป็นหนี้สินเยอะ  การเปลี่ยนอาชีพไม่ง่าย  ต้องมีการฝึกฝนเตรียมตัว  ชุมชนขาดกลไกการจัดการเรียนรู้  โรงเรียนพึ่งได้หรือไม่  ชุมชนเป็นสุขได้  ต้องมีการจัดการความรู้หลายระดับ ชุมชนจึงจะเข้มแข็งได้

คุณทรงพล  เจตนาวณิชย์  

<p align="left">
         เป้าหมายของชุมชนเหมือนกัน  คือ  กินดี อยู่ดี  มีสุข  แต่เมื่อมองแบบเห็นช้างทั้งตัว  เรามองเห็นความโยงใยอย่างไร  นายก อบต. กับกำนันใครใหญ่กว่ากัน  บทบาทหน้าที่ที่แท้จริงคืออะไร  หลายพื้นที่ไม่รู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง
         เรามีสิ่งใหม่ๆ  เกิดขึ้น แต่เราไม่มีการเตรียมคน  ให้พร้อม  กลายเป็นหัวมงกุฎท้ายมังกร  ถ้าเราเห็นว่า ชุมชนมีทุน ทุกพื้นที่มีดินน้ำป่า มีวัฒนธรรมประเพณีเป็นที่ยึดโยงความเอื้ออาทร  แต่ปัจจุบันวัฒนธรรมประเพณีไม่สามารถถอดรหัสได้ว่า มีบทบาทหน้าที่อะไร  แต่เราจัดการมันไม่ได้  คนรู้ก็มีเยอะ  แต่ที่ผ่านมา  เราไม่ฟังกันเอง  เรามีปัญหาเรื่องคุณธรรม  ต้องสอนให้รู้จักยอมรับคนแต่ละคน  มันขาดการจัดการทางสังคม  โครงสร้างเดิมทางสังคมไม่สามารถตอบโจทย์ได้  เราต้องการโครงสร้างทางสังคมแบบใหม่
          จากโครงสร้างเดิมที่มีอยู่  ไม่รู้จักหน้าที่  ไม่รู้จักคุณค่า  เราอยู่ในระบบที่เป็นกลไกเยอะ  ทำให้เราไม่รู้จักคุณค่าความหมายที่แท้จริง  แรงบันดาลใจไม่มี  เป้าหมายไม่มี  จึงต้องมีการจัดการแรงบันดาลใจ  ฉันทะ
          เราเข้าถึงแก่น  คุณค่า  ประโยชน์ที่แท้จริงได้หรือไม่  ถ้ารู้เราจะประยุกต์ใช้ได้ดี  เราต้องใช้หลักการ KM  ไปประยุกต์เพื่อให้เห็นแรงบันดาลใจ ให้ชาวบ้านพึ่งตนเองได้  ต้องมีกลไกจัดการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องให้ได้  มันมีองค์ประกอบ  คือ  การเรียนรู้ในวิถีที่ต่อเนื่อง  มีคนกระตุกตั้งคำถามให้คิด  มีการใช้ สร้าง ความรู้ คนในชุมชนต้องมีคนเก่งหลายคน
         การจัดการเรียนรู้ต้องทำให้เราในชุมชนเห็นคุณค่าของคนในชุมชนด้วยกันเอง  มีคนรับผิดชอบ ทีมงาน  งบประมาณ  KM  เข้าไปช่วยได้เยอะ  ทำแล้วถอดบทเรียน  เขาก็สัมผัสได้ว่ามันดี  ช่วยงานเขาได้  เราต้องบูรณาการ  Head   Heart   Hand  หัว สุนทรียะ  ใจ อารมณ์ความรู้สึกเข้าด้วยกัน</p><p>(โปรดติดตามตอนต่อไป)
</p>

หมายเลขบันทึก: 117414เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2007 17:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท