Mr.CHOBTRONG
ผศ. สมศักดิ์ สถาบันวิจัยและพัฒนา ชอบตรง

การเสวนาเพื่อสร้างความสมานฉันท์


การเสวนา
การเสวนาเพื่อสร้างความสมานฉันท์                                                                                      อาจารย์พิชัย  สุขวุ่น           ตามที่สถาบันพระปกเกล้าร่วมกับกระทรวงยุติธรรมและกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  ได้จัดให้มี การสานเสวนาเพื่อสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติ เมื่อวันพุธ ที่ 22 พฤศจิกายน  2549  ณ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ โดยมีหนังสือถึงอธิการบดีให้เข้าร่วมประชุม เพื่อให้เสนอความคิดเห็นในแนวทางที่จะป้องกันความขัดแย้งโดยสันติวิธีและสมานฉันท์  ในการนี้ผมได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมประชุม เพื่อทำหน้าที่ให้ความเห็นเกี่ยวกับการสร้างความสมานฉันท์          ซึ่งก่อนการตอบหนังสือเพื่อยืนยันการเข้าร่วมประชุมทางผู้จัดได้ให้แสดงความจำนงในเบื้องต้น  ว่าจะเลือกร่วมแสดงความคิดเห็นกับกลุ่มใด โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย1)     การสร้างความสมานฉันท์ในมิติสังคม  การปกครองและความยุติธรรม2)     การสร้างเสริมความสมานฉันท์ในภาคใต้3)     การสร้างความสมานฉันท์ทางการเมือง4)     กลไก โครงสร้างและกระบวนการเสริมสร้างสมานฉันท์อย่างเป็นรูปธรรมผมจึงเลือกเข้าประชุมเพื่อแสดงความคิดเห็นในกลุ่มที่ 2 เพราะเห็นว่าเป็นมหาวิทยาลัยทางภาคใต้ควรรับรู้ปัญหาในระดับภูมิภาค  เพื่อใช้กระบวนการจัดการศึกษาร่วมแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้  และคงตรงกับเจตนาของผู้จัดประชุมที่ต้องการให้มหาวิทยาลัยมีส่วนรับรู้กับปัญหาในระดับพื้นที่และใช้ความรู้จัดการกับปัญหาในระดับเบื้องต้น ถึงแม้ว่ามหาวิทยาลัยเราจะห่างจากพื้นที่ปัญหาภาคใต้พอสมควร  แต่ถ้าหากมีพื้นฐานความเชื่อว่า เราล้วนเป็นเพื่อนเกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น  ไม่ว่าปัญหาของคนอื่น ๆ  จะอยู่ใกล้หรือไกลหากมีโอกาสช่วยผู้อื่น  ก็นับว่าเป็นอุดมการณ์อันแรงกล้าที่จะช่วยพัฒนาตัวเราเองและสังคมให้น่าอยู่ยิ่งขึ้นการประชุมเริ่มเวลา 08.30 น. โดยประธานในพิธีเปิด ได้แก่ รศ.ดร.ธีรภัทร  เสรีรังสรรค์  รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และบรรยายต่อโดยนายไพบูลย์  วัฒนศิริธรรม  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  และต่อด้วยนายชาญชัย                  ลิขิตจิตถะ  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม  ต่อจากนั้นเป็นการเสวนาจากผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมและแนวทางสมานฉันท์ประกอบด้วย ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์     รองปลัดกระทรวงยุติธรรม  รศ.ดร.โคทม  อารียา  สมาชิกสภานิติบัญญัติ ศ.นพ.วันชัย  วัฒนศัพท์  ผู้อำนวยการสันติวิธีและธรรมภิบาลจะเห็นได้ว่ารายชื่อที่กล่าวข้างต้นนี้ ล้วนแล้วแต่เป็นนักสมานฉันท์ในเชิงสันติวิธี และเป็นนักกฎหมายที่อธิบายกฎหมายในเชิงนิติปรัชญา มากกว่าเป็นการตีความกฎหมายโดยตัวอักษร และประกอบด้วยรัฐมนตรีที่สร้างความเชื่อมั่นได้ว่าภายใต้รัฐบาลชุดใหม่นี้ ความยุติธรรมจะต้องได้รับการดูแลอย่างจริงจัง  ซึ่งยุทธศาสตร์ความยุติธรรมก็เป็นนโยบายหนึ่งของรัฐบาลนี้การจัดงานสานเสวนาเพื่อความสมานฉันท์ของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย  ผมคิดว่าคงชดเชยจากความอยุติธรรมของสังคมที่สั่งสมมาเป็นเวลานาน  นาน ๆ ครั้งถึงจะมีรัฐบาลที่คิดเห็นตรงกันโดยไม่ต้องอ้างว่า เป็นรัฐบาลผสมที่ต้องให้เกียรติตัวแทนการเมืองจากหลายพรรค จึงไม่อาจทำนโยบายใด ๆ ได้โดยลำพัง เรื่องของความยุติธรรมจึงไม่ได้ปฏิรูปตลอดระยะเวลาของการพัฒนาประชาธิปไตย 70 กว่าปีที่ผ่านมา  อีกทั้งรัฐบาลชุดนี้ก็ได้เสนอตัวเข้ามาเพื่อสมานรอยร้าวของประชาชน ที่เคยแตกออกเป็นสองฝ่าย ระหว่างผู้สนับสนุนรัฐบาลและฝ่ายต่อต้าน  ผลของการสานเสวนาพอสรุปได้ดังต่อไปนี้1. สังคมไทยไม่มีความยุติธรรมอย่างแท้จริง เป็นเพียงแนวคิดในอุดมคติเท่านั้น แม้แต่เจ้าหน้าที่ที่รักษาความยุติธรรมก็มิได้ให้ความเป็นธรรมแก่ประชาชน กรณีนี้ หากเราศึกษาในทาง คติชนวิทยา  จะเห็นได้ว่าชุมชนในภาคใต้มีวิธีการจัดการกับความไม่ยุติธรรมของเจ้าหน้าที่รัฐในหลายรูปแบบ  ตั้งแต่ไม่ให้ความร่วมมือ ไปจนถึงจับอาวุธขึ้นต่อสู้ ทั้งแบบกองโจรและซึ่ง ๆ หน้า  ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้คงมีกรณีนี้อยู่บางเช่นกัน  ดังนั้น  หากรัฐเป็นผู้ทำลายความยุติธรรมเสียเองแล้ว  ประชาชนก็ไม่จำเป็นให้เกียรติรัฐอีกต่อไป  เกียรติแห่งความยุติธรรมจึงเป็นเกียรติสูงสุดของมนุษย์ที่ประเสริฐ เงินทองสมบัติใด ๆ  ก็ไม่เสมอเหมือน  จิตใต้สำนึกของมนุษย์ มักสร้างอนุสาวรีย์ให้กับผู้ที่มีความยุติธรรมเป็นพื้นฐาน  สรุปว่า รัฐมีปัญหาเสียเองเรื่องการรักษาความยุติธรรม2. ประชาชนยังไม่มีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรม นั่นแสดงว่ากระบวนการยุติธรรมยังตรวจสอบไม่ได้  คนอื่นให้ความเห็นไม่ได้  เดือดร้อนเป็นฟืนเป็นไฟ  ซึ่งเห็นได้จากหน้าจอทีวี  เมื่อตำรวจนายหนึ่งไม่ต้องการให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติที่เป็นสายวิชาการ  มาให้ความเห็นในการกระจายอำนาจของตำรวจและต้องการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม  โดยตอกกลับว่าคนอื่นจะรู้จักตำรวจมากกว่าตำรวจได้อย่างไร  ซึ่งความจริงไม่จำเป็นว่าใครต้องมีความรู้เรื่องใดอย่างเชี่ยวชาญ เพราะเชื่อว่าความรู้เป็นสมบัติสาธารณะ  คนอื่นมีสิทธิที่รู้มากกว่าเราหรือรู้ดีกว่าเราก็ได้  เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับปรัชญาการศึกษาด้วย  เพราะความรู้นั้นข้ามพรมแดนกันได้  ในข้อนี้แสดงให้เห็นว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนจะทำให้ความยุติธรรมเกิดขึ้นในทุกกระบวนการ ตั้งแต่กระบวนการหลักนิติธรรม  ซึ่งประกอบด้วย  ตำรวจ  อัยการ  และศาล  เป็นต้น3. สังคมไทยควรเพิ่มกระบวนการทางเลือกให้แก่กระบวนการยุติธรรม เพราะกระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก  ซึ่งประกอบด้วย ตำรวจ  อัยการ และศาลนั้น ไม่เพียงพอสำหรับรักษาความเป็นธรรมในสังคมได้  เนื่องจากสังคมไทยยึดกระบวนการนี้เพียงอย่างเดียว  จึงทำให้ระบบดังกล่าวมีเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอต่อการอำนวยความยุติธรรม  ประกอบกับเจ้าหน้าที่บางคนจงใจเบี่ยงเบนกระบวนการยุติธรรมด้วยแล้ว  ระบบดังกล่าวจึงรองรับไม่ไหว  เราจึงได้ยินกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทมากขึ้นในปัจจุบัน  เพราะเรื่องที่รอการตัดสินของศาลมีอยู่เป็นจำนวนมาก การรอศาลตัดสินเป็นเวลานานอาจทำให้ จำเลยไม่ได้รับความเป็นธรรมจากเงื่อนเวลาก็เป็นได้  กระบวนการทางเลือกในระบบยุติธรรม  จึงควรประกอบด้วย 1) ควรกระจายอำนาจในการออกกฎหมาย  2) ผู้ใช้กฎหมายต้องไม่บิดเบือนข้อกฎหมาย 3) ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก  (ได้กล่าวไปแล้วตอนต้น)  ที่ผมกล่าวมาทั้ง 3 ข้อ เป็นสาเหตุหลักที่จะต้องจัดประชุมสานเสวนาเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ  เพราะโครงสร้างทางสังคมที่สั่งสมมาเป็นเวลานานโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ปรากฏในกระบวนการยุติธรรม  ด้วยสาเหตุนี้  ทำให้ผู้กระทำความผิดไม่เกรงกลัวกฎหมายเพราะสามารถบิดเบือนกระบวนการนี้ได้  ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง  ปรากฏการณ์เช่นนี้นำไปสู่โครงสร้างทางสังคมโดยรวมของประเทศ โดยเอารัดเอาเปรียบกันต่างๆ นานา ทำให้ทรัพยากรสำหรับดำรงชีพตกอยู่ในมือของคนจำนวนส่วนน้อยซึ่งเป็นชนชั้นบนของสังคม  คนส่วนใหญ่ที่ยากไร้หรือสูญเสียโอกาสจึงสร้างเงื่อนไขต่างๆ นานามาต่อรอง  เมื่อเรียกร้องหรือประท้วงมากขึ้น ก็จะมีการปรับตัวระหว่างชนชั้นกันครั้งหนึ่ง  ซึ่งตรงกับทฤษฎีของคาร์ล  มาร์ก ที่สังเกตเห็นมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 และยังเป็นความจริงถึงปัจจุบันความจริงมนุษย์เข้าใจความยุติธรรมได้ไม่ยาก  นอกเสียจากจงใจบิดเบือนด้วยเหตุผลแห่งประโยชน์ส่วนตัว  เพราะคำว่ายุติธรรมมีความหมายตรงตัว คือ หยุดที่ธรรมะ ไม่ต้องไปหยุดกันที่ศาล  ธรรมะจะให้ความเป็นธรรมกับทุกชีวิตบนโลกนี้  ซึ่งปรากฏการณ์ธรรมชาติยุติธรรมที่สุด  คือใครทำถูกกฎก็ได้รับผลอย่างหนึ่ง ทำผิดกฎก็ได้รับผลอีกอย่างหนึ่ง ส่วนคนที่พยายามบิดเบือนกฎแห่งธรรมชาติโดยการไม่ทำงาน  แต่ต้องการทรัพยากรจากแรงงานของคนอื่น ก็จะผิดกฎความยุติธรรมทันทีในช่วงบ่ายของการประชุมก็ได้มีการแยกกลุ่มดังที่ผมได้แจ้งไว้ในตอนต้น  คือ ประสงค์ที่จะเข้ากลุ่ม การสร้างเสริมความสมานฉันท์ในภาคใต้  แต่เมื่อร่วมประชุมกลุ่มแล้ว ผมหมดสิทธิ์ที่จะได้แสดงความคิดเห็นแก่ที่ประชุม เพราะต้องยืนต่อแถวยาวมาก  และเวลาก็หมดลงก่อนที่จะถึงคิว ซึ่งผมต้องการแสดงความคิดเห็น 4 เรื่อง  คือ1) เราควรตีความศาสนากันในเชิงสมานฉันท์ โดยไม่ให้ผู้ก่อการนำไปบิดเบือนในนามของการก่อการร้าย2) ปรับทัศนะเกี่ยวกับการพัฒนาใหม่ว่าจะอยู่กันแบบพอเพียง  รวมทั้งท่าทีของรัฐต่อท้องถิ่นต้องเริ่มต้นส่งสัญญาณใหม่ ให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางของการพัฒนา3) ความยุติธรรมจากโครงสร้างรัฐ ต้องปรับปรุง  ไม่เช่นนั้นอาจถูกตอบโต้อย่างรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ  คล้ายกับเหตุการณ์ 11  กันยายน  25444) สร้างทัศนคติว่าเราทั้งหลายอยู่ร่วมกันได้ด้วยสันติวิธี  ไม่ใช่อยู่ร่วมเพื่อจะเอาเปรียบกันผมขอจบการนำเสนอรายงานการประชุมเพียงเท่านี้และขอขอบคุณสำหรับงบประมาณของมหาวิทยาลัยที่อนุมัติให้สำหรับค่าที่พัก  พาหนะ เบี้ยเลี้ยงและหวังว่าคงคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป  ขอให้ทุกคนเป็นคนรักความยุติธรรมแล้วสังคมเราจะน่าอยู่ครับ         
คำสำคัญ (Tags): #การเสวนา
หมายเลขบันทึก: 113829เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2007 16:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2012 15:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท