ปลาหมอแคระ


ปลาที่มีนิสัยก้าวร้าว
ปลาหมอที่คนทั่วๆ ไปรู้จักและเข้าใจกันว่า เป็นปลาที่มีนิสัยก้าวร้าว ดุร้าย ชอบทำลายต้นไม้น้ำในตู้ปลาที่ผู้เลี้ยงตั้งใจจัดตกแต่ง ให้ตู้ปลาของตนเองดูสวยงาม และเป็นธรรมชาติ ที่สำคัญคือ มักจะขอบไล่กัดกันเอง เพราะปลาหมอเป็นปลาที่หวงที่อยู่อาศัย ของตัวเองมาก ด้วยเหตุนี้ผู้เลี้ยงมักจะเข้าใจพฤติกรรมของปลาหมอไปในทางเดียวกัน แต่อย่าเพิ่งรีบด่วนตัดสินใจเชื่อนะครับ เนื่องจากปลาหมอที่มีนิสัยไม่ดุร้าย และไม่ชอบทำร้ายข้าวของก็ยังมี เดี๋ยวผมจะพาไปทำความรู้จักกับบรรดาปลาหมอสีที่น่ารักเหล่านี้ ปลาหมอแคระ เป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ลุ่มแม่น้ำอเมซอน ทวีปอเมริกาใต้เป็นแม่น้ำที่ไหลผ่านหลายๆประเทศ และยังเป็นแม่น้ำที่หลายๆคน แค่ได้ยินชื่อก็ขยาดในความน่ากลัวและความลึกลับของแม่น้ำในป่าอเมซอนแล้ว แต่คุณทราบไหมว่าในแม่น้ำอเมซอนที่ทุกคนกลัวกันนั้น มีสิ่งที่สวยงามและมหัศจรรย์ซ่อนอยู่มากมาย หนึ่งในนั้นคือปลาหมอแคระนี่เองครับ ปลาหมอแคระมีมากมายหลายสกุล แต่ที่ผมอยากจะชวนคุณมาทำความรู้จักกันในวันนี้คือ ปลาหมอแคระในตระกูลสกุลอพิสโตแกรมมา ( Genus Apistogramma ) เป็นปลาหมอแคระที่ได้รับความนิยมสูงสุดในบรรดาปลาหมอแคระที่อยู่ในลุ่มแม่น้ำนี้

ตู้ที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงปลาหมอแคระนี้ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นตู้ที่มีขนาดใหญ่มาก ๆ แต่ถ้าจะให้ดีก็อย่าให้เล็กกว่า 24 นิ้วสำหรับเลี้ยงปลา 1 คู่เป็นใช้ได น้ำที่จะใช้เลี้ยงอพิสโตแกรมมา หากเป็นน้ำที่มาจากแหล่งน้ำ
ธรรมชาติไม่มีส่วนผสมของคลอรีนก็สามารถที่จะนำไปใส่ตู้ปลาได้ แต่ถ้าน้ำที่จะใช้เลี้ยงปลาเป็นน้ำประปาที่มีคลอรีนเป็นส่วนผสม อาจจะต้องพักน้ำไว้ก่อนประมาณ 1 – 2 วัน หรือซื้อยาปรับสภาพน้ำมาใส่ลงไปในน้ำทิ้งไว้ประมาณ 1– 2 ชั่วโมง จึงจะสามารถนำปลาใส่ลงไปได้อย่างไรก็ตามสิ่งที่จะต้องคำนึงถึงมากที่สุดก็คือเรื่องความ สะอาดของน้ำที่จะใช้เลี้ยงปลา โดยเฉพาะน้ำที่มาจากแหล่งน้ำธรรมชาติ

หมอแคระสกุลอพิสโตแกรมมามีสายพันธุ์มากกว่า 60 สายพันธุ์ และเป็นปลาที่มีขนาดเล็กเพียง 5 - 12 ซม. เท่านั้น วิธีการเลี้ยงปลาหมออพิสโตแรมมามีวิธีเลี้ยงที่เรียกได้ว่าเกือบจะตรงกันข้ามกับการ เลี้ยงปลาหมอสีทั่วๆไป เช่นปลาอพิสโตแกรมมาจะชอบพื้นที่ที่มีต้นไม้น้ำมากๆคุณสามารถที่จะสร้างสรรค์ ตู้ปลาของคุณให้เป็นเหมือนป่าดงดิบขนาดเล็กๆ ในตู้ปลาของคุณได้โดยที่ไม่ต้องกังวลว่าต้นไม้น้ำของคุณจะถูกปลาทำลาย

อย่างที่กล่าวมาตั้งแต่ต้นว่าปลาหมออพิสโตแกรมมา เป็นปลาที่ไม่ดุร้าย แต่เมืออยู่ในช่วงผสมพันธุ์ปลาตัวผู้จะมีอาการดุร้ายบ้างนิดหน่อย เพื่อเป็นการอวดตัวเองให้ปลาตัวเมียเห็น ในช่วงผสมพันธุ์ปลาจะมีสีสันสวยงามเป็นพิเศษ ตัวผู้ก็จะคอยรำแพนครีบสวยอวดตัวเมีย ส่วนตัวเมียก็จะง่วนอยู่กับการหาสถานที่วางไข่

อาหารของปลาอพิสโตแกรมมาจเป็นอาหารที่มีขนาดค่อนข้างเล็ก เช่น พวกไรแดง ไรทะเล เป็นต้นในการให้อาหารปลาของคุณจะต้องนำไปล้างน้ำให้สะอาดก่อนจึงจะให้ปลากิน เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้มีสิ่งสกปรกลงไปปะปนอยู่กับน้ำ อาจทำให้ปลาเป็นโรคหรือ ทำให้น้ำในตู้เน่าเสียง่ายและเร็วขึ้น นั่นเองครับ อาหารประเภทอาหารสำเร็จรูปสำหรับปลาหมอคุณก็สามารถที่จะนำไปให้ปลากินได้เช่นกัน แต่ต้องเป็นอาหารของปลาที่มีขนาด เล็กนะครับ การให้อาหารปลาคุณควรจะให้อาหารปลา วันละประมาณ 2-3 มื้อ เพื่อให้ปลาชินกับเวลาให้อาหาร
วิธีการเลี้ยงปลาหมอสกุล Apistogramma

ปลาหมอสีเป็นปลาที่มีวิธีการเลี้ยงง่าย ๆ ไม่ต้องพิถีพิถันมากเหมือนพวกปลาทองที่จะมีความยุ่งยากมากกว่าคนส่วนใหญ่ที่เลี้ยง ปลามักจะนิยมเลี้ยงปลาในบ่อหรืออ่างบัว แต่ปลาจำพวกปลาหมอสีนั้นในการเลี้ยงจะต้องเลี้ยงในพื้นที่ที่มีความกว้างสักหน่อยใน การเลี้ยงปลาหมอสิ่งที่ผู้เลี้ยงจะต้อคำนึงถึงก็คือ

1. น้ำสะอาด เป็นสิ่งที่จะต้องคำนึงถึงเป็นอย่างแรก เนื่องจากน้ำที่นำมาใช้เลี้ยงปลา บางครั้งอาจจะมีสิ่งสกปรกปะปนมากับน้ำด้วยก็ได้ หากนำปลาลงไปใส่อาจจะทำให้ปลาเป็นโรคหรืออาจจะตายได้ ดังนั้นน้ำที่จะนำมาใช้สำหรับการเลี้ยงปลานั้นจะต้องมั่นใจว่าเป็นน้ำสะอาดจริง ๆเช่น หากจะเลี้ยงปลาโดยใช้น้ำประปา จะต้องนำน้ำมาพักไว้อย่างน้อย 2 – 3 วัน เพื่อให้คลอรีนที่ผสมมากับน้ำมีความเจือจางลง

2. อาหาร ในการเลี้ยงปลาจะต้องทราบว่าปลาชนิดไหนชอบกินอะไรเป็นอาหาร ปลาหมอเป็นปลาที่กินอาหารสดที่ยังมีชีวิต เช่น กุ้งฝอย ไรทะเลหรือหนอนแดง เป็นต้น เนื่องจากปลาหมอเป็นปลาที่มาจากที่ต่าง ๆ ของโลกและในแต่ละสายพันธุ์ก็มีความต้องการในเรื่องของอาหารที่แตกต่างกันด้วย หากเป็นปลาหมอแคระหรือปลาหมอที่มีขนาดเล็กก็จะกินอาหารจำพวกพืชขนาดเล็กหรือ ตะไคร่น้ำที่เกาะอยู่ตามก้อนหิน ดังนั้น อาหารที่เหมาะสมกับปลาหมอชนิดหนึ่งอาจจะไม่เหมาะสมกับปลาหมอสีอีกชนิดหนึ่งก็ได้ ส่วนอาหารสำเร็จรูปก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้เลี้ยงปลาหมอสีอาหารบางชนิดทำจากอาหารที่มีชีวิต แต่นำมาอบแห้งให้ปลากินซึ่งคุณค่าทางอาหารก็ยังมีอยู่ครบถ้วน เช่น หนอนแดงอัดเม็ดหรืออาจจะเป็นอาหารที่เหมาะสมกับประเภทและชนิดของปลาโดยเฉพาะ อย่างไรก็ตามจะต้องคำนึงถึงความสะอาดเป็นหลักด้วยโดยเฉพาะอาหารประเภทอาหารสด เช่น พวกลูกน้ำหรือไรแดงที่ไปช้อนหรือตักตามแหล่งน้ำสกปรกต่าง ๆ จะต้องนำไปล้างน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้งก่อนที่จะนำไปให้ปลากิน ถ้าหาอาหารที่นำไปให้ปลากินสกปรก มีเชื้อโรคปะปนอยู่ ปลาอาจจะเป็นโรคหรือตายได้

3. อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงปลาหมอ ในการเลี้ยงปลาหมอผู้เลี้ยงจะต้องคำนึงถึงอุณหภูมิที่เหมาะสมด้วยทั้งภายในและภายนอกตู้ปลา เนื่องจากปลาหมอเป็นปลาที่มาจากหลาย ๆประเทศทั่วโลก ซึ่งอุณหภูมิของแต่ละประเทศจะมีความใกล้เคียงกันหรืออาจจะมีความแตกต่างกันก็ได้ปลาหมอส่วนใหญ่จะ มีถิ่นที่อยู่อาศัยอยู่ใกล้บริเวณ เส้นศูนย์สูตร ซึ่งมีอากาศและอุณหภูมิที่ใกล้เคียงกับอุณหภูมิในประเทศไทย ดังนั้นปลาหมอจึงไม่ชอบอาศัยอยู่ในน้ำที่เย็นจัดปลาหมอสีจะอาศัยอยู่ในน้ำที่มีอุณหภูมิระหว่าง 24 – 30 องศาเซลเซียส ที่สำคัญคือจะต้องควบคุมน้ำให้มีอุณหภูมิคงที่อยูตลอดเวลาหรือให้มีความแตกต่างกันน้อยที่สุด หาอุณหภูมิของน้ำมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยจะส่งผลให้ปลาจะต้องปรับสภาพร่างกายตามอุณหภูมิของ น้ำที่เปลี่ยนแปลงบางครั้ง อาจจะทำให้ปลาช็อคตายได้ ปัจจุบันมีเครื่องมือที่ช่วยวัดอุณหภูมิของน้ำในตู้ปลาเพื่อให้ทราบถึงอุณหภูมิของน้ำในขณะนั้น
หมายเลขบันทึก: 115101เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2007 15:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 10:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท