วัยประถมศึกษา


ชีวิตในวัยเด็ก

วัยประถมศึกษา

ท่านเริ่มศึกษาขั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนรอชาดดีนีย์ ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชน โดยได้บันทึกความประทับใจต่อบุคลิกภาพของ ชัยค์มุฮัมมัด ซะฮ์รอน เจ้าของโรงเรียน เนื่องจากชัยค์เป็นผู้รู้ที่เคร่งครัดและเฉลียวฉลาด แม้ว่าวุฒิทางการศึกษาในระบบของท่านจะไม่ทัดเทียมกับอุลามาอ์ของทางราชการ แต่ปฎิภาน ลักษณะนิสัย มรรยาทและความเป็นนักสู้ ทำให้ท่านสร้างผลงานได้มากมาย ท่านสอนชาวบ้านที่มัสยิด สอนศาสนาแก่สตรีตามบ้าน ท่านก่อตั้งโรงเรียนแบบโรงเรียนกาตีบะต์เอกชนทั่วไปในยุคนั้นขึ้นมาราวปี ค.ศ. 1915 เพื่อให้การศึกษาแก่เยาวชนตามรูปแบบการศึกษาสมัยใหม่ ให้ทั้งความรู้และการขัดเกลาจรรยามารยาท รายวิชาที่ศึกษาก็มีความโดดเด่น โดยที่นอกเหนือไปจากวิชาที่สอนกันทั่วไปในขณะนั้นแล้ว ในคาบสุดท้ายของวันพฤหัสบดีสุดสัปดาห์ นักเรียนจะต้องเรียนรู้และท่องจำหะดิษใหม่ และทบทวนหะดิษของสัปดาห์ก่อนๆ หะดิษที่ท่านท่องจำในช่วงนี้มีมากพอประมาณ และจำอย่างขึ้นใจสามารถนำไปใช้ได้ตลอดชีวิต

นอกจากนั้นยังมีการสอนเรียงความ ไวยากรณ์ บทร้อยแก้วร้อยกรองที่สำคัญๆ ซึ่งในสมัยนั้นวิชาเหล่านี้ยังไม่มีการสอนกันในกาตีบะต์อื่นๆ

ส่วนวิธีการสอน ถึงแม้ว่าท่านไม่ได้ศึกษาวิชาครูหรือจิตวิทยาใดๆ แต่ในการเรียนการสอนท่านเน้นการมีความรู้สึกร่วมในการเรียนรู้ระหว่างครูกับนักเรียน ในการให้รางวัลตอบแทนผลงานดีเลว ส่วนใหญ่เป็นนามธรรมที่ให้ความรู้สึกปิติยินดี หรือเป็นคำตำหนิในรูปบทกวี

เช่น การตอบแทนคนทำดีด้วยบทกวีนี้

หะซันตอบได้ดี ขออัลลอฮ์พอใจ ให้เขาฉลาด

และตอบแทนนักเรียนคนหนึ่งที่ทำงานไม่เป็นที่น่าพอใจว่า

โอ้ความขยันเจ้าอยู่ไหน จงมาไวๆ มาหาเด็กชายคนนี้

ท่านให้นักเรียนคนดังกล่าวเขียนบทกวีด้วยตนเองไว้ใต้คะแนนของงานที่ได้

ความจริงท่านเป็นคนตาพิการ แต่ว่าท่านสามารถเห็นสัจธรรมได้ชัดเจนยิ่งกว่าคนตาดีเสียอีก

فإنها لا تعمى الأبصار ولكن تعمى القلوب التى فى الأبصار

ดวงตาหาได้บอดไม่ แต่ดวงใจในทรวงต่างหากที่มืดบอด

ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา หะซัน อัลบันนา จึงตระหนักในความผูกพันระหว่างศิษย์กับครู

เพราะว่าเมื่อนักเรียนมีความเคารพรักต่อครูไม่ว่าครูสั่งสอนอะไรนักเรียนจะเชื่อฟังทั้งหมด

นอกจากนั้น ท่านยังถือโอกาสพานักเรียนไปอ่านหนังสือที่ห้องสมุดส่วนตัวของท่าน ทำให้นักเรียนติดนิสัยรักการอ่าน ใช้ให้นักเรียนค้นคว้าเรื่องราวบางตอน และพาไปร่วมวงสนทนา ศึกษาค้นคว้า หรือโต้แย้งระหว่างนักวิชาการ ทำให้นักเรียนมีความรู้สึกดีๆต่อวิชาการมากขึ้น

หะซัน อัลบันนา ศึกษาที่นี่ในช่วงอายุ 8 - 12 ปี

ระหว่างเรียนที่นี่ ท่านท่องจำอัลกุรอ่านได้ประมาณครึ่งหนึ่ง คือจากเริ่มต้นจนจบซูเราะต์อัลอิสเราะอ์

คำสำคัญ (Tags): #วัยประถมศึกษา
หมายเลขบันทึก: 113696เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2007 11:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท