วงสนทนาของผู้รู้(อาลิม) : ถามก่อนลงโทษ


    เมื่อเช้าวันอาทิตย์ผมมีสอนอยู่สองกลุ่ม ช่วงเช้าเป็นกลุ่มผู้หญิง และช่วงบ่ายเป็นกลุ่มผู้ชาย ทั้งสองกลุ่มเป็นวิชาเดียวกัน คือ จิตวิทยาการศึกษา และในวันนั้นประเด่นหนึ่งที่ได้อภิปรายกับ น.ศ. คือ การลงโทษ เพราะหลายคน(มากๆ)ที่ยังข้องใจเกี่ยวกับระเบียบของกระทรวงที่ออกมาว่า ห้ามตีเด็ก และบางคนได้ยกหะดีษ(คำสอนจากนบี)ว่าให้ ตี เลยจำเป็นต้องอภิปรายยาวหน่อย เพื่อทำความเข้าใจ ไม่อยากให้เกิดความรู้สึกว่า จำใจทำที่รัฐกำหนด เพราะจริงๆแล้ว ทั้งศาสนาและระเบียบของกระทรวงมันไปด้วยกันได้ ถ้าเรารู้เรื่องการลงโทษอย่างแท้จริง (รายละเอียดผมตั้งใจจะเขียนลงใน Learners.in.th ให้นักศึกษาได้ทบทวน)

    หลังจากที่สอนเสร็จก็รีบไปเข้าร่วมวงสนทนากับแขกจากอิซิซโกตามที่ได้กล่าวมาในตอนที่แล้ว

       ในวงสนทนานั้น ท่านก็ถามอธิการว่าวันนี้สอนอะไร(ปกติทุกวันเสาร์และอาทิตย์อธิการจะสอนชาวบ้าน ที่เรียกว่า Majlis Ilmi บางส่วนของบทเรียนทีท่านสอนผมได้รวบรวมนำเสนอไปในหน้า http://intan.sci-yiu.net)

    ท่านอธิการก็เล่าเรื่องที่ท่านสอน เกียวกับมัคโลก(สิ่งที่อัลลอฮฺสร้าง)3 ชนิด
        คือ มะลาอิกะฮฺ ญินหรือิบลิส และ มนุษย์

        อัลลอฮฺได้สร้างอาดัม(มนุษย์)มาจากดิน และได้สอนอาดัมให้รู้ชื่อต่างๆ และอัลลอฮฺทดสอบ ทั้งมะลาอิกะฮฺและอาดัม โดยให้บอก ชื่อ ของสิ่งต่างๆ ปรากฎว่า มะลาอิกะฮฺ ตอบ ไม่ได้ และ อาดัมตอบได้  บทเรียนตรงนี้ ทำให้เราทราบว่า ความรู้ถ้าไม่ได้รับการอนุมัติจากพระเจ้า(อัลลอฮฺ)แล้ว ก็จะไม่ได้รับในความรู้นั้น และจะพยายามเพียงใดก็ตาม

        หลังจากนั้น อัลลอฮฺ ก็ได้สร้างให้ทุกคนทั้งมะลาอิกะฮฺและอิบลิส ก้มกราบ อาดัม มะลาอิกะฮฺกราบ แต่อิบลิส ไม่กราบ

        มะลาอิกะฮ ทำตามคำสั่ง ส่วน
        อิบลิส ขัดคำสั่ง .. ทั้งๆที่รู้อยู่ว่าอิบลิส ขัดคำสั่ง แต่อัลลอฮฺ ไม่ได้ลงโทษทันที่ อัลลอฮฺ ถามอิบลิสว่า..

    قَالَ يَا إِبْلِيسُ مَا لَكَ أَلاَّ تَكُونَ مَعَ السَّاجِدِينَ [الحجر : 32]
   
    "อัลลอฮฺตรัสว่า โอ้อิบลิส อะไรทำให้เจ้าไม่ร่วมกับผู้ที่สูญูด(กราบ)"

    จากจุดตรงนี้ ทำให้เราในฐานะที่เป็นครูหรือผู้ปกครอง นำไปใช้ในกระบวนการปรับปฤติกรรมเด็กได้ เมื่อเด็กทำผิดก่อนที่เราจะลงโทษเด็กเราต้องถามให้ชัดเจนก่อนว่าเขาทำเขาทำเช่นนั้น เพราะบางครั้งเด็กเองก็ไม่อยากทำแต่ทำไปเพราะเหตุจำเป็น เพราะแม้แต่พระเจ้าที่รู้อยู่ว่าอิบลิสทำไปด้วยโอหัง ถือตนว่าดีกว่า เลยไม่ยอมทำตามคำสั่ง อัลลอฮฺก็ยังไม่ลงโทษทันที
        
หมายเลขบันทึก: 114015เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2007 10:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 20:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ถ้าอ่านจากบันทึกนี้เหมือนกับว่า ญินจะไม่ดีทั้งหมดเพราะวงเล็บว่า(อิบลิส) แต่ที่รู้มา ญินที่ดีก็มีไม่ใช่หรือเฉพาะส่วนที่ไม่ดีเท่านั้นที่เรียกว่าอิบลิส ไม่ทราบว่าความจริงเป็นเช่นไร รบกวนถามเพื่อความชัดเจนค่ะ

ขอบคุณ ผู้ไม่รู้ มากครับ ที่มาทักที่ผมเขียนไปคลุมเครือ
        ในสูเราะฮฺ อัล-กัฮฟี อายัตที่ 50 อัลลอฮฺกล่าวว่า
.. وَإِذْ قُلْنَا لِلْمَلَائِكَةِ اسْجُدُوا لِآدَمَ فَسَجَدُوا إِلَّا إِبْلِيسَ كَانَ مِنَ الْجِنِّ فَفَسَقَ عَنْ أَمْرِ رَبِّهِ أَفَتَتَّخِذُونَهُ وَذُرِّيَّتَهُ أَوْلِيَاء مِن دُونِي وَهُمْ لَكُمْ عَدُوٌّ بِئْسَ لِلظَّالِمِينَ بَدَلاً [الكهف : 50]
          ความว่า : และเมื่อเราได้กล่าวแก่มลาอิกะฮ์ว่า จงสุญูดคารวะต่ออาดัมพวกเขาก็แสดงคารวะเว้นแต่อิบลิส มันอยู่ในจำพวกญิน ดังนั้น มันจึงฝ่าฝืนคำสั่งของพระผู้เป็นเจ้าของมัน แล้วพวกเจ้าจะยึดเอามันและวงศ์วานของมัน เป็นผู้คุ้มครองอื่นจากข้ากระนั้นหรือหรือ? ทั้งๆ ที่พวกมันเป็นศัตรูกับพวกเจ้า มันช่างชั่วช้าแท้ๆ ในการแลกเปลี่ยนสำหรับพวกอธรรม 
             อายัตนี้ทำให้เข้าใจได้ทันทีว่า อิบลีส นั้นมาจาก ญิน
            ชัฮรุน อิบนุ ฮูชิบ ได้กล่าวว่า : อิบลิสมาจากญิน เมื่อมัน(อิบลีส)ได้สร้างหายนะบนพื้นโลก อัลลอฮฺก็ได้ส่งทหารที่มาจากมะลาอิกะฮฺ ไปรบกับพวกเขา และได้เนรเทศกักขังเขาที่เกาะกลางทะเล และอิบลิส คือ ตัวหนึ่งที่ถูกจับ  มะลาอิกะฮฺได้นำพร้อมกับเขาไปบนทชั้นฟ้า เมื่อถูกสั้งให้ สุญูด (กราบ)มันก็ปฎิเสธ
           อิบนุมัสอูด และอิบนุอับบาส และคนอื่นๆ ได้กล่าวว่า : อิบลิส เป็นมะลาอิกะฮฺ บนโลก มีชือว่า อะซาซีล จากรายงานนี้ทำให้ทราบอีกว่า มีผู้กล่าวว่า อิบลิส คือ มะลาอิกะฮ
           แต่ ฮะซัน บัศรีย์ กล่าวกว่า : อิบลิสไม่ใช่มะลาอิกะฮฺโดยเด็ดขาด
           สรุป คือ อิบลิส คือ ญิน ที่ได้ ขัดขืนคำสั่งของอัลลอฮฺ
           แต่มี ญิน จำนวนหนึ่งที่ศรัทธาในอัลลอฮฺ ดังที่ อัลลอฮฺได้ตรัสในอัลกุรอาน ในสูเราะห์ อัล-ญิน ว่า
 
قُلْ أُوحِيَ إِلَيَّ أَنَّهُ اسْتَمَعَ نَفَرٌ مِّنَ الْجِنِّ فَقَالُوا إِنَّا سَمِعْنَا قُرْآناً عَجَباً يَهْدِي إِلَى الرُّشْدِ فَآمَنَّا بِهِ وَلَن نُّشْرِكَ بِرَبِّنَا أَحَداً
 
ความว่า : จงกล่าวเถิดมุฮัมมัดว่า ได้มีวะฮีย์ยฺมายังฉันว่า แท้จริงพวกญินจำนวนหนึ่งได้ฟังฉัน (อ่านกุรอาน) และพวกเขากล่าวว่า แท้จริงเราได้ยินกุรอานที่แปลกประหลาด นำไปสู่ทางที่ถูกต้อง ดังนั้นพวกเราจึงศรัทธาต่ออัลกุรอานนั้น และเราจะไม่ตั้งสิ่งใดเป็นภาคีต่อพระเจ้าของเรา

 จากความคิดเห็น จขกท.

. ".....และได้เนรเทศกักขังเขาที่เกาะกลางทะเล....."

เป็นไปได้ไหมคะว่า เกาะกลางทะเลที่ว่า จะเกี่ยวข้องกับ สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา ดินแดนลึกลับที่ยังเป็นปริศนาจนทุกวันนี้

พอจะมี อายะห์ หรือซูเราะห์ ไหนบ้างคะที่พูดถึงดินแดนที่คล้ายกับสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา

ไม่ทราบว่า การลงโทษต้องตีได้ไม่เกิน สามไม้ใช่ไหมครับตามหลักศาสนา   อยากให้อธิบายด้วยครับ  แล้วเมื่อโดนลงโทษต้องมีเหตุผลอย่างไรบ้างครับ
สวัสดีครับ ครูวิต ..

ไม่ทราบว่าครูวิตทราบจากไหนครับว่าการลงโทษโดยการตีนั้นต้องไม่เกินสามทีหรือสามไม้

จริงๆ เรื่องนี้ผมเขียนไว้นานแล้วแต่ยังไม่เคยแพร่ สัญญากับนักศึกษาว่าจะแขวนไว้ใน Learners.in.th ก็ยังไม่ได้โอกาสสักที เมื่อครูวิตถามมาตรงนี้ ก็ ขอยกบางส่วนมา

ถ้าครูหรือพ่อแม่จำเป็นต้องใช้วิธีการลงโทษในการปรับพฤติกรรมเด็กแล้ว อิสลามอนุญาตให้ลงโทษได้แต่ต้องคำนึงขั้นตอนต่อไปนี้

1.        ครูหรือผู้ปกครอง จะลงโทษโดยการตีได้ต่อเมื่อใช้วิธีการอื่นไม่ได้ผลแล้ว

2.        อย่าตีในระหว่างที่ผู้ตีอยู่ในอารมณ์โกรธ

3.        ต้องให้เด็กรู้ทุกครั้งว่าจะตีเขาด้วยเหตุผลใด

4.        อย่าตีในบริเวณที่อาจเป็นอันตรายแก่เด็ก หรือสร้างความเจ็บปวดมากเกินควร เช่น บริเวณศีรษะ ใบหน้าหน้าอกหรือท้องเป็นต้น

5.        การตีในระยะแรกๆนั้น ควรตีไม่แรง หรือไม่สร้างความเจ็บปวด และควรตีที่มือหรือขาที่ปกปิด เด็กที่ยังไม่บรรลุศาสนภาวะ(บาลีฆ : ประมาณระดับประถม) ไม่ควรตีเกิน 3 ที สำหรับเด็กที่บรรลุศาสนภาวะแล้วถ้าตี 3 ทีแล้วไม่ได้ผล ต้องตีไม่เกิน 10 ที เว้นแต่การตีนั้นเป็นการลงโทษทางอาญา เช่น ฮุดูดหรือ ตะอซีซ

6.        อย่าตีเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 10 ปี เพราะนบีได้กล่าว

เจ้าจงใช้ให้ลูกหลานของเจ้าละหมาดเมื่อเขาอายุ 7 ขวบ และจงเฆี่ยนตีพวกเขาด้วยสาเหตุเมื่อเขาอายุ 10 ” (รายงานโดย อะบูดาวูด และอัลฮากิม)

แต่ก่อนจะลงโทษให้คำนึ่งถึงสิ่งต่อไปนี้ก่อน

  1. ตักเตือนก่อน พูดคุยอย่างอ่อนโยน มีเมตตาต่อเด็ก ที่สำคัญที่สุดครูต้องการให้เด็กเป็นอย่างไร ครูต้องทำก่อนเป็นแบบอย่าง(Model) ที่ดี
    อิมามมาลิก ได้เขียนไว้ในหนังสือ อัลมุวัตเฎาะ ว่า การสังสอนลูกโดยวิธีรุนแรงและแข็งกร้าวนั้น จะทำให้เด็กเกิดการท้อแท้ อึดอัด เฉื่อยชา ขี้เกียจ และจะกลายเป็นคนพูดโหก กลัว เกลียด ต่อต้าน ... ในที่สุดจะติดเป็นนิสัยและหมดสิ้นความหมายของการเป็นมนุษย์
  2. ต้องคำนึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ความสามารถของแต่ละคนนั้นอัลลอฮฺให้มาไม่เหมือนกัน บางคนมีความสามารถมาก บอกอะไร สั่งอะไร ก็สามารถทำได้ทันที แต่บางคนต้องบอกหลายๆครั้ง ครูหรือผู้ปกครองจะถือเป็นเกณฑ์เดียวกันกับทุกคนไม่ได้ เพราะตรงนี้ไม่ใช่เป็นการตัดสินแพ้ชนะ แต่เราต้องช่วยเด็กให้เจริญงอกงามสู่จุดหมายที่เราวางไว้ให้ได้มากที่สุด
  3.  อิมามฆอซาลีกล่าวว่า ครู ก็เหมือนหมอ เด็กก็เหมือนคนไข้ ในการให้ยาแก่คนไข้นั้นไม่ควรให้ยาแรง ถ้าให้ยาแรงๆ อาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ การลงโทษก็เช่นกันควรลงโทษเบาๆก่อน ถ้าเด็กเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วก็เป็นอันจบสิ้น

ตอบผู้ไม่รู้

เท่าที่ผมศึกษายังไม่เจออายัตหรือหะดีษใดที่ชี้ว่าตรงนั้นคือที่กับขังอิบลิส ซึ่งจริงๆแล้ว ตรงสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา นั้นลึกลับยังไงก็ยังไม่มีใครพิสูจน์ชัดเจนได้ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นแค่สันนิฐาน(เดา) เท่านั้น

ขอบคุณสำหรับคำตอบมากครับ  เป็นสิ่งที่ดีสำหรับผมจะได้นำไปใช้ต่อไปครับ

วันนี้คลิ๊กๆดู ก็พบว่ายังไม่ได้ยกหลักฐานที่ห้ามตีเกินสิบทีหรือสิบไม้ และเรื่องนี้ผมได้เขียนลงใน www.almustofa.com แล้วด้วย พอจะยกมาตรงนี้ดังนี้ครับ

สิ่งที่ครูควรระวัง คือ ในการตีเด็กแต่ละครั้งควรจะนับจำนวนที่ตีด้วย โดยการตีไม่ควรเกินสิบทีหรือสิบไม้ เว้นแต่ในกรณีการลงเทศทางอาญา(ฮุดูด) 

              รายงานจากอะบีบะรฺดะฮฺ อัลอันศอรี ว่า ได้ยินท่านเราะซูลุลลอฮฺกล่าวว่า...

" لا يُجلد أحدٌ فوق عشرة أسواط إلا في حد من حدود الله " . رواه البخاري ( 6456 ) ومسلم ( 3222 ) . 

            ความว่า เจ้าอย่าตีคนใดคนหนึ่งเกินกว่าสิบที เว้นแต่ในเรื่องที่อัลลอฮฺได้กำหนด(ฮุดูด) บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ที่ 6456 และมุสลิมที่ 3222   

             จากรายงานของ อัลบุคอรีย์ที่ 6457

" لا عقوبة فوق عشر ضربات إلا في حدٍّ من حدود الله " . 

             ความว่า อย่าลงโทษเกินกว่าตีสิบที เว้นแต่ในเรื่องที่อัลลอฮฺได้กำหนด  

            อับนุก็อยยิม เราะฮิมะฮุลลอฮฺ- ได้กล่าวว่า ..     
           
การท่านนบี(ศอลฯ)ได้กล่าว่า

" لا يضرب فوق عشرة أسواط إلا في حد من حدود الله "    

             ความว่า อย่าลงโทษเกินกว่าตีสิบไม้ เว้นแต่ในเรื่องที่อัลลอฮฺได้กำหนด

            ถ้าเกินสิบไม้นั้นทำได้ในกรณีที่เป็นการลงโทษทางอาญาที่เป็นสิทธิของอัลลอฮฺ   

            และที่ว่าตีได้และห้ามเกินสิบไม้นั้น เช่น สามีจะตีสั่งสอนภรรยาของตน บ่าวทาส ลูก หรือลูกจ้าง เพื่อเป็นการสั่งสอน จะตีนเกินกว่าสิบไม้ไม่ได้ และนี้เป็นแนวทางที่ดีที่สุดที่หะดีษได้กำหนดมา 

           จริงแล้วการตี(หรือการลงโทษ)ไม่ใช่วิธีการเดียวที่จะกระตุ้นให้เด็กขยันในการอ่านหนังสือหรือกระทำดี ครูหรือผู้ปกครองควรจะผสมผสานกันระหว่างวิธีการเสริมแรงและการลงโทษเพื่อให้ได้สิ่งที่พึงประสงค์ เช่น ชมเชยนักเรียนเรียนดีและสนับสนุนเขาด้วยการให้รางวัลหรือให้คะแนนที่สูง ส่วนนักเรียนที่ยังมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ให้ลงโทษเขาด้วยการให้คะแนนน้อยกว่าที่คนทำดี และพูดว่ากล่าวเป็นการคาดโทษ เป็นต้น  

            ที่สำคัญครูหรือผู้ปกครองจะต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของเด็กนักเรียนไม่ใช่ทำไปเพื่อการลงโทษเท่านั้น

อัลฮัมดุลิลละฮฺ...ชอบมากครับ อยากได้หนังสือรวบรวมเรื่องราวแบบนี้แล้วเชียวครับ

ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองและตอบแทนครับ

จากแรงกระตุ้นของอาจารย์ และลูกสาว ตอนนี้กำลังรวบรวมอยู่ครับ

การตีนักเรียนควรตีบริเวณใดเพราะเหตุใด

ขอหลักฐานด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท