KM เด็กเก่ง


abprerkm อนุบาลฉะเชิงเทรา อนุบาลวัดปิตุลาฯ
พบตะวัน พลานุภาพ เหรียญทองแดง คณิตศาสตร์ เอเชีย ณ เขตการปกครองพิเศษ ฮ่องกง เมื่อวันที่ 14 - 19 กรกฎาคม 2550
จากที่ท่านผู้อำนวยการ วิชัย  ต.วัฒนผล ดำริให้ทำ KM นักเรียน เก่ง  นักเรียนดี  นักเรียนมีความสุข ทำให้ได้พบกับเรื่องราวของแม่คนหนึ่งที่ทำหน้าที่ได้อย่างน่าประทับใจ คือ นางชนิดา  พลานุภาพ ส่วนรายละเอียดของคุณแม่จะเล่าในครั้งต่อไปนะครับ
จากเรื่องเล่าของคุณชนิดา     พลานุภาพ  คุณแม่ของเด็กชายพบตะวัน  พลานุภาพ นักเรียนชั้น ป. 6
คุณแม่เริ่มพบปัญหา เมื่อเริ่มเข้าเรียนช่วยเตรียมความพร้อม (อายุ 2-3ขวบ) คือ  ไม่เข้ากลุ่มเพื่อน แยกตัวออกไปเบ่นคนเดียว  ชอบอ่านหนังสือที่เป็นข้อมูล เช่น สาระนุกรมของเด็ก ไดโนเสาร์  ธงชาติต่างๆ ไม่ชอบดูการ์ตูนของดิสนีย์ เช่น เรื่องกูฟฟี่ โดยให้เหตุผลว่า พูดมากเกินไ ฟังไม่รู้เรื่องว่าพูดว่าอะไร  เริ่มชอบฟังเพลงที่ไม่มีเสียงร้อง เช่น เพลงบรรเลงของเครื่องดนตรี ในรูปแบบต่างๆ  สังเกตเห็นว่า การทานข้าว จะหกเกลือนกลาด มากกว่าเด็กอื่นที่เริ่มหัดทานข้าวด้วยตนเอง  ไม่สามารถปั้นดินน้ำมันให้เป็นรูปร่างต่างๆที่ตนเองต้องการได้ (คุณแม่ดูและพิจารณาแล้วยังไม่ทรายหรือนึกไม่ออกว่าสิ่งที่ปั้นมองเหมือนหรือคล้ายกับอะไร)  เขียนหนังสือไม่เป็นตัว ไม่เขียนภาพระบายสีตามความเป็นจริง(ที่มองเห็น) เช่นค้นไม่ควรเป็นสีเขียว แต่เขาจะระบายเป็นลายสก๊อต ด้วยเหตุผลที่ว่า ต้นไม่สีเขียวไม่สวย ส่วนรูปคน จะว่าให้เห็นข้อต่อส่วนต่างๆ เพื่อแสดงให้เห็นว่าตรงไหนสามารถหมุนได้บ้าง  ขณะที่สนทนากัน ไม่สบกับกับคู่สนทนา โดยจะหันข้างให้  เมื่อลงสระว่ายน้ำไม่สามารถตามท่าทางการว่ายได้ เช่น ท่าฟรีสไตล์ แขนข้างซ้ายจะยกขึ้นไม่ได้  ของเล่นที่ชอบมากที่สุดในช่วงนี้คือ ตัวต่อไม้  ตัวต่อเลโก้ โดยชอบต่อเป็นเมือง ที่มีระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบขนส่ง ตัวคุณแม่เอง เมื่อเริ่มส้งเกตเห็นพฤติกรรมต่างๆ จึงเริ่มศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นกับลูกด้วยการอ่าน และค้นคว้าจากหนังสือ จนเข้าว่าวิธีการพัฒนาส่วนที่ต้องแก้ไข ซึ่งในช่วงอายุนี้ คุณแม่ ฝึกการใช้กล้ามเนื้อแขนและมือ ด้วยการให้เล่นปั้นดินน้ำมัน ฝึกินข้าว โยนรับลูกบอล กับลูกบ่อยๆ  เสริมการประสานงานร่วมกันของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ โดยการพาไปวายน้ำ ชี่จักรยานสามล้อ  จวบจนกระทั่งลูกย้ายเข้ามาเรียนที่โรงเรียนอนุบาลวัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์  ในช่วงชั้นที่ 1 ( ป.1-3)ก็ยังพบปัญหาที่เกิดขึ้นกับลูกอีก เช่น ยังเขียนหนังสือไม่เป็นตัว ชอบเล่นคนเดียว ไม่สนใจการแต่งตัว ไม่ยอมรับหรือรับรู้ว่าเครื่องแบบนักเรียนต้องใช้อะไรบ้าง  ไม่อยากได้เงิน ประมาณว่า ไม่มีเงินก็ไม่เดือนร้อน ไม่อยากอะไร นอกจากอยากมีเวลาทั้งหมด อ่านหนังสือเยอะๆ  ไม่สามารถปรับวิธีการตักน้ำด้วยขันให้สะดวกหรือเร็วขึ้นได้ โดยปกติ คนทั่วไปเมื่อจะตักน้ำด้วยขันจะใช้วิธี ปิดข้อมือเพื่อเอียงขันน้ำ แล้วจึงตักน้ำ หากแต่พบตะวัน ใช้สองมือจับขอบขันทั้งสองฝั่ง แล้วออกแรงกดให้ขึ้นจมน้ำทั้งใบเพื่อให้ได้น้ำ   คุณแม่สังเกตเห็นว่ามีลักษณะการใช้พูดหรือเขียนคำที่เหมือนผู้ใหญ่ใช้กัน เช่น "มีอะไรหรือครับ"โดยคำพูดนี้จะใช้กันในวัยผู้ใหญ่เสียส่วนใหญ่ ซึ่งเด็กทั่วไปจะใช้คำว่า "มีอะไรเหรือ" เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กข้างบ้านที่มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน มีภาวะอารมณ์แปรปรวนมากที่สุด เสียใจ น้อยใจ จะไม่สามารถระงับอารมณ์ความรู้สึกได้ และเมื่อถูกครูดุ หรือต่อว่า จะเสียศูนย์ (ขาดความมั่นใจ ความมั่นคง และสติ) และทำให้เรียนไม่รู้เรื่อง  และเริ่มสังเกตเห็นว่า พบตะวัน สามารถค้นพบและประมวลความรู้จากการอ่านหนังสือได้อย่างรวดเร็วและจดจำได้นาน มีอยู่ครั้งหนึ่ง ประมาณชั้น ป.๑ พบตะวันบอกกับคุณครูว่า ปวดท้อง คุณครูจึงถามว่ามีอาการเป็นอย่างไร พบตะวันตอบว่า มีอาการปวดที่ผนังหุ้มกระเพาะ คงเนื่องมาจากน้ำย่อย (ชื่อน้ำย่อยเป็ภาษาอังกฤษที่เป็นชื่อเฉพาะ ต้องขอโทษ ผมลิขิตไม่ทัน) ไปทำปฏิกิริยากับเยื้อกระเพาะอาหาร จึงปวดอย่างนั้นอย่างนี้ เมื่อคุณครูได้ฟัง จึงรีบโทรแจ้งคุณแม่   คุณแม่ก็รีบมาพบทันที แล้วก็สอบถามสาเหตุก็ได้รับคำตอบเช่นเดียวกับครู  คุณแม่จึงบอกว่า หากมีกรดที่เป็นน้ำย่อยในกระเพาะมีมาก  หากเราดื่มน้ำสักแก้วคงจะแก้ปัญหาได้ แล้วพบตะวันก็ทำตามคำแนะนำเมื่อวางแก้วน้ำที่ดื่มลง ก็บอกกับคุณแม่ว่า อาการดีขึ้นมากแล้ว และสามารถเรียนต่อได้ตามปกติ (คุณแม่กระซิบว่า ชั้วโมงนั้นพบตะวันขี้เกียจจึงอ้างเหตุผล  แต่สำหรับผมกลับมองว่า พบตะวันสามารถจดจำเรื่องราวจากการอ่านที่เป็นทฤษฎีเฉพาะได้อย่างรวดเร็ว  ได้นาน ซึ่งชื่อน้ำย่อย เป็นชื่อที่จดจำไม่ได้ง่ายเลย เมื่อเปรียบกับการศึกษาเมื่อสมัยเด็กๆของตัวเราเอง)
การดูแลและแก้ปัญหาของคุณแม่ในช่วงชั้นที่ 1
คุณแม่ให้พบตะวันเข้าเรียนเปียโน เพื่อฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็ก และสร้างการรับรูในการเข้าถึงดนตรี( คุณแม่ใช้คำว่า เข้าถึง แสดงว่าคุณแม่คงประสงค์ให้พบตะวันได้รับอะไรที่มากกว่าการได้ยินเสียงดนตรี)  ให้หัดขี่จักรยานสองล้อ เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ (คุณแม่เล่าเสริมว่า ใช้เวลาฝึกนานมาก ประมาณ 1 เดือน ในขณะที่คนอื่นใช้เวลา 2 วัน ถึง 1 สัปดาห์)  ช่วยสร้างกลุ่มเพื่อนให้โดยการชวนเพื่อนของพบตะวันมาที่บ้านแผล้วจัดกิจกรรมการเล่นให้เพื่อพัฒนาการทางสังคม  รวมทั้งใช้วิธีพาไปเรียนพิเศษบ้านเพื่อนครูเพื่อให้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน (คุณแม่กระซิบให้ฟังว่า ในเวลาเรียนพิเศษ  นักเรียนทุกคนจะทำตัวสบายๆ  บรรยากาศจะแตกต่างจากการไปเรียนที่โรงเรียนมาก )   สอนทักษะการดูแลตัวเองในชีวิตประจำวันในทุกเรื่อง ตั้งแต่การอาบน้ำ การแปรงฟัน การสวมหรือถอดเสื้อผ้า การเปิดปิดประตูลูกบิด   ใช้ตารางเวลาเข้าช่วนในการฝึกฝน โดยให้พบตะวันมีส่วนร่วมในการทำตารางเวลาของตัวเองว่าแต่ละวันจะต้องทำอะไร เมื่อทำได้จะได้รับคะแนน แล้วให้รางวัลเป็นระดับๆไป  วิธีนี้ คุณแม่บอกว่าได้ผลมาก เพราะเขารู้สึกมีแรงจูงใจตลอดเวลา และเมื่อผ่านไประยะเวลาหนึ่ง พบตะวันจะสามารถปฏิบัติได้โดยอัตโนมัติ ส่วนการเรียนเมื่ออยู่ในชั้นเรียนที่โรงเรียน ด้วยคุณแม่พบเห็นสิ่งที่ต้องเติมเต็มหลายเรื่อง จึงสอนล่วงหน้าและนำเอาการฝึกฝนบทเรียนอย่างสม่ำเสมอมาสร้างวินัยให้ด้วย เพื่อป้องกันปัญหาการเรียนในชั้นเรียน ด้วยพบตะวันไม่ชอบนั่งฟังนานๆ ซึ่งได้ผบก้าวหน้าเป็นอันมาก  และพบว่า พบตะวันมีความสุขกับการเรียนมากขึ้น เมื่อสามารถทำงานส่งครูได้ตามกำหนด  อีกทั้งคอยประสานกับคุณครู อธิบานให้ครูเข้าใจสาเหตุที่เข้าไม่ฟังครูในห้องเรียน จดงานไม่ทัน หรือการที่ยังไม่สามารถเริ่มต้นทำงานทึ่ครูสั่งได้   ด้วยภาวะอารมณ์แปรปรวนใช้วิธีแก้ที่ละปัญหา เช่น ถ้ากลัวครูที่เสียงดัง หรือ พูดดังเหมือนดุ  คุณแม่จะไปพูดคุยกับครูต่อหน้าให้พบตะวันได้รับรู้ว่า ครูไม่ดูเด็กดี  หรือเมื่อเพื่อนแกล้ง หรือหยอกล้อ ก็จะไปพูดคุยกับเพื่อนเป็นรายบุคคลหรือให้ชวนเพื่อนคนนั้นมาทำกิจกรรมที่บ้าน   ด้านกาาเรียนด้วยการทำโครงงาน เป็นเรื่องที่ยากมากสำหรับพบตะวัน เพราะเขาเริ่มต้นไม่ถูก จึงต้องใช้วิธีสอนและหรือโครงงานอื่นมาให้อ่าน แล้วเปรียบเทียบ เมื่อสอนให้แล้ว พบตะวันจะสามารถหาข้อมูลมาประกอบโครงการได้อย่างรวดเร็ว  การพาไปเรียนดนตรีและศิลปะที่บ้านคุณลุง ซึ่งอยู่ที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ในช่วงปิดเทอม ประมาณ 1 เดือน เพื่อให้เข้าได้รับปรับตัวในการอยู่ร่วมกับคนอื่น ฝึกการแสดงออกอย่างเหมาะสมในที่ชุมชน ในการแสดงคอนเสิร์ต (เปียโน)  และได้มีโดยการพัฒนาสมองในด้านที่เกี่ยวกับ ศิลปะ และการมีน้องอีกคนช่วยพัฒนาทางอารมณ์และสังคมของพบตะวัน ดีขึ้น รู้จักการแบ่งปัน การคืนดีกัน ฯลฯ
วันนี้ ขอจบก่อนนะครับ แต่ยังมีอีกภาค 2 ต่อ นะครับ เรื่องเล่านี้ อยากให้เห็นตอนคุณแม่เล่า จะเห็นร่องรอยของความพยายาม ความมุ่งมั่นเพื่อในแววตา ตลอดเวลา
หมายเลขบันทึก: 113361เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2007 22:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 07:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อ่ านจบแล้ว ปิ๊ง  แว๊บ  ดังนี้ค่ะ

  1. คุณแม่ควรจะได้เหรียญทองการเป็นแม่ (สงสัยว่าน่าจะไปแคะคุณแม่ว่าทำไมจึงคิดได้เช่นนี้)

  2.  สัมภาษณ์คุณแม่ให้มากๆและหาผู้เขียนที่มีประสบการณ์การเขียนแบบนักเขียนรางวัลมือทองมานำข้อเขียนของคุณครูมาปรุง  แล้วเผยแพร่ให้กว้างขวาง  ต่อยอดผลงานของคุณครู

  3. วันเสาร์ติดธุระเลยมาถึงตอนเบรคบ่าย วันอาทิตย์จะพบกันไหมคะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท