เกร็ดความรู้....... วิธีเพิ่มความจำให้สมอง


บริหารสมองอยู่เสมอ เช่น ต่อจิ๊กซอว์ เล่นครอสเวิร์ด นั่งคิดเลข …
ถ้ามีความรูสึกว่า ความจำเราแย่ลง สะกิดมีวิธีเพิ่มความจดจำให้สมองมาฝาก

บริหารสมองอยู่เสมอ เช่น ต่อจิ๊กซอว์ เล่นครอสเวิร์ด นั่งคิดเลข …
กินผักผลไม้สด เช่น ผลไม้ที่มีสีแดง ม่วง น้ำเงิน … โดยเฉพาะตระกูลเบอร์รี่ต่างๆ จะมีสารต้านอนุมูลอิสระชนิดที่มีความเข้มข้นสูงที่เรียกว่า Anthocyanidin

ลดปริมาณแอลกอฮอล์

ออกกำลังกาย การออกกำลังกายยังไปเพิ่มประสิทธิภาพ ในการกระตุ้นความจำของสารเคมีในสมอง ที่เรียกว่า Brain-Derived Neurotrophic Factor) ให้ทำงานได้ดีขึ้นด้วย

จดบันทึก ถ้าเรามีเรื่องให้จำมาก ความจำเราอาจจะแย่ เพราะจำได้ไม่หมด ลองหันมาจดบันทึกดูสิคะ จะทำให้สมองเราผ่อนคลายมากทีเดียว

ทำสมาธิ ถ้าเราเครียดมากๆ ผ่อนคลายโดยการนั่งสมาธิ ให้จิตใจของเราสงบขึ้น

ลองทำตามเคล็ดลับที่เอามาฝากนี้ รับรองว่าสมองของคุณจะโปรดโปร่งขึ้น และมีความสามารถในการจดจำดีขึ้นตามลำดับ
หมายเลขบันทึก: 112038เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2007 18:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 11:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณมากครับน้อง พี่จะลองเอาไปปฏิบัติดูนะครับ เพราะขณะนี้กำลังเรียนต่อ MBA มอ. ควบค่ไปกับการทำงาน เลยใช้สมองมากหน่อย แต่ที่พี่ทำอยู่ตอนนี้คือกินอาหารเสริม จิงโกล่า(แป๊ะก๋วย) ของบริษัทขายตรงของกิฟฟารีนครับ น้องว่ามีประโยชน์แค่ไหนครับ ยังไงข่วยแนะนำด้วยนะครับ

ต้นแปะก๊วย... เป็นต้นไม้เก่าแก่มาก มีการค้นพบฟอสซิลที่มีอายุมากถึง 200 ล้านปี มีการนำใบของต้นแป๊ะก๊วยที่มีอายุไม้มาก มาสกัดเป็นยาสมุนไพรแผนปัจจุบัน
พบตัวยา 2 ชนิด ที่มีในใบ คือ
  1. terpene lactones และ
  2. ginkgo flavone glycosides

ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์สามารถตรวจวัดวิเคราะห์หาปริมาณยาได้ มีการนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์หลายรูปแบบ สารสกัดจากใบแป๊ะก๊วยที่มีคุณภาพสูงจะประกอบด้วย ginkgo flavone glycosides 24% และ terpene lactones 6%

คุณสมบัติของสารสกัด 2 ตัวนี้คือ การเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตไปสู่สมอง, ปลายมือปลายเท้า ถึงแม้ว่าจะไม่มีการทดลองกับสตรีวัยทองในเรื่องปัญหาความทรงจำก็ดี แต่ได้มีการนำไปใช้กับสตรีวัยทองเป็นจำนวนมาก ในเรื่องการเพิ่มความทรงจำ

มีการทดลองทางคลินิกแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพ ของสารสกัดจากใบแป๊ะก๊วย (GBE = ginkgo biloba extract) ในการรักษาโรคความจำเสื่อม, โรคซึมเศร้า อาการหลง ๆ ลืม ๆ อันเนื่องมาจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอในผู้ป่วยสูงอายุ

มีการศึกษา 2 กลุ่ม แสดงให้เห็นถึงผลการรักษาอย่างถูกต้อง ในผู้ป่วยที่มีอาการหลงลืมตั้งแต่ระดับอ่อนถึงปานกลาง (mid to moderate primary dementia of the Alzheimer's type or multi-infaret dementia)

ผู้ป่วยกลุ่มที่ 1
มีอายุระหว่าง 50-75 ปี และได้รับการวินิจฉัยโรคว่า เป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่มีความจำเสื่อม อันเนื่องมาจากสูงอายุ และเป็น Alzheimer type ผู้ป่วยได้รับยาGBE 240 มก. (ครั้งละ 80 มก. วันละ 3 ครั้ง) และยาหลอกเป็นเวลา 3 เดือน ผลปรากฏว่า กลุ่มที่ได้รับ GBE มีความทรงจำและสมาธิดีขึ้นภายใน 1 เดือน และต่อ ๆ ไปถึง 2 และ 3 เดือน ขณะเดียวกันก็มีการรายงานถึง การดีขึ้นของสมองหรือความคิดแจ่มใส, ความทรงจำดีขึ้น, อารมณ์ดีขึ้น, อยากอาหารเพิ่มขึ้น, ปรับตัวดีขึ้น, ความกังวลและซึมเศร้าลดลง, กระตือรือร้นมากขึ้น
ผู้ป่วยกลุ่มที่ 2
มีผู้ร่วมโครงการนี้ 222 คน ซึ่งได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโรคความจำเสื่อมตั้งแต่ระดับอ่อนถึงปานกลาง เช่นเดียวกับกลุ่มแรก มีการให้ยาจริงและยาหลอกเป็นเวลา 6 เดือน โดยไม่มีใครทราบว่าได้รับยาอะไรไป ทั้งแพทย์และผู้ป่วยเรียกว่า double blind ผู้ป่วยจะถูกสุ่มให้ยา GBE 120 มก. วันละ 2 ครั้ง/หรือยาหลอกวันละ 1 ครั้ง ผู้ป่วยที่สามารถอยู่จนครบการทดลอง ทั้ง 156 คน แสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่ดีขึ้นมาก ในเรื่องความทรงจำและอารมณ์ (eagnitive function tests and depression) ซึมเศร้าในกลุ่มที่ได้รับ GBE

ในสตรีวัยใกล้หมดประจำเดือนควรจะ รับประทานสารสกัดจากใบแป๊ะก๊วย เพราะกลุ่มนี้จะมีความเปลี่ยนแปลง ของเรื่องความทรงจำ เรื่องอารมณ์ เรื่องสมาธิ ซึ่งสารสกัดจากใบแป๊ะก๊วย จะช่วยทำให้อาการต่าง ๆ เหล่านี้ดีขึ้น

อีกปัญหาหนึ่งของสตรีวัยใกล้หมดระดูหรือหลังหมดระดูก็คือ ความต้องการทางเพศจะลดลงถึงแม้ว่าเรายังต้องการการพิสูจน์ต่อไปอีก ในเรื่องการใช้สารสกัดจากใบแป๊ะก๊วยในเรื่องการเพิ่มความต้องการทางเพศ แต่ก็ไม่เสียหายถ้าจะมีการใช้สมุนไพรตัวนี้เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้

สารสกัดจากใบแป๊ะก๊วยมีประสิทธิภาพ ในการเปลี่ยนความต้องการทางเพศที่ไม่ปกติ

อันเนื่องมาจากยารักษาอาการซึมเศร้าในผู้หญิงและผู้ชาย (antidepressant-induced sexual dysfunction) ผู้หญิง 33 คน และผู้ชาย 30 คน ที่มีปัญหาเรื่องเพศ เช่น อวัยวะเพศไม่แข็งตัว, ไม่ถึงจุดสุดยอด, ความต้องการทางเพศลดลง หลังจากได้รับยากลุ่มรักษาอาการซึมเศร้าแล้ว ginkgo ช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ให้ดีขึ้นได้ในผู้หญิง 30 คน จาก 33 คน (91%) และผู้ชาย 23 คน จาก 30 คน (76%) ถ้ารวมทั้งหมดแล้ว ผลลัพธ์ซึ่งเกิดจากการรายงานด้วยตัวเองแล้วจะเท่ากับ 84% ถึงแม้ว่าจะเป็นการรายงานของตัวคนไข้เองก็ตาม ก็น่าสนใจไม่น้อย ในเรื่องตัวเลขผลลัพธ์ที่ค่อนข้างสูง ปริมาณยาที่ให้จะอยู่ระหว่าง 60-120 มก. วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 4-6 สัปดาห์ เกือบทั้งหมดของผู้ป่วยที่เข้าทดลองยังคงรับประทานยา ต่อเนื่องเป็นประจำทุกวัน บางคนรับประทานยามาเป็นเวลา 2 ปี 6 เดือน โดยยังคงมีผลต่อการกระตุ้นทางเพศต่อไป

ยังไม่มีรายงานว่าถ้าหยุดยา ginkgo แล้ว ผลที่ได้จะยังคงมีต่อไปอีกหรือไม่
ถึงแม้ว่าจะเป็นผลที่เกิดแก่ผู้ป่วยที่มีปัญหาทางเพศ อันเนื่องมาจากได้รับยาแก้อาการซึมเศร้า แต่ไม่ใช่ผู้ป่วยที่มีปัญหาอันเนื่องมาจาก การหมดระดูก็ตาม ก็ยังคงแนะนำให้นำยา ginkgo มาใช้ได้เช่นกันเพราะปลอดภัยและง่ายในการใช้กับสตรีที่อยู่ในกลุ่มวัยทอง

หมายเหตุ – ถอดความจากหนังสือ Women's Encyclopedia of Natural Medicine โดย TORIHUDSON, N.D. (1999).

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท