ไอน้ำ
นางสาว วลัยลักษณ์ ผดุงเจริญ

INVICTUS ผู้ไม่ยอมแพ้ “..ข้าฯขอลิขิตชีวิตข้าฯเอง ไม่เกรงดินฟ้า..”


ไม่ว่าโชคชะตาจะเป็นอย่างไร ตัวเราเองเท่านั้นที่จะควบคุมกำหนดทิศทางชีวิตให้ดำเนินต่อไปได้

ท่านทราบไหมคะว่า ในยุโรปยุคคริสตศตวรรษที่ 17-18 ความบันเทิงเริงรมย์ที่นิยมกันอย่างหนึ่งก็คือ การแต่งโคลงกลอนและนำมาอ่านกันในที่ชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในราชสำนัก ผู้ที่มีความสามารถในการประพันธ์ และอ่านได้ไพเราะก็จะเป็นที่โปรดปรานของบรรดาเจ้านาย ได้รับบำเหน็จรางวัลมากมาย ตัวอย่างเช่น Sir William Shakespeare กวีผู้มีชื่อเสียงและเป็นที่โปรดปรานของ Queen Elizabeth เป็นต้น

กลอนที่จะนำมาคุยกันใน LOOK ON THE BRIGHT SIDE  ครั้งนี้ แต่งโดย William Ernest Henley กวีชาวอังกฤษผู้มีชื่อเสียงอีกคนหนึ่งซึ่งมีชีวิตในช่วงปี 1849-1903 Henleyเป็นนักประพันธ์บทละคร นักวิจารณ์วรรณกรรมและงานศิลป์ และยังเป็นบรรณาธิการเจ้าของวารสาร National Observer (ซึ่งเป็นเวทีประลองปากกาของนักเขียนชื่อดังหลายคนของอังกฤษในยุคถัดมา) เมื่ออายุ 16 ปี เขาได้รับเชื้อวัณโรคในกระดูก ทำให้ต้องตัดขาข้างหนึ่งใน 8 ปีต่อมา และต้องพักฟื้นในสถานพยาบาลชื่อ Royal Infirmary ใน เมือง Edinburgh สก็อตแลนด์ อยู่อีกเกือบ 2 ปี  ในช่วงนี้เองที่เขาได้รับแรงบันดาลใจในการประพันธ์ ผลงานเด่นๆของเขารวมอยู่ใน A Book of Verses (1888) และ Poems (1898)

งานของเขามักสะท้อนถึงสายตาที่แสดงความชื่นชมต่อความงดงามของสรรพสิ่งต่างๆในโลก และปลุกปลอบใจให้สู้ชีวิตอย่างกล้าหาญ ดังที่เรากำลังจะมาคุยกัน ถึงกลอนอมตะชิ้นโบว์แดงของเขาชื่อ Invictus ซึ่งเขียนขึ้นในปี 1875 

INVICTUS
       
Out of the night that covers me,
Black as the Pit from pole to pole,
I thank whatever gods may be
For my unconquerable soul.

In the fell clutch of circumstance
I have not winced nor cried aloud.
Under the bludgeonings of chance
My head is bloody, but unbowed.

Beyond this place of wrath and tears
Looms but the Horror of the shade,
And yet the menace of the years
Finds, and shall find, me unafraid.

It matters not how strait the gate,
How charged with punishments the scroll,
I am the master of my fate:
I am the captain of my soul.

By W.E. Henley

คำศัพท์จากคำประพันธ์:

the Pit (n.):    คำว่า pit โดยทั่วไปแปลว่า หลุมลึกที่ไม่มีทางขึ้น เช่นหลุมพรางดักสัตว์ แต่ในที่นี้ใช้ P (ตัวใหญ่) มีความหมายเฉพาะ แปลว่าขุมนรก
       Black as the Pit from pole to pole.
       มืดมนราวกับขุมนรกที่กว้างใหญ่จากขั้วโลกหนึ่งไปยังอีกขั้วหนึ่ง    หมายถึง มืดมนอย่างไร้ขอบเขต ไม่มีที่สิ้นสุด
gods(n.):     คำนี้ถ้าเขียนด้วย G (ตัวใหญ่) ในรูปเอกพจน์ หมายถึงพระเจ้าผู้เป็นใหญ่ ซึ่งเป็นผู้สร้างโลก(ในศาสนาคริสต์ เป็นต้น) แต่ถ้าเขียนด้วย g (ตัวเล็ก) ในรูปพหูพจน์ หมายถึง เหล่าเทพเทวดาทั้งหลาย
unconquerable (adj.): ไม่สามารถมีใครเอาชนะ หรือเข้าครอบครองได้
circumstance (n.):        สถานการณ์
clutch (n.):   ในที่นี้หมายถึง อาการที่คว้าบางสิ่งบางอย่างไว้ในกำมือ
                   A fell clutch of circumstance   สถานการณ์ที่บีบคั้น
winced (v.):  อาการที่แสดงออกทางสีหน้าเมื่อมีความทุกข์ เจ็บปวด ผิดหวัง
bludgeonings (n.):     คำว่า a bludgeon แปลว่า กระบอง 
                   The bludgeonings of chance   มีความหมายเป็นสำนวนคือ ช่วงเวลาเลวร้ายที่เหมือนถูกกระหน่ำด้วยกระบอง
unbowed (v.):             ไม่ยอมก้มหัวให้ (ในลักษณะยอมพ่ายแพ้)
beyond (prep.):           ห่างไกลออกไป
wrath (n.):  เป็นคำศัพท์ภาษาโบราณ หมายถึง ความโกรธเกรี้ยวกราด
looms (v.): อาการที่ปรากฏให้เห็นอย่างลางเลือน ไม่ชัดเจน แต่น่าสะพรึงกลัว อย่างที่เรียกว่า “เป็นเงาทะมึน”
หมายเหตุ: Looms but the Horror of the shade เป็นคำประพันธ์แบบโบราณซึ่งโครงสร้างประโยคดูค่อนข้างสับสน but ในที่นี้แปลว่า ‘กระนั้น’ ไม่ใช่ ‘แต่’ และ looms เป็นกริยาของ the Horror of the shade
menace (n.):  บุคคลหรือสิ่งที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนเสียหาย  ตัวหายนะ
strait (adj.):     แคบ คับขัน ยากลำบาก
charged (v.):  กำหนด ระบุ
scroll (n.):       ม้วนกระดาษที่บันทึกข้อความ ประกาศทางการ กฎหมาย ฯลฯ อย่างประกาศราชโองการสมัยโบราณ(ที่เห็นในหนังภาพยนตร์)
fate (n.):           ชะตากรรม

อธิบายความหมาย:
“Invictus” เป็นภาษาลาตินแปลว่า ผู้ไม่ยอมแพ้
กลอนของ Henley บทนี้มีความหมายเป็นอมตะ เพราะไม่ว่าจะเป็นยุคสมัยใด คนเราก็ต้องเผชิญกับชะตากรรม อันโหดร้ายในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งอยู่เสมอ เคราะห์กรรมบางอย่างเกิดขึ้นและผ่านพ้นไปอย่างรวดเร็ว แต่บางอย่างก็คงอยู่เนิ่นนาน มิหนำซ้ำบางทียังทวีความหนักหนาสาหัสขึ้นเรื่อยๆ ดังที่ Henley เปรียบเทียบว่า ราวกับอยู่ในขุมนรกอันมืดมนไม่มีที่สิ้นสุด แต่ไม่ว่าเคราะห์กรรมจะกระหน่ำซ้ำเติมสักเท่าใด เขาก็จะไม่คร่ำครวญ หรือก้มหัวยอมรับความพ่ายแพ้ และแม้ปัญหาจะรุมประดังเข้ามาจนแทบหาทางออกไม่ได้ เขาก็จะเผชิญหน้ากับอุปสรรคปัญหาเหล่านั้นอย่างไม่หวาดหวั่น

ประโยคสุดท้ายที่ว่า “ I am the master of my fate; I am the captain of my soul.” แสดงถึงความหาญกล้าของมนุษย์ ที่ท้าทายต่ออำนาจของโชคชะตา ถือเป็นคำอมตะสำหรับปลุกใจไม่ให้ท้อแท้ต่อเคราะห์กรรม เพราะไม่ว่าโชคชะตาจะเป็นอย่างไร ตัวเราเองเท่านั้นที่จะควบคุมกำหนดทิศทางชีวิตให้ดำเนินต่อไปได้ คล้ายๆเพลงไทยยุคคุณปู่เพลงหนึ่ง ที่ว่า “..ข้าฯขอลิขิตชีวิตข้าฯเอง ไม่เกรงดินฟ้า..” อะไรประมาณนี้แหละค่ะ

หมายเลขบันทึก: 112374เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2007 23:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 ธันวาคม 2012 23:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ความหมายดีมากค่ะ

ไม่ได้เข้า Go to know นานมากแล้ว จนกระทั่ง วันก่อน ไปเรียนหนังสือ หลักสูตร LDP3 ที่สอนเกี่ยวกับ leadership อาจารย์ท่านนึง นำ Clip ตอนหนึ่งจากหนังเรื่อง Invictus มาให้ดู สองฉาก คือ ฉากวันแรกที่ แมนเดลา มาทำงาน กับ วันที่ แมนเดลา เจอ กับ ฟรองซัว

ต้องบอกว่า ความเป็นผู้นำของ แมนเดลา สูงมาก จน ต้องหาหนังเรื่องนี้ มาดู

ใช้เวลาหาหนังอยู่พักนึง ...สงสัยว่าเจ้า invictus นั้นมีความหมายว่าอย่างไร เพราะ เปิด Dict แล้วไม่เจอ เลย มาเจอ บทกลอนนี้ ใน Wiki

แล้วก็มาเจอ คนใจดีช่วยแปล ในที่นี้ ...ต้องขอบคุณมากๆ ครับ ...

สงสัยต้องตามอ่านกันเป็นแฟนประจำแล้วมังครับ

ขอบคุณสำหรับความรู้ คำแปล และ ความหมาย ครับ.และ ขออนุญาตนำคำแปลบางส่วนไปใช้ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท