พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (โดยสรุป)


พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์(โดยสรุป)

พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำผิดความเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (โดยสรุป) 

            วันที่ 18 กรกฎาคม 2550 เป็นวันแรกที่ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 เริ่มมีผลบังคับใช้ หลังจากที่ให้เวลาเตรียมตัวกันมากกว่า 30 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือ เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2550

            พ.ร.บ. ฉบับนี้แบ่งเป็นสองส่วนหลัก คือ หมวดที่ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และหมวดที่ว่าด้วยอำนาจหน้าที่และบทบาทของเจ้าหน้าที่    เรามาร่วมด้วยช่วยกันหาทางให้ตัวคุณและตัวเอง ให้รอดพ้นจากคุกจากตะรางด้วยการหลีกเลี่ยงการกระทำที่ชี้ชัดหรือน่าจะขัดต่อ พ.ร.บ. ฉบับนี้ ถ้ารู้แจ้งกระจ่างแล้วก็อย่าลืมเตือนคนรอบข้างด้วย  
แฮกเกอร์ระวังตัว           
            
พ.ร.บ. ฉบับนี้ถือเป็นอุปสรรคสำคัญของบรรดาแฮกเกอร์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะมือใหม่ที่ชอบลองของ หรือมืออาชีพที่ทำกันเป็นจริงเป็นจัง ไปจนถึงผู้ใช้ทั่วไปที่บังเอิญติดนิสัยถือวิสาสะด้วยความเคยชิน แอบเปิดคอมพิวเตอร์ของเพื่อนของเจ้านายเพื่อการใดบางอย่าง
            
มาตรา 5 ระบุว่า ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบ ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ           
            
มาตรา 7 ระบุว่า
ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้ง "ปรับ            แฮกเกอร์หรือพวกมือดีชอบแอบก๊อปปี้ขโมยข้อมูลของบริษัทออกไป โดยไม่ได้รับอนุญาตจะโดนคดีอาญายอมความไม่ได้ แถมติดคุกสูงสุดตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 2 ปี ปรับสูงสุดอีกตั้งแต่ 10,000 - 40,000 บาท ตามแต่ละมาตรา โดยความผิดจะแยกเป็นสองส่วน คือ การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ กับการเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ            ความจริงก่อนหน้านี้มีคนเสนอให้รวมสองมาตราเข้าด้วยกัน แต่ว่าแยกกันอย่างนี้ดีแล้ว จะได้จัดการพวกมือบอนได้อยู่หมัด คือ ถ้าแค่แอบเปิดเครื่องเพื่อใช้งานทั่วไป ก็โดนมาตรา 5 แต่ถ้าถึงขั้นแอบเข้าดูหรือขโมยข้อมูลด้วย ก็โดนมาตรา 7 ไปเต็มๆ ติดใจอยู่คำเดียวคือ ....ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ....นั่นหมายถึงว่าถ้าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นหรือข้อมูลไฟล์นั้นๆ ไม่มีการล็อกป้องกันความปลอดภัยเอาไว้ ก็อาจไม่เข้าข่ายความผิดตามมาตราทั้งสองได้            ฉะนั้นถ้าคอมพิวเตอร์เครื่องดังกล่าวไม่มีการตั้งรหัสผ่านหรือมาตรการป้องกันอย่างอื่น คือ เปิดปุ๊บเข้าได้ปั๊บ นั่นหมายถึงว่าใครก็เข้ามาใช้ได้โดยไม่มีความผิด หรืออย่างไฟล์ข้อมูลทั้งเวิร์ด และเอ็กซ์เซลที่บันทึกไว้ในเครื่อง แต่ไม่ได้ใส่รหัสผ่านป้องกันการเปิดไฟล์ แล้วโดนมือดีแอบขโมยไป ก็ถือว่าไม่มีความผิด แล้วถ้าเอาโทรศัพท์มือถือไปซ่อมแต่กลับโดนแอบโหลดรูปถ่ายลับเฉพาะส่วนตัวออกไปจากเครื่องโทรศัพท์ ซึ่งไม่ได้ใส่มาตรการป้องกันอะไรเอาไว้ จะถือเป็นความผิดเพราะในที่นี้ ความหมายร่วมถึงข้อมูลทุกชนิดที่อยู่ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ ภาพถ่ายบนโทรศัพท์มือถือ บนกล้องดิจิตอล ไฟล์เพลงเอ็มพีสาม ฯลฯ ล้วนเข้าข่ายเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ทั้งหมด
คำเตือนถึงพวกมือบอน ชอบลองของสร้างไวรัส 
           ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา เห็นไวรัสสายพันธุ์ไทย ๆ จำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไวรัสประเภทติดต่อผ่านแฟลชไดรฟ์ สร้างความรำคาญให้กับผู้ใช้จำนวนมากในประเทศไทย เพราะโค้ตที่ใช้ก็เป็นวิชวลเบสิกธรรมดา เขียนง่าย เข้าใจง่าย เลยทำให้หลายคนอยากลองของ คนที่ชอบลองของในทางที่ผิดพวกนี้ มาอ่านมาตราต่อไปนี้ให้ดีและทำความเข้าใจให้ดี 
           มาตรา 9 ระบุว่า ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติม ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ           
          
มาตรา 10 ระบุว่า
ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับการกระทำประเภทมือดีแอบลบไฟล์คนอื่น สร้างไวรัสที่ทำลายข้อมูล หรือมีการแก้ไขข้อมูลบางส่วน รวมไปถึงการกระทำที่มีผลให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ไม่เป็นไปตามปกติด คือ ถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวน พวกนี้โดนเล่นงานหมด 
           ฉะนั้น บรรดาผู้ที่ชอบสร้างไวรัสทั้งหลายที่มีการแก้ไขข้อมูลคอมพิวเตอร์ (มาตรา 9) และมีการฝังตัวเองและทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานช้าลง (มาตรา 10) รับรองว่าหนีไม่พ้นแน่นอน ยังดีที่ใน พ.ร.บ. ฉบับนี้มีการปรับปรุงเพิ่มใส่ข้อความว่า โดยมิชอบเข้าไป เพราะทีแรกบรรดาผู้พัฒนาซอฟต์แวร์หนาวกันเป็นแถว เพราะถ้าเกิดซอฟต์แวร์มีบั๊กจนทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานไม่ได้ หรือร้านซ่อมคอมพิวเตอร์ที่ซ่อมแล้วผิดพลาด จนไปขัดขวางการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ เพราะถ้าไม่มีคำว่า "โดยมิชอบ" อาจมีโอกาสผิดในมาตรานี้ได้
            มาตรา 9 และมาตรา 10 และลองอ่านมาตรา 12 ดูก่อน 
            มาตรา 12 ระบุว่า ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10        
         
(1) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือในภายหลัง และไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
           
      
(2)  เป็นการกระทำ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ    หรือบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้ เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท
            เรียกว่าถ้าความเสียหายส่งผลกระทบในวงกว้าง เจอความผิดสองครั้งในมาตรา 12 แน่นอน 
คำเตือนถึงชาวเน็ต : โพสต์กระทู้ ฟอร์เวิร์ดเมล์ แอบอ้างใส่ร้ายป้ายสีออนไลน์ ฯลฯ           
          
มาตราเด็ดที่พวกใช้อินเทอร์เน็ตต้องพึงระลึกเอาไว้ห้ามลืม คือ
           มาตรา 14 ระบุว่า ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ           
            
(1)  นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
           
             
(2)  นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
           
             
(3)  นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
           
              
(4)  นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
           
             
(5)  เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1) (2) (3) หรือ (4)
มาตรานี้อันตรายมากสำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่มีพฤติกรรมดังต่อไปนี้:
              
Ø    ชอบโพสต์แสดงความคิดเห็นกันแบบสุดขั้ว ยกเมฆข้อมูลโคมลอย
กล่าวอ้างแบบไม่มีหลักฐาน
              
Ø   นักฟอร์เวิร์ดเมล์ทั้งหลาย ที่เจออะไรก็ส่งต่อไปหาคนอื่นอีกเป็นสิบ
เป็นร้อย
              
Ø    พวกที่จัดทำหรือเผยแพร่เว็บไซต์ลามกอนาจาร รวมไปถึงเพื่อน ๆ 
                  ผู้หวังดีที่ฟอร์เวิร์ดอีเมล์ ซึ่งมีภาพลามกอนาจารให้แก่หนุ่ม ๆ สาว ๆ
                  จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับอีกไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
แถมให้อีกกระทงสำหรับพวกมือบอนชอบตัดต่อภาพถ่ายคนโน้นมาแปะกับบางส่วนของคนนี้ ระวังเจออาญาติดคุกไม่รู้ตัว           
           
มาตรา 16 ระบุว่า
ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ แต่งเติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ            ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด
ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้         
           
ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย
     ส่วนบรรดาเจ้าของเว็บไซต์ที่ให้คนโน้นคนนี้มีโพสต์ภาพ โพสต์ไฟล์วิดีโอ หรือบรรดาเว็บทอเรนต์สัญชาติไทยทั้งหลาย อย่าคิดว่าไม่ได้เป็นคนโพสต์เองแล้วจะไม่มีความผิดนะ           
        
มาตรา 15 ระบุว่า
ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา 14 ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา 14  มาตรา 15 นี้คงทำเอาเว็บไซต์ชุมชนอย่าง pantip.com ปวดหัวได้ไม่น้อยทีเดียว เพราะเสี่ยงเหลือเกินกับการที่จะต้องหาทางพิสูจน์ให้ได้ว่า ตัวเองไม่ได้สนับสนุน และไม่ยินยอมให้มีการโพสต์ข้อความอันน่าจะเข้าข่ายตามมาตรา 14 อย่างอิสระ   แต่ที่แน่ๆ บรรดาเว็บโหลดภาพ เว็บทอเรนต์ลามกอนาจารทั้งหลายผิดแน่นอน 
อีเมล์ขยะ....อีเมล์ไวรัส มาตราชวนปวดหัว            
            มาตรา 11 ระบุว่า ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่น โดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว      อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท ดูเหมือนมาตรานี้จ้องเล่นงานบรรดาสแปมเมล์หรืออีเมล์ขยะก่อกวนทั้งหลาย แต่ลองดูสถานการณ์เหล่านี้ประกอบ
          
v   ถ้า นาย ก. ส่งอีเมล์ขายสินค้าก่อกวนผู้ใช้ทุกวัน วันละเป็นร้อยฉบับ แต่แจ้งชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ชัดเจน และไม่มีการปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูล... อย่างนี้ก็ไม่ต้องรับโทษ??
          
v   ถ้าบังเอิญเครื่องคอมพิวเตอร์ของ นาย ข. ติดไวรัสหรือเวิร์ม ซึ่งสามารถส่งอีเมล์พร้อมไวรัสออกไปรบกวนผู้ใช้คนอื่นๆ ได้โดยอัตโนมัติและมีการปลอมแปลงสลับชื่อผู้ส่งไปมาเป็นว่าเล่น (ซึ่งเป็นพฤติกรรมปกติของเวิร์ม) อย่างนี้จะเข้าข่ายมาตรา 11 หรือไม่ ?   อย่างนี้ในกรณีแรกอย่างมากก็คงแค่โทรไปต่อว่า แต่สำหรับกรณีที่ 2 นี่สิ ถ้าเกิดเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณโดนไวรัสขึ้นมาจริง ๆ และดันมีคนที่ไม่เข้าใจในพฤติกรรมของไวรัส แต่กลับมาฟ้องร้องทุกข์เอาผิดอาญากับคุณ    ใครต้องเป็นคนพิสูจน์จะพิสูจน์ยังไงว่าโดนไวรัสจริงหรือไม่
            ถ้าบังเอิญ นาย ข. รู้ตัว และจัดการกำจัดไวรัสหรือเวิร์มตัวนั้น ๆ ไปแล้ว หรือไม่ก็จัดการฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์เสียใหม่ แต่บังเอิญโชคดีสุดๆ โดนฟ้องขึ้นมา จะเอาหลักฐานอะไรไปยืนยันว่า ตัวเองไม่ได้ส่งอีเมล์ออกไปด้วยตัวเอง แต่เป็นเพราะไวรัสคอมพิวเตอร์??
            ฝากไว้คิดชวนปวดหัวเล่น.... ปิดท้าย          ความจริงเรื่องของ พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ยังไม่จบ คนที่ปวดหัวไม่ได้มีแต่ผู้ใช้เท่านั้น แต่รวมไปถึงผู้ให้บริการด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรา 28 ที่ระบุให้ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่า 90 วัน โดนกันเป็นแถวตั้งแต่ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ ไอเอสพี ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ (เพราะมือถือเดี๋ยวนี้ก็เล่นเน็ตได้) ฯลฯ แถมข้อมูลดังกล่าวก็ยังไม่รู้ว่าจะต้องจัดเก็บอะไรบ้าง ซึ่งก็คงต้องรอการออกกฎเกณฑ์ระบุเพิ่มเติมต่อไป ต้องบอกว่า     พ.ร.บ. ฉบับนี้ถือเป็นการพลิกโฉมหน้าวงการคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยครั้งใหญ่ทีเดียว.... ถ้าบังคับใช้กันได้จริง!!!            ในส่วนของผู้ใช้ .. ต่อไปนี้อาจจะต้องระมัดระวังตัวเองให้มากขึ้นอีกสักนิด โดยเฉพาะคนที่ชอบโพสต์ ชอบส่งต่อ ของดีของโดนอะไรทั้งหลาย 

อ้างอิง : หนังสือ Winmag Commart ฉบับที่ 168

                                                         Chalida B. แก้ไข รวบรวม เรียบเรียง

หมายเลขบันทึก: 114655เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2007 08:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขอบคุณมากครับ  สำหรับข้อมูลดี ๆ อย่างนี้   คราวนี้พวกเราต้องคอยระวังด้วยนะครับ ในสำนักงานของเรา คอมพิวเตอร์ที่ต่อ Net อยู่ ต้องสามารถบอกได้ว่า "ใครใช้เครื่องใหน" เพราะหากเกิดปัญหาแล้วไม่สามารถหาได้ว่าใครเป็นผู้ใช้เครื่องที่ก่อปัญหา  ความรับผิดชอบจะตกอยู่กับตัวหน่วยงานหรือผู้ดูแลระบบทันที........

เป็นข้อมูลที่ดีมากครับ เพราะผมก็ทำงานด้านเว็บไซต์อยู่

ขอบคุณนะคะ ถ้ามีสิ่งที่มีประโยชน์อย่างอื่นอีกจะนำมาเผยแพร่ต่อไปค่ะ ขอบคุณนะคะที่เป็นกำลังใจ

ขอบคุณมั๊กมากนะคะสำหรับข้อมูล

ดีมากค้าบเยี่ยมมากอ่านแล้วแจ่มจากเด็กป.6จริงๆ

ข้อมูลดีมากเลยครับ มีมาตราเสริมบอกรายละเอียดพร้อมความเข้าใจ ^^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท