มหาวิทยาลัยวิจัย : ๑. ขึ้นจากหลุม inbreeding


 

          ลัทธิลูกหม้อ เหมาะสำหรับสังคมและหน่วยงานอนุรักษ์นิยม      ลัทธิลูกหม้อเป็นตัวปิดกั้นลัทธินวัตกรรมนิยม      ลัทธิลูกหม้อนำไปสู่สภาพความคิดวนเวียนอยู่แนวเดียว (inbreeding of ideas)      ว่าอะไรว่าตามกัน      ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาไปสู่มหาวิทยาลัยวิจัย    

           วัฒนธรรม inbreeding แสดงออกโดยการรับอาจารย์ใหม่จากลูกศิษย์ของสถาบันเองเท่านั้น     หรือรับเฉพาะจากคนที่มีแนวคิดหรือฝึกอบรมมาจากสถาบันที่เชื่อถือแบบเดียวกัน     ปฏิบัติตามแนวทางที่ก่อความเป็นเอกภาพทางความคิดเชิงวิชาการ   เน้นความเหมือน

            วัฒนธรรม inbreeding แสดงออกโดยการสรรหาผู้บริหาร (ทุกระดับ) จากคนที่เป็นสมาชิกในองค์กรอยู่แล้วเท่านั้น    ไม่เปิดโอกาสให้มีการเสาะหาบุคคลที่ดีที่สุด   เหมาะสมที่สุด     มาทำหน้าที่     แต่ตีกรอบโดยข้อบังคับ หรือกฎหมาย ให้ต้องสรรหาคนในเท่านั้น    

           ในขณะที่สถาบันวิจัยต้องการความคิด ความเชื่อ ที่หลากหลาย      ใช้พลังของความหลากหลาย เพื่อการสร้างสรรค์     เพื่อสร้างนวัตกรรม และทฤษฎีใหม่    

           วัฒนธรรม inbreeding เน้นให้สมาชิกขององค์กร (สังคม) เชื่อตามๆ กัน     ให้เชื่อหรือยึดถือแนวทางหรือทฤษฎีที่มีอยู่    แต่วัฒนธรรมวิจัยตรงกันข้าม     เน้นการท้าทายทฤษฎีหรือความเชื่อเดิมๆ      เน้นการไม่เชื่อ   

            มหาวิทยาลัยวิจัย ต้องหาทาง outbreed และ cross breed ให้มากที่สุด     เพื่อให้เกิด hybrid vigor     และเกิดนวัตกรรม หรือสิ่งใหม่     สิ่งใหม่ ไม่ได้เกิดขึ้นจากคนที่เหมือนกันมาอยู่ร่วมกัน    เช่นผู้ชายอยู่ร่วมกับผู้ชาย จะไม่เกิดสิ่งใหม่     ต้องมีคนที่ต่างกัน เช่นผู้หญิงอยู่ร่วมกับผู้ชาย จึงจะเกิดสิ่งใหม่      นี่คือคำของ ศ. นพ. ประเวศ วะสี   

วิจารณ์    พานิช
๒๖ ก.ค. ๕๐  ปรับปรุง ๓๐ ก.ค. ๕๐          

หมายเลขบันทึก: 117247เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2007 10:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท