Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

มีคนไร้สัญชาติที่ภูฏานด้วยนะคะ


ข่าวนี้ทำให้เราทราบว่า ชาวเขาในภูฏานก็มีสถานะเป็นชนกลุ่มน้อย แต่เราไม่ทราบว่า ไร้รัฐหรือไม่ ? ไร้สัญชาติหรือไม่ ? แต่คนเชื้อสายเนปาลนั้นคงไร้สัญชาติซินะ ตามข่าวที่บอกเรา ถ้าเราแก้ปัญหาคนไร้รัฐคนไร้สัญชาติได้ในประเทศไทย ก็คงมีคนมาดูงานที่เมืองไทย และเรียนรู้บทเรียนจากประเทศไทย เอ...ฝันไปไหมเรา

ข่าวในไทยรัฐบอกเราว่า ในการซ้อมเลือกตั้งในวันที่ 21 เม.ย.2550 ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งจริงในปี 2551 อันเป็นการเลือกตั้งในระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของภูฏาน  บรรดาผู้ลี้ภัย ถือเป็นชาวภูฏานที่อยู่นอกประเทศราว  100,000 คน ต่างเรียกร้องขอโอกาสในการเดินทางกลับประเทศเพื่อมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งครั้งนี้

รายงานระบุผู้ลี้ภัยเหล่านั้นนอกเหนือจากชนกลุ่มน้อยที่เป็นชาวเขาทางภาคกลางและตะวันออกของภูฏาน ส่วนใหญ่มีเชื้อสายเนปาลนับถือศาสนาฮินดูที่เข้ามาอาศัยอยู่ในภูฏานช่วงศตวรรษ 19 ก่อนถูกขับไล่และเนรเทศออกนอกประเทศในปี 2533 เนื่องจากภูฏานเกรงคนเชื้อสายเนปาลเหล่านี้จะมีอิทธิพลเหนือคนและวัฒนธรรมภูฏานแท้ๆ เหมือนดังเช่นชาวจีนที่เข้ามาครอบงำทิเบต ช่วงนั้นภูฏานพยายามตัดไฟแต่ต้นลม โดยการเผาหนังสือเรียนภาษาเนปาล และกีดกันศาสนาและวัฒนธรรมเนปาล  ทำให้เกิดการเดินขบวนประท้วงนับหมื่นคน  และขับออกนอกประเทศกลายเป็นคนไร้สัญชาติในที่สุด.

-----------------------------------------

ภูฏานซ้อมเลือกตั้ง ผู้ลี้ภัยขอมีส่วนร่วม [20 เม.ย. 50 - 04:27]

ไทยรัฐ ปีที่ 58 ฉบับที่ 18087 วันจันทร์ ที่ 30 กรกฎาคม 2550

http://www.thairath.co.th/news.php?section=international&content=44237

------------------------------------------

หมายเลขบันทึก: 115722เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2007 21:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 13:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อาจารย์ขา สวัสดีค่ะ หนูเป็นลูกศิษย์อาจารย์ หนูเคยเจอกับอาจารย์ครั้งหนึ่งแล้ว ประมาณเดือนพฤศจิกายน ปี 50  ที่ทำเนียบรัฐบาล อาจารย์จำได้ไหมคะ ก็จะขอมาติดตามหาความรู้จากอาจารย์ใน gotoknow ด้วยนะคะ ตอนนี้หนูไม่ได้อยู่เมืองไทยแล้วค่ะ หนูลาติดตามสามีมาออก      ประจำการอยู่ที่ประเทศบังคลาเทศ ซึ่งมีเขตอาณาครอบคลุมถึงประเทศภูฏานด้วยค่ะ พอเห็นหัวข้อนี้ของอาจารย์ก็รีบเข้ามาดูเลยค่ะ เพราะเกี่ยวกับงานของสามีหนูค่ะ หนูอาจจะช่วยงานเค้าได้บ้าง หากทางนี้มีข่าวอะไรเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้หนูจะมาเล่าให้อาจารย์ฟังนะคะ 

ล่าสุด  เมื่อเร็วๆนี้ ประมาณวันที่ 20 มกราคม 2551 ก็มีเหตุการณ์ลอบวางระเบิดขึ้นใน 4 เมืองรอบๆ กรุงทิมพูค่ะ เกิดความเสียหายเล็กน้อย มีผู้บาดเจ็บที่ขาเป็นผู้หญิงชาวภูฏาน 1 คน  โฆษกฯกรมตำรวจของภูฏานออกมาให้ข่าวว่า ผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ดังกล่าวอาจจะเป็น 1 ในกลุ่มผู้ติดอาวุธจำนวน 3 กลุ่มได้แก่ กลุ่มที่ 1. Bhutan Tiger Force กลุ่มที่ 2 คือ Bhutan Maoist Party กลุ่มที่ 3 คือ The ฉommunist Party  of Bhutan ซึ่งเป็นกลุ่มติดอาวุธที่มี ความเชื่อมโยงกับชนกลุ่มน้อยชาวเนปาลด้วยค่ะ 

หวังว่าอาจารย์แหวว คงสบายดีนะคะ ตอนนี้งานที่สถานทูต ณ กรุงธากา ฯ ก็มีประเด็นเกี่ยวกับกฎหมายมุสลิมค่ะ ที่จริงหนูมาที่นี่ในฐานะผู้ติดตามแต่สามีก็ให้ช่วยงานบ้างค่ะ  มีกรณีผู้หญิงไทย ถูกชาวบังคลาเทศทำร้าย อยากจะหย่าโดยจะขอให้สามีจ่ายค่าเลี้ยงดู และค่าดูแลบุตรให้ แต่เนื่องจาก เค้าได้จดทะเบียนกันตามกฎหมายแล้ว(อันนี้สามีหนูยังไม่แน่ใจข้อมูลว่าจดกันตามกฎหมายไทยหรือ บังคลาเทศนะคะ ) สมมุตินะคะ สมมุติว่าจดกันตามกฎหมายที่นี่(บังคลาเทศ) อย่างนี้ สิทธิและหน้าที่ของผู้หญิงคนนี้ก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายครอบครัวมุสลิมใช่ไหมคะ   คราวนี้ ที่สถานทูต ก็ไม่มีใครเป็นนักกฎหมาย ที่จะรู้กฎหมายมุสลิมค่ะ หนูบังเอิญไปเดินเจอหนังสือกฎหมายมุสลิมมาก็เลยซื้อมาให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องศึกษาต่อไปค่ะ(ช่วงก่อนหน้านั้น สามีหนูทำงานแทนเจ้าหน้าที่กงสุลตัวจริงอยู่ค่ะ ที่จริงทำการเมือง ไม่ได้ดูกงสุลค่ะ) อาจารย์พอแนะนำ ใครที่ทราบเกี่ยวกับกฎหมายมุสลิมไหมคะ หนูจะได้ไปขอความรู้จากท่านนั้นๆ ค่ะ  ขอบคุณนะคะ แต่หากอาจารย์ยุ่งๆ ไม่เป็นไรนะคะ หนูก็แค่อยากรู้ไปเรื่อยๆน่ะค่ะ

หากอาจารย์มีธุระ ต้องเดินทางมาที่ประเทศนี้ ขอให้ส่งข่าวให้หนูทราบบ้างนะคะ จะได้ไปดูแลอาจารย์ค่ะ รักและเคารพอาจารย์แหววเสมอนะคะ......จากลูกศิษย์อาจารย์ที่ชอบเรียนวิชาคดีบุคฯ มากมากค่ะ (หนูรุ่นปี36 ค่ะ)   

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท