การทดลอง เปลี่ยนน้ำขุ่น เป็น น้ำใส


สวัสดีครับหนูน้อย

      วันนี้มาเรียนรู้การเปลี่ยนน้ำขุ่นให้เป็นน้ำใสกันนะครับ

วัตถุประสงค์

  1. ศึกษาการเปลี่ยนน้ำขุ่นให้เป็นน้ำใส เพราะน้ำขุ่นมองไม่เห็นว่ามีอะไรอยู่บ้าง น้ำใสจะเห็นโปร่งใส ไม่มีหมกเม็ด

  2. ศึกษาการเจือจางน้ำขุ่น ด้วยน้ำใส

  3. อื่นๆ หนูน้อยคิดกันต่อนะครับ

อุปกรณ์การทดลอง

  1. น้ำขุ่น จำนวน 1 บิกเกอร์ใหญ่

  2. น้ำใส จำนวน 1 บิกเกอร์ใหญ่

  3. ช้อนตวงน้ำ จำนวน 1 คัน

  4. บิกเกอร์ใหญ่ ว่างเปล่า จำนวน 1 บิกเกอร์

การทดลอง มีวิธีการดังนี้

  1. ใช้ช้อนตวง ตักน้ำขุ่น หนึ่ง ช้อนตวง ใส่ลงใน บิกเกอร์เปล่า

  2. ตักน้ำใส หนึ่งช้อนตวงใส่ในบิกเกอร์น้ำขุ่น

  3. วนทำซ้ำข้อ 1 และ 2 จนน้ำในบิกเกอร์ใส่หมด

ผลการทดลอง...และผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ให้หนูๆ สรุปกันว่า การทดลองนี้ มีไว้เพื่ออะไร เกิดประโยชน์อย่างไร สอนอะไรหนูๆ บ้าง

  2. หนูๆ จะประยุกต์ใช้การทดลองนี้ ในชีวิตจริงได้อย่างไรบ้าง

  3. หนูๆ ใส่เพิ่มเองนะครับ

ข้อแนะนำเพิ่มเติม

  1. หนูๆ แนะนำเพิ่มเติมได้ ว่ามีวิธีการอื่นในการเปลี่ยนน้ำขุ่นเป็นน้ำใส่ได้ไหม หากไม่มีบิกเกอร์ว่างเตรียมไว้ไห้ หนูๆ จะออกแบบการทดลองอย่างไร

  2. หนูๆ จะแทนน้ำขุ่นและน้ำใส ด้วยสิ่งใดในสังคม เพื่อความสมดุลครับ

  3. อื่นๆ หนูๆ เพิ่มเติมได้ครับ

 คำถามท้ายการทดลองเพิ่มเติม

  1. น้ำในสามบีกเกอร์มีความเข้มข้น และเจือจางเหมือนหรือต่างกันต่างไร

  2. สังคมสองสังคมมาอยู่ร่วมกันได้ไหม สังคมไหนดีกว่า หรือมีข้อดีข้อด้อยอย่างไร

  3. อื่นๆ ถามและตอบตัวเอง และแลกเปลี่ยนได้ที่ด้านล่างนะครับหนูๆ

ขอบคุณมากครับ

หมายเลขบันทึก: 116638เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2007 16:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 18:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะคุณเม้ง

รีบมาตอบการทดลองค่ะ เลยไม่ได้ล็อกอิน

การทดลองนี้มองได้หลายแบบเลยนะคะ และ " คม " มากเลย...แต่ขออนุญาตมองแบบ " ต่างมุม " ไปอีกนิดนะคะ เพราะเราน่าจะนำไป " ประยุกต์ใช้ " ในสังคมได้บ้าง ตามคำถามท้ายบทที่คุณเม้งทิ้งท้ายไว้

การใส่ " น้ำดี " เพื่อแก้ไข หรือทำให้ " น้ำขุ่น " นั้นมีคุณภาพดีขึ้น เป็นสิ่งที่เรา ควรกระทำ อย่างน้อยก็ทำให้คุณภาพน้ำดูดีขึ้น และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ตามสมควร

แต่สิ่งที่ " น่าจะทำ " มากกว่านั้นคือการ " จัดการกับปัญหา " ที่ทำให้น้ำขุ่น อย่างเช่นการทดลองที่คุณเม้งกำหนดให้มีบิ๊กเกอร์สองใบ ใบหนึ่งน้ำขุ่น ใบหนึ่งน้ำใส

ถ้าเราเอาน้ำขุ่นใส่สลับกับน้ำใสในบิ๊กเกอร์ใบที่สาม เราอาจพบว่าต้องใช้ปริมาณน้ำใสมากกว่าน้ำขุ่นเยอะเพื่อทำให้เจือจาง ( ก็ไม่ได้บอกนี่คะว่า " ขุ่น " ระดับใด อิ อิ อิ ) และน้ำที่ผ่านการเจือจางก็อาจจะไม่มีคุณภาพเพียงพอแก่การใช้งานได้ ถ้าน้ำขุ่นนั้นขุ่นเกินไป ขุ่นข้นจน " น้ำใส " ที่มีไม่สามารถทำให้เจือจางลงจนอยู่ในระดับ " ใช้งาน " ได้น่ะค่ะ

เมื่อเป็นแบบนี้เราก็อาจจะสูญเสีย " น้ำใส " ไปจนหมด  แต่ได้น้ำที่มีคุณภาพที่ไม่ดีเพียงพอมาสองบิ๊กเกอร์ ( ขุ่นสองบิ๊กเกอร์ )

แต่ถ้าเรามีการ " จัดการ " ที่ " สาเหตุ " ของน้ำขุ่น  ร่วมด้วย เราอาจไม่ต้องเสียน้ำใส ไปทั้งหมดก็ได้นะคะ และไม่จำเป็นต้องมี บิ๊กเกอร์ที่สาม มาใส่เพื่อเจือจางน้ำ  อย่างเช่นการใส่สารบางอย่างที่มีคุณสมบัติทำให้น้ำขุ่นนั้นใสขึ้นได้ เช่น สารส้ม ซึ่งมีลักษณะ ขาว แข็ง และก่อให้เกิดการรวมตัวของอานุภาคขนาดใหญ่ในน้ำจนเกิดการ " ตกตะกอน " และทำให้คุณภาพของน้ำขุ่นดีขึ้น โดยไม่ต้องเสียน้ำใสในอีกบิ๊กเกอร์ไป  รวมทั้งเราสามารถนำ " ตะกอน " ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ต่อได้อีกตามสมควร ( อย่างบันทึกรวมตะกอนเด็ด เป็นต้น ฮี่ ฮี่ ฮี่ )

ผลที่ได้รับคือเราอาจเสียสารส้มไปนิดหน่อย แต่ได้ " น้ำใส " สองบิ๊กเกอร์ ซึ่งสามารถอยู่ร่วมกันได้และได้ตะกอนมารวมเป็นตะกอนเด็ดๆอีกหลายๆบันทึก อิ อิ อิ

การทดลองนี้จึงสามารถสรุปผลการทดลองได้ว่า...การเอา " น้ำดี " เจือจางเป็นสิ่งที่ควรกระทำ ร่วมกับการ " จัดการ " กับสาเหตุที่ทำให้น้ำขุ่น เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุดเจ้าค่ะทั่น

 

P
สวัสดีครับคุณเบิร์ด
  • สบายดีนะครับผม ขอบคุณมากๆ เลยนะครับผมที่มาฝากข้อความเห็นคมๆ ไว้ให้บาดสมองกลายเป็นแผลทางปัญญายิ่งนักครับ
  • ดีมากๆ เลยครับ ในการทดลองนี้เป็นน้ำขุ่น ซึ่งคิดว่าน่าจะเป็นน้ำที่ตกตะกอนได้ครับ ซึ่งคุณเบิร์ดก็แนะนำสารส้มแกว่งแล้ว จะต้องใช้ปริมาณเท่าไหร่ดีครับ เพราะน้อยไปก็ตกตะกอนช้า แต่ดีกว่าไม่แกว่งๆหรือเปล่าครับ แต่หากแกว่งนานไปก็เปรี้ยวไป ได้รสชาดปะแล่มๆ ตะกอนนั้นอาจจะเป็นประโยชน์ ดังตะกอนในบทความตะกอนก็ดีเลยครับ อิๆๆ จะได้กลายเป็นประโยชน์กับพืชต่อไปครับ
  • แต่หากเราอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่มีสารส้มต้องทำไงดีครับ ตั้งนิ่งๆ จะตกตะกอนไหมครับ ในการทดลองของคุณเบิร์ดถือว่าสารส้มเป็นสารดีที่เข้าไปทำให้น้ำขุ่นกลายเป็นน้ำดีขึ้นได้ เพราะหากดื่มน้ำขุ่น อาจจะทำให้ไตทำงานหนักใช่ไหมครับ หรือว่าจะใช้น้ำดีไว้ดื่ม น้ำขุ่นไว้ใช้ครับ
  • ว่าแล้วทำให้ผมนึกถึงบ่อน้ำนม ในหน้าแล้งครับ สมัยก่อนทางใต้แล้งจัดเรามักจะดื่มน้ำจากบ่อน้ำนมนี่หล่ะครับ ต้องไปตักเบาๆ เอามาแล้วแกว่งสารส้มครับ หรือจะผ่านการกรองด้วยวิธีการต่างๆ ก็ได้ครับ
  • หากเราจะทิ้งในบีกเกอร์ที่ขุ่นให้ใสเองจะเป็นอย่างไรหนอครับ หากบีกเกอร์นี้เป็นสังคม หรือชุมชนหนึ่งที่ขุ่นอยู่ตลอด จะมีโอกาสไหมครับ ที่จะมีโอกาสใสได้ด้วยตัวเค้า อาจจะต้องใช้สารส้มอย่างที่คุณเบิร์ดว่า หรือไม่ก็ใส่น้ำดี เติมเข้าไปให้เกิดความสมดุล
  • คราวนี้ หากเปลี่ยนน้ำขุ่นเป็นน้ำสีหล่ะครับ ที่ไม่มีวันตกตะกอนครับ เราจะทำไงดีครับ แบบน้ำเฮลท์บลูบอย นะครับ
  • ปัญหาแบบที่มีข้อจำกัดต่างๆ แล้วทำให้คนคิดผมว่าปัญหาแนวนี้ เป็นปัญหาจรรโลงปัญญาอย่างยิ่งครับ มาเถิดพี่น้อง มาลองจำกัดจำลองปัญหาเพื่อฝึกลับสมองให้มีการสร้างปัญญาเอาไว้ใช้ในยามคับขันครับ
  • ท่านอื่นๆ มีความเห็นอย่างไรบ้างครับ
  • ขอบคุณ คุณเบิร์ดมากๆ เลยครับ

การทดลองนี้จึงสามารถสรุปผลการทดลองได้ว่า...การเอา " น้ำดี " เจือจางเป็นสิ่งที่ควรกระทำ ร่วมกับการ " จัดการ " กับสาเหตุที่ทำให้น้ำขุ่น เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุดเจ้าค่ะทั่น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท