การฝึกอบรมซ้อมแผนรองรับภัยพิบัติน้ำท่วม ดินถล่ม


แผนรับภัยพิบัติ
 

          หลังจากแต่ละตำบลในจังหวัดน่านได้มีการจัดเตรียมแผนการรองรับภัยพิบัติแล้ว สสส.ได้สนับสนุนงบประมาณผ่านสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน เพื่อจัดฝึกอบรมและซ้อมแผนรองรับภัยพิบัติในส่วนของเครือข่ายชุมชนและองค์กรที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่ ซึ่งได้รับการสนับสนุนวิทยากรจากสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดน่าน ในการฝึกอบรมซ้อมแผนรองรับภัยพิบัติ

 

          วันนี้ (๑๗ ก.ค.๕๐) ทีมได้ซ้อมแผนที่อำเภอปัว ในพื้นที่ตำบลแงง และตำบลเจดีย์ชัย ณ อบต.แงง โดยมีกระบวนการดังนี้

 

            ๓.๑ การให้ความรู้เรื่องภัยพิบัติและการวางแผนรองรับภัยพิบัติโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อสร้างความตระหนักให้แก่ชุมชน รวมทั้งดูกรณีตัวอย่างการซ้อมแผนรับภัยพิบัติ

 

            ๓.๒ การซ้อมแผนรองรับภัยพิบัติ

 

                        ๑) การวัดปริมาณน้ำฝนและแจ้งข่าวเตือนภัย โดยมิสเตอร์เตือนภัยจำนวน ๒ คน

 

                        ๒) เมื่อมิสเตอร์เตือนภัยพบว่าปริมาณน้ำฝนที่วัดได้มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยหรือดินถล่ม จะต้องรีบไปแจ้งผู้ใหญ่บ้านหรือกำนันเพื่อประกาศแจ้งเตือนชาวบ้านเตรียมเก็บข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็นเพื่อการยังชีพและเตรียมการอพยพ และผู้ใหญ่บ้านหรือกำนันวิทยุแจ้งข่าวไปยังอบต. และอบต.จะแจ้งไปยังอำเภอ อำเภอจะแจ้งเครือข่ายการช่วยเหลือ ได้แก่ สถานีตำรวจ และโรงพยาบาล

 

                        ๓) มิสเตอร์เตือนภัยวัดปริมาณน้ำฝนต่อเนื่องทุกหนึ่งชั่วโมงในระยะเวลา ๒๔ ชั่วโมง เมื่อพบว่ามีการระดับน้ำฝนเกินปริมาณความเสี่ยงแล้วจะต้องรีบไปแจ้งต่อผู้ใหญ่บ้านหรือกำนันเพื่อประกาศแจ้งให้ชาวบ้านอพยพไปยังจุดปลอดภัย และนำหวูดสัญญานเตือนภัยแบบมือหมุนตะเวนไปตามชุมชนเพื่อแจ้งเตือนให้ชาวบ้านอพยพไปยังจุดปลอดภัย ผู้ใหญ่บ้านหรือกำนันวิทยุแจ้งข่าวไปยังอบต. และอบต.จะแจ้งไปยังอำเภอ อำเภอจะแจ้งเครือข่ายการช่วยเหลือ ได้แก่ สถานีตำรวจ และโรงพยาบาลเพื่อเข้ามาช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ต่อไป

 

                        ๔) ตำรวจจะจัดการจราจรให้สำหรับหน่วยกู้ภัย กู้ชีพเข้าไปช่วยเหลือประชาชน

 

                        ๕) หน่วยกู้ภัยกู้ชีพเข้าไปช่วยเหลือผู้บาดเจ็บไปส่งยังหน่วยปฐมพยาบาลเบื้องต้นหรือสถานีอนามัยหรือโรงพยาบาลต่อไป

 

            การซ้อมแผนรับภัยพิบัตินี้เป็นการสมมุติบทบาทกันเพื่อซักซ้อมความเข้าใจร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชาวบ้าน เพื่อว่าเมื่อเกิดสถานการณ์จริงจะได้ไม่สับสนวุ่นวาย และสามารถช่วยเหลือชาวบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย

คำสำคัญ (Tags): #น้ำท่วม
หมายเลขบันทึก: 113701เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2007 11:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 14:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท