ทำบุญเข้าพรรษา


วันหยุดติดกันหลายวัน จึงได้ร่วมกับเพื่อนๆตระเวนทำบุญกัน

 สำหรับสัปดาห์ปลายเดือน  ที่มีวันหยุดติดกันรวม  4  วัน

            ในปีนี้วางแผนว่าจะเดินทางไปทำบุญร่วมกับเพื่อน  จึงได้ออกเดินทางไป ช่วงสายๆของวันเสาร์  มุ่งหน้าเข้าสู่จังหวัดลพบุรี  

      ถือโอกาสไปเยี่ยม เพื่อนๆและครอบครัว   ที่ไม่ได้ไปมาหาสู่กันมาหลายปี  จึงได้มีโอกาสไปวันบุญทั้ง 2 วัน คือ วันอาฬาหบูชา             และวันเข้าพรรษา ณ วัดซาก   ของชุมชนบ้านหินสองก้อน 

จังหวัดลพบุรี

            ในช่วงที่ทำบุญนั้น พบว่ามีผู้คนหลั่งไหลกันมาทำบุญเป็นจำนวนมาก  และพร้อมใจถวายผ้าอาบน้ำฝนและเทียนเข้าพรรษา , ถวายหลอดไฟฟ้า  ทำให้อิ่มบุญมาก  และ เชื่อว่า ชาวโกทูโนคงจะได้เดินทางไปทำบุญในที่ต่างๆ ด้วยเช่นกัน จึงได้นำความรู้เกี่ยวกับวันสำคัญของพุทธศาสนา  มาฝากด้วยค่ะ

วันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา คือ วันที่พระสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ แห่งใดแห่งหนึ่ง ตลอดระยะเวลาที่ฤดูฝนมีกำหนด 3 เดือนตามพระวินัยบัญญัติ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น โดยทั่วเรียกกันว่า จำพรรษา

        วันเข้าพรรษา กำหนดเป็น 2 ระยะ คือ

1. ปุริมพรรษา คือ วันเข้าพรรษาต้น ตรงกับวันแรม 1 ค่ เดือน 6 ของทุกปี

2. ปัจฉิมพรรษา คือ วันเข้าพรรษาหลัง สำหรับปีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน ตรงกับวันแรม 1 คำ เดือน 8 หลัง

ประวัติของวันเข้าพรรษา

        ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบัญญัติพระวินัยให้พระสงฆ์สาวกอยู่ประจำพรรษา เหล่าภิกษุสงฆ์จึงต่างพากันออกเดินทางเผยแผ่พระพุทธศาสนาในที่ต่างๆ โดยไม่ย่อท้อทั้งในฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ต่อมาชาวบ้านได้พากันติเตียนว่า พวกสมณะไม่ยอมหยุดพักสัญจรแม้ในฤดูฝนในขณะที่นักบวชในศาสนาอื่น พากันหยุดเดินทางในช่วงฤดูฝน การที่พระภิกษุสงฆ์จาริกไปในที่ต่างๆ แม้ในฤดูฝน อาจเหยียบยำข้าวกล้าของชาวบ้านได้

รับความเสียหาย หรืออาจไปเหยียบยำโดนสัตว์เล็กสัตว์น้อยที่ออกหาจินจนถึงแก่ความตาย เมื่อพระพุทธเจ้าทราบเรื่อง จึงได้วางระเบียบให้ภิกษุประจำอยูที่วัดเป็นเวลา 3 เดือน พระสงฆ์ที่เข้าจำนำพรรษาแล้วจะไปค้างแรมที่อื่นไม่ได้ แต่หากมีกรณีจำเป็น 4 ประการต่อไปนี้ ภิกษุผู้อยู่พรรษาสามารถไปค้างที่อื่นได้ โดยไม่ถือว่าเป็นการขาดพรรษา

แต่ต้องกลับมาภายในคระยะเวลา 7 วัน คือ

1. ไปรักษาพยาบาลภิกษุ หรือบิดามารดาที่เจ็บป่วย

2. ไประงับไม่ให้ภิกษุสึก

3. ไปเพื่อกิจธุระของคณะสงฆ์

4. ทายกนิมนต์ไปฉลองศรับธาในการบำเพ็ญกุศลของเขา

ประโยชน์ในการเข้าพรรษาของพระภิกษุสงฆ์

1. พระภิกษุสงฆ์จะได้พักผ่อนหลังจากที่เดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นเวลานาน

2. เพื่อให้พระสงฆ์มีเวลาศึกษาพระธรรมวินัยมากขึ้น

3. เพื่อเปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้บำเพ็ญกุศล

หมายเลขบันทึก: 115924เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2007 20:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 19:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • สวัสดีครับ
  • มาเก็บเกี่ยวความรู้ในอีกบรรยากาศของการสื่อสาร
  • เข้าพรรษา... คราใด
  • คิดถึงผืนนาเจิ่งนองด้วยน้ำท่าและต้นข้าวออกใบเรียวเขียวงามเป็นที่สุด ...
สวัสดีค่ะ  คุณ
P
แผ่นดิน    น่าแปลกใจค่ะ ช่วงเข้าพรรษาในปีนี้  ชาวบ้านบ่นฝนไม่ตก แห้งแล้ง ทุ่งนาข้าวไม่เขียว  ชาวนากังวลว่าจะได้ซื้อข้าวกินหรือเปล่า สำหรับทางภาคอีสาน
แต่เมื่อเดินทางเข้าสู่เส้นทางภาคกลาง น่าประหลาดใจมาก ฝนตกตลอดเส้นทาง ชุ่มเย็น
 ทำไมท้องฟ้าไม่ประทานน้าให้กับชาวไร่ ชาวนาบ้างน้อ

ขอบคุณมากนะคะคุณที่มงลุง

ที่มาเยี่ยม

ขอให้คุณมีความสุขค่ะ

ให้ความรู้เรื่องวันเข้าพรรษา ๒ ระยะไม่ถูกต้อง หาความรู้ในเรื่องนี้ให้ดี ๆ เสียก่อนนำมาลง จะทำให้เข้าใจผิดกัน

ด้วยความขอบคุณ ในการเสนอแนะความคิดเห็น

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท