อบรม Onsite Training รุ่นที่ 3


การอบรมติดตั้ง Firewall ด้วย IPCop
 

อบรม Onsite Training กลุ่มที่ 3
ศนจ.ยโสธร


 

การเตรียมการอบรม
      การเตรียมการอบรมกลุ่มที่ 3 ได้จัดหาอุปกรณ์ และ จัดทำสื่อเพิ่มเติมเล็กน้อย เพราะอุปกรณ์ต่างๆ ได้จัดเตรียมไว้ ตั้งแต่การอบรมทั้งสองรุ่นที่ผ่านมาครบแล้ว  ออกเดินทางจากอุบล วันที่ 9 กรกฏาคม 2550 เวลาประมาณ 14.00.น. เพื่อไปเตรียมความพร้อมในการอบรมที่ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดยโสธร โดยเดินทางไปถึงเมื่อเวลาประมาณ 15.00 น. ได้พบกับผู้รับผิดชอบงาน ICT คือ อาจารย์ บรรลุ และพบกับผู้อำนวยการ ศนจ. ยโสธร ซึ่งได้อำนวยความสะดวก และให้การสนับสนุนการอบรมเป็นอย่างดี

สภาพพื้นฐานด้าน Network ของ ศนจ. ยโสธร ก่อนดำเนินการอบรม
      สภาพของ Network และการใช้งาน พบว่า มีห้องเก็บเครื่อง Server และอุปกรณ์เครือข่าย เป็นสัดส่วน เป็นห้องปรับอากาศ นอกจากจะเป็นห้องเก็บอุปกรณ์ดังกล่าวแล้ว ยังเป็นห้องทำงานด้วย พร้อมทั้งมีอุปกรณ์อื่นๆ เช่น อุปกรณ์รับสัญญาณดาวเทียม หนังสือ เอกสารต่างๆ

         
            Server เก็บไว้ในห้องที่กั้นไว้เฉพาะ                                ทางเข้าห้องเก็บ Server

        
       สภาพภายใน เป็นทั้งห้อง Server และห้องทำงาน             ตู้เก็บ Router และ NTU

     เครื่อง Server ที่ใช้ปฏิบัติงานมีทั้งสิ้น 3 เครื่อง แต่ใช้งานเพื่อติดตั้ง web server 1 เครื่อง ส่วนอีก 2 เครื่อง นำไปใช้ทำงานอย่างอื่น โดยมีเครื่อง PC ทำหน้าที่ เป็น NAT จำนวน 1 เครื่อง เพื่อให้บริการ Internet ภายในหน่วยงาน


         
เครื่อง Server จำนวน 2 เครื่องภายในห้อง

     การใช้งาน Internet จะเชื่มต่อผ่าน Switch มาให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ ภายในอาคารอำนวยการ เพื่อให้บริการแก่บุคลากรใช้งานร่วมกัน จำนวน 6 เครื่อง และให้บริการเฉพาะบุคคล จำนวน 3 เครื่อง และมีเครื่อง Printer จำนวน 2 เครื่องแบบ Network Printer แต่ไม่ได้เชื่อมต่อผ่าน Network


คอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ Internet ภายในหน่วยงาน

 


แผนผังอาคารอำนวยการ และเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ผังการเชื่อมโยงเครือข่าย คอมพิวเตอร์

อุปสรรคในการอบรม
      อาจารย์นิกร จาก ศนจ. นครราชสีมา ป่วย ไม่สามารถมาร่วมเป็นวิทยากรได้ มีผลกระทบ 2 ประการ คือ
     1 ขาดวิทยากรหลัก ที่ทำหน้าที่เริ่มต้นการให้ความรู้เกี่ยวกับ IPCop และการใช้งาน
     2 ขาดอุปกรณ์ ประกอบการฝึกอบรม ได้แก่ Note Book จำนวน 6 เครื่อง และ อุปกรณ์เครือข่าย (แต่สามารถใช้อุปกรณ์ที่เตรียมมาจาก ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาค และเครื่อง PC ของ ศนจ. ยโสธร มาทดแทน

การอบรมวันแรก วันที่ 10 กรกฎาคม 2550

รายงานตัว และลงทะเบียนเข้ารับการอบรม
  ก่อนที่จะเริ่มกิจกรรมการอบรม ผู้เข้ารับการอบรม
ทุกท่านลงชื่อ ลงทะเบียน และเขียนรายงานการเดินทาง ในการอบรมครั้งนี้มีผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 8 คน และคณะวิทยากร 5 คน โดยมีรายละเอียดดังนี้

  นายบรรลุ  ทองเข็ม
ตำแหน่ง ครู คศ 2
ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดยโสธร
[email protected]  [email protected] โทรศัพท์ 0853077317

  นางสาวบุษกร  ศรีชนะ
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์
ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดยโสธร
[email protected]  โทรศัพท์ 0872399750

  นายศุภวัฒน์  ใจตรง
ตำแหน่ง ครู ปวช.
ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดมุกดาหาร
[email protected]  โทรศัพท์ 00845182651

   นายวิษณุพงษ์  ภูสมสาย
ตำแหน่ง พนักงานราชการ
ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดมุกดาหาร
[email protected]  [email protected]  โทรศัพท์ 0872174535

  นายวิทยา  โมคลา
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ดูแลระบบ
ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดอำนาจเจริญ
[email protected]  โทรศัพท์ 0896276800


  นายสุรศักดิ์  วิจิตร
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ดูแลระบบ
ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดอำนาจเจริญ
[email protected]  โทรศัพท์ 0896292946

  นายสหชาต  โมคลา
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล
ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดนครพนม
[email protected]  โทรศัพท์ 0897128356
  นายวีรพล  แจ่มใส
ตำแหน่ง ครู ปวช.
ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดกาฬสินธุ์
[email protected]  โทรศัพท์ 0848308711

  นายศรีเชาวน์ วิหคโต
ตำแหน่ง ครู คศ 3
ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
[email protected]  Tel 0868660705
  นายอดิศักดิ์ คำเสียง
ตำแหน่ง ครูปวช.
ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดศรีสะเกษ
[email protected]  Tel 0898224348
  นายวิทยา วิจิตร
ตำแหน่ง จนท. ดูแลระบบสารสนเทศ
ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดสุรินทร์
[email protected]  Tel 0868681713
  นายสิทธา นาแพง
ตำแหน่ง จนท. ดูแลระบบสารสนเทศ
ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
[email protected] Tel 0896247728
  นางแสงจันทร์ เขจรสาสตร์
ตำแหน่ง ครู คศ.2
ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
[email protected] Tel 0897180359

  เปิดการอบรม
 ในการเปิดการอบรม ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดยโสธร ให้เกียรติมาเป็นประธานในการเปิดการอบรม โดยนายศรีเชาวน์ วิหคโต จาก ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวรายงานถึงความเป็นมาของโครงการ วัตถุประสงค์ และกระบวนการอบรมแบบ Onsite Training


       
         รายงานความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของโครงการ ผู้อำนวยการ ศนจ.ยโสธรกล่าวต้อนรับ

     ผู้อำนวยการ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดยโสธร กล่าวเปิด พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะ และแนวทางการพัฒนา ICT พร้อมทั้งให้การสนับสนุนการอบรมในครั้งนี้ โดยมอบให้ อาจารย์ บรรลุ เป็นผู้ประสานงานและอำนวยความสะดวกต่างๆ ในการอบรม พร้อมทั้งย้ำถึงความสำคัญของการพัฒนา ICT และถ้ามีโอกาส จะติดตามผลความก้าวหน้าของการอบรมในครั้งนี้

ชี้แจงวัตถุประสงค์ และกระบวนการอบรม
      หลังจากเปิดการอบรมแล้ว นายศรีเชาวน์ วิหคโต ได้บรรยายสรุปเกี่ยวกับทิศทาง แนวโน้ม และ แนวทางการพัฒนา ICT ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พร้อมทั้งปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมา พร้อมทั้งแนวทางการแก้ไข


สรุปสภาพของ ICT ในปัจจุบัน และแนวทางการพัฒนาในปี 2550

     โดยได้กล่าวถึงเหตการณ์ปัจจุบันว่าหน่วยงานการศึกษานอกโรงเรียน มีความพยายามที่จะนำเอา ICT มาใช้เพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษานอกโรงเรียน โดยกำหนดเป็นนโยบายให้มี website ของสถานศึกษาทุกแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด สามารถเปิดการเรียนการสอนในรูปแบบ e-Learning ดังนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ จะต้องสร้างความเข้มแข็งให้กับ เครื่อง Server และเครือข่าย ให้สามารถรองรับบริการที่จะเกิดมีขึ้น ดังนั้นการอบรมครั้งนี้ ถือว่าเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญมาก ในการสร้างระบบ Firewall เพื่อรักษาความปลอดภัยให้กับเครือข่าย หรือ Network ภายในหน่วยงาน

สรุป Concept เกี่ยวกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และ Firewall
      ก่อนที่จะดำเนินการอบรม ได้ให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ดังนี้

  • การติดตั้ง Firewall และความจำเป็นที่ต้องจัดทำระบบ Firewall
  • ขั้นตอนการติดตั้ง IPCop โดยย้ำให้เห็นให้เห็นความสำคัญของแต่ละขั้นตอน โดยเฉพาะขั้นตอนการออกแบบ Network
  • การติดตั้งโปรแกรมอื่นๆ ได้แก่ การติดตั้ง Web Server การติดตั้ง Web Template

  ดำเนินการอบรม
      กระบวนการอบรมจะเน้นการฝึกปฏิบัติเป็นหลัก โดยแบ่งผู้เข้ารับการอบรมเป็นกลุ่มย่อย และมีวิทยากรประจำกลุ่มเป็นผู้ให้คำแนะนำและฝึกปฏิบัติกับอุปกรณ์จริง โดยมีกระบวนการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติ ดังนี้
      5.1 แบ่งกลุ่ม และมอบอุปกรณ์การฝึกปฏิบัติ  โดยแบ่งกลุ่มผู้เข้ารับการอบรมออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
             กลุ่มที่ 1 ศนจ. ยโสธร และ ศนจ. กาฬสิทธุ์
             กลุ่มที่ 2 ศนจ.มุกดาหาร และ ศนจ.นครพนม
             กลุ่มที่ 3 ศนจ. อำนาจเจริญ
        หลังจากแบ่งกลุ่มแล้วได้กำหนดวิทยากรประจำกลุ่ม พร้อมทั้งการกำหนด หมายเลข IP ของเครื่องที่จะทดลองติดตั้ง IPCop ดังนี้

กลุ่ม  ศนจ. ในกลุ่ม  IP IPCop IP web server   IP Router  วิทยากร
1 ยโสธร  กาฬสินธุ์ 202.143.141.22 202.143.141.18 202.143.141.17 นายวิทยา วิจิตร
2 อำนาจเจริญ 202.143.141.24  202.143.141.25  202.143.141.17  นายสิทธา นาแพง
3 มุกดาหาร นครพนม 202.143.141.26   202.143.141.27  202.143.141.17  นายอดิศักดิ์ คำเสียง

 มอบอุปกรณ์การฝึกปฏิบัติ แต่ละกลุ่ม ประกอบด้วย
      Access point กลุ่มละ 1 เครื่อง
      Switch กลุ่มละ 2 เครื่อง
      อุปกรณ์การเข้าหัว RJ45 และ อุปกรณ์การตรวจสอบ
      สาย LAN และหัว RJ45
      กระกาษกาวย่น สี แดง เขียว ส้ม และ น้ำเงิน
      เอกสาร คนละ 2 เล่ม และ CD-ROM คนละ 2 แผ่น
      เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อทดลองติดตั้ง IPCop กลุ่มละ 1 เครื่อง
      เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ตรวจสอบ ใช้เครื่อง Note Book และเครื่อง PC ของ ศนจ. ยโสธร

 5.2 ออกแบบระบบเครือข่าย
      กิจกรรมแรกของการอบรมคือ การออกแบบเครือข่ายของแต่ละหน่วยงาน ลงบนกระดาษ โดยเริ่มวาดเครือข่ายที่ใช้งานจริงในปัจจุบันว่ามีสภาพอย่างไร ต่อจากนั้น เริ่มออกแบบใหม่ โดยมีเครื่องคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่เป็น  Firewall

      
อำนาจเจริญ ออกแบบบนผนัง ส่วนยโสธร ออกแบบบนโต๊ะ

      ในการออกแบบครั้งนี้ ทำให้ผู้ดูแลระบบที่เข้าอบรมได้มีโอกาสทบทวนว่า หน่วยงานของตนเองได้วางเครือข่าย Network ไว้อย่างไร และหลังจากอบรมครั้งนี้จะกลับไปทำอย่างไร
 5.3 ติดตั้ง LAN Card
       ขั้นตอนแรกที่ดำเนินการคือ การติดตั้ง LAN Card โดยกลุ่มจังหวัดยโสธร และจังหวัดมุกดาหาร ติดตั้งลงบนเครื่อง Server ที่จะใช้งานจริงของหน่วยงาน (ศนจ. มุกดาหาร นำเอาเครื่อง server มาด้วย) ดังนั้น จึงใช้ LAN Card ที่ทาง ศนอ. เตรียมไป ติดตั้งลงในเครื่อง Server
 


 หมายเหตุ เครื่อง Server ของ ศนจ.ยโสธรค่อนข้างจะมีปัญหาอย่างมากกับ LAN Card รวมทั้ง Slot ที่เสียบ รวมทั้ง Onboard Lad Card อาจจะเป็นเพราะเครื่อง Server ผ่านการนำเอาไปใช้งานอย่างอื่น เช่น นำไปตัดต่อ Video จึงติดตั้ง การ์ดตัดต่อเข้าไป รวมทั้งติดตั้ง การ์ดเสียง เพื่อนำไปร้อง Karaoke การติดตั้งได้นำเอา LAN Card ยี่เก่ามาติดตั้ง ปรากฏว่าใช้ไม่ได้ มีปัญหาค่อนข้างมาก จึงเสียเวลาค่อนข้างมาก และเสียเวลากับการอบรมในวันต่อมา

 5.4 ติดตั้งโปรแกรม IPCop
       กระบวนการติดตั้ง IPCop เริ่มต้นหลังจากที่ติดตั้ง LAN Card เรียบร้อยแล้ว โดยเริ่มจากการทำแผ่น Boot จาก Drive a หลังจากนั้น ก็เริ่มติดตั้งโปรแกรม IPCop ตามขั้นตอนโดยวิทยากรประจำกลุ่ม จะเป็นผู้อธิบาย ประกอบการติดตั้ง พร้อมทั้งให้ผู้เข้ารับการอบรม ศึกษาตามจากเอกสารคู่มือการติดตั้ง ซี่งเขียนขั้นตอนการติดตั้งไว้อย่างละเอียด

       
หลังจากวิทยากรกลุ่ม สาธิตการติดตั้งแล้ว ต่างก็ทบทวนการติดตั้งกันอีกครั้ง เพื่อให้ชำนาญ

 


บางขั้นตอน ผู้เข้ารับการอบรมไม่เข้าใจ จึงต้องมีการอธิบายเพิ่มเติม
 

สภาพปัญหาที่พบ
      สภาพปัญหาของเครื่อง Server ยี่ห้อ Powel ปัญหาที่พบคือ LAN Card ของเก่าใช้งานไม่ได้ จึงเปลี่ยนเป็น LAN Card ที่เตรียมมาจาก ศนอ. แต่ก็พบว่า LAN Card Onboard ใช้งานไม่ได้ 1 ใบ ซึ่งใช้เวลาค่อนข้างนานกว่าจะหาสาเหตพบ การแก้ไขคือ เพิ่ม LAN Card เข้าไป 2 ใบ และใช้ Onboard 2 ใบ
 5.5 ตรวจสอบ LAN Card
       เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญอีกขั้นตอนหนึ่ง เพื่อตรวจสอบว่า LAN Card ใบใด อยู่ใน Zone สีอะไร การตรวจสอบค่อนข้างจะสับสนเพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะใช้ตรวจสอบไม่เพียงพอ แต่ในที่สุดก็ดำเนินการได้สำเร็จ แต่กลุ่มของ ศนจ. ยโสธรค่อนข้างมีปัญหามาก เพราะเครื่อง Server ค่อนข้างจะมีปัญหา ต้องเปลี่ยน และติดตั้ง LAN Card หลายรอบ
 สภาพปัญหาที่พบ
      1 การตรวจสอบ LAN Card แต่ละ zone การเสียบสาย LAN ค่อนข้างจะสับสน สำหรับบางกลุ่ม เพราะการอบรมครั้งนี้ ไม่มีเครื่อง Note Book มาทดสอบครบทั้ง Green zone และ Orange zone ดังนั้นจึงใช้เครื่องทดสอบเพียงเครื่องเดียว ประกอบกับการอธิบาย Concept ไม่ชัดเจน ทำให้ผู้ฝึกปฏิบัติค่อนข้างสับสน โดยเฉพาะวิทยากรจาก ศนอ. ยังไม่ค่อยมีประสบการณ์เกี่ยวกับการสอน
      2 สาย LAN มีปัญหา 2 ประการ คือ การเข้าหัว RJ 45 ไม่ถูกต้องหรือสายไม่แน่น ใช้งานไม่ได้
      3 การทำความเข้าใจ Concept การทำงาน โดยสังเกตจากบางคน ทำตามขั้นตอนโดยที่ไม่ค่อยเข้าใจเท่าไร แต่ทำตามที่วิทยากรกลุ่มบอก ผลก็คือ เสียบสายผิด โดยวิทยากรกลุ่ม ได้ละเลยที่จะพยายามอธิบายให้เข้าใจอย่างแท้จริง ดังนั้น เมื่อกลุ่มอื่นมีการอธิบายรายละเอียด ผู้เข้าอบรมจากกลุ่มนั้น จะเดินมาฟังคำอธิบาย หรือบางครั้งก็มาดูการฝึกปฏิบัติของกลุ่มอื่น
 


 5.6 ตรวจสอบการใช้งาน Internet
       เมื่อตรวจสอบสาย LAN ครบทุก zone แล้ว โปรแกรม IPCop ก็สามารถใช้งานได้ โดยเฉพาะการใช้งาน Internet ดังนั้น เมื่อเสียบสาย LAN ใน red zone ก็สามารถตรวจสอบการใช้งาน Internet โดยเปิด website เพื่อทดสอบ เช่น google.co.th ผลการตรวจสอบ มี 2 กลุ่มที่ใช้งานได้ แต่กลุ่มที่ใช้ server ยี่ห้อ Powel ยังมีปัญหา ซึ่งมีปัญหาเนื่องมาจาก LAN Card Onboard
5.7 ติดตั้งโปรแกรมเสริม
        เพื่อให้ IPCop สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงต้องติดตั้งโปรแกรมเสริมจำนวน 3 โปรแกรม และในขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรมเสริม ก็จะต้องทำการเปิด SSH Access ให้สามารถ Remote มาจากเครื่อง PC ใน Green zone ได้ ต่อจากนั้น จึงติดตั้งโปรแกรม WinScp เพื่อทำหน้าที่ในการ ส่ง file จากเครื่อง PC  ไปยังเครื่อง Server (คล้ายกับ FTP) และ PuTTy เพื่อทำหน้าที่เหมือนกับการ Remote Desktop เมื่อติดตั้งเสร็จ จึงส่งโปรแกรมเสริม 3 โปรแกรมไปที่เครื่อง Server โดยใช้โปรแกรม WinScp แล้วใช้โปรแกรม PuTTy เปิดหน้าจอของเครื่อง IPCop ให้มาแสดงที่เครื่อง PC (Remote Desktop) แล้วติดตั้งโปรแกรมเสริมทั้ง 3 โปรแกรม ในเครื่อง IPCop
ข้อสังเกต ขั้นตอนต่างๆ เหล่านี้ ผู้เข้ารับการอบรม สามารถกดำเนินการไปตามคู่มือได้ แต่ส่วนมากจะไม่เข้าใจว่า การทำแต่ละขั้นตอนทำไปทำไม โดยเฉพาะขั้นตอนการเปิด SSH Access
 5.8 ใช้งาน IPCop โดยการเปิดใช้บริการต่างๆ เช่นการใช้งาน Proxy การใช้งาน URL Filter และเข้าไปดูรายงานต่างๆ ของ IPCop รวมทั้งการใช้งานใน Blue zone จากเครื่อง wireless

ปัญหาจากการอบรมวันแรก
 1 การทำความเข้าใจกับ Concept ของการติดตั้ง มีหลายคนที่สามารถติดตั้งได้ โดยทำตามขั้นตอนในหนังสือ แต่ยังไม่ค่อยเข้าใจว่า ทำไมจึงต้องทำอย่างนั้น หรือทำไปเพื่ออะไร
 2 เครื่อง Server ยี่ห้อ Powel มีปัญหาเกี่ยวกับ LAN Card เหมือนกับการอบรมในกลุ่มอื่นๆ ที่ผ่านมา แต่ในการอบรมครั้งนี้ มีปัญหามากกว่าทุกครั้ง
 3 อุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกปฏิบัติไม่เพียงพอ และค่อนข้างจะไม่มีระเบียบในการฝึกปฏิบัติ เพราะทั้ง 3 กลุ่ม มีการใช้อุปกรณ์ และการเชื่อมโยง และวางอุปกรณ์เกะกะ สับสน

       จากภาพจะเห็นว่า การวางตำแหน่งกลุ่มในการปฏิบัติงาน ทำให้เกิดความยุ่งยาก  ในกลุ่มที 2 เครื่อง server วางที โต๊ะด้านขวามือ แต่เวลามาทดสอบ ต้องมาทดสอบที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยาทางซ้ายมือ โดยเครื่อง PC ที่ใช้ทดสอบ จะอยู่ด้านหลังของผู้เข้าอบรมที่ยืนด้านซ้ายมือ เพราะเครื่อง PC ที่ทุกกลุ่มใช้ทดสอบ จะวางอยู่บนโต๊ะ ติดผนังทางด้านซ้าย และทุกกลุ่ม จะฝึกปฏิบัติอยู่บนโต๊ะเดียวกันทั้งหมด ทำให้มีอุปกรณ์วางเกะกะ และสาย LAN เดินสับสนพันกันวุ่นวาย

 

การอบรมวันที่ 2 วันที่ 27 มิถุนายน 2550

     การอบรมวันที่ 2 มีเป้าหมายคือ ติดตั้งและใช้งาน IPCop ได้ทุกกลุ่ม โดยดำเนินการฝึกปฏิบัติต่อเนื่องจากวันที่ผ่านมา
ฝึกปฏิบัติต่อเนื่อง
 การฝึกปฏิบัติในวันนี้ ดำเนินการฝึกปฏิบัติ ในเรื่องต่างๆ ดังนี้
      1.1 ทดสอบการใช้งาน Orange zone และ Blue zone
  อธิบายแผนผัง Network ใน Orange zone และ Concept การทำงานของเครื่อง Server โดยทำการตรวจสอบว่า ว่า ทั้ง 2 zone ทำงานหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การอนุญาตให้เครื่องคอมพิวเตอร์ใน blue zone สามารถใช้งาน internet ได้
    1.2 ติดตั้ง webserver และทดสอบการใช้งานจาก Localhost
ติดตั้งโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็น Web server คือ โปรแกรม Appserv แล้วทำการตรวจสอบการทำงานของ web server โดยการทดสอบการเปิด website จาก localhost ที่เครื่อง Server และทดสอบการเปิด website จากเครื่องใน Green Zone โดยเปิดจาก IP ของเครื่อง Server
    
แต่ละกลุ่มจะใช้ Server 2 ตัว โดยตัวหนึงเป็น firewall อีกตั้งหนึ่งเป็น web server

 1.3 กำหนด Port Forward
        กำหนดหมายเลข IP จริงให้แต่ละกลุ่ม ต่อจากนั้น ใช้โปรแกรม ใน IPCop ทำการ Forward Port จาก IP จริง ไปยัง IP ภายใน ของเครื่อง server ใน Orange zone โดยเปิด 3 port คือ
      Port 80 เพื่อใช้งาน HTTP เพื่อเปิด Website
      Port 21 เพื่อการใชงาน FTP ในการส่ง File
      Port 3389 เพื่อการใช้งาน Remote Desktop ในการควบคุมทางไกล
1.4 ทดสอบการเปิด website จาก IP ภายนอก
       ทดสอบการเปิด Website โดยใช้ IP จริงของเครื่องใน Orange zone จากเครื่องใน Green zone เพื่อให้ ส่งต่อไปยัง IP ภายในของเครื่อง web server

ปรับระบบ Network ของ ศนจ. ยโสธร
      หลังจากแต่ละกลุ่มได้ฝึกปฏิบัติและทดสอบการใช้งานจนประสบความสำเร็จแล้ว จึงเข้าสู่กิจกรรมการปฏิบัติจริง โดยตั้งระบบ Network ให้กับ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดยโสธร โดยการปรับอุปกรณ์ ต่างๆ ในห้อง server และ บริเวณที่ให้บริการ Internet

        
                ปรึกษากันว่า จะปรับอย่างไร                   ช่วยกันรื้อ และยกอุปกรณ์ต่างๆ ออกจาห้อง

 ต่อจากนั้น จึงติดตั้งเครื่อง server ให้ทำหน้ที่ตามที่กำหนด โดยติดตั้ง Firewall ด้วย IPCop  1 เครื่อง และติดตั้ง  webserver  อีก 2 เครื่อง

      
นำเอาเครื่อง server มาวางด้วยกัน แล้วใช้ KVM Switch เป็นตัวควบคุม

       ผลการดำเนินงานในวันนี้ ระบบ Network สามารถทำงานได้ สามารถให้บริการ Internet แก่เครื่องทุกเครื่องใน Green zone ได้ แต่ยังไม่สามารถให้บริการ website ใน orange zone ได้ โดยไม่ทราบสาเหตุว่า เพราะเหตุใด
 ใช้เวลาปรับแก้ จนค่ำ ก็ไม่สามารถแก้ไขได้ จึงหยุดเพราะ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดยโสธร ได้เป็นเจ้าภาพจัดงานเลี้ยงคณะผู้เข้ารับการอบรม

การอบรมวันที่ 3 วันที่ 28 มิถุนายน 2550

 กิจกรรมการอบรมวันที่ 3 เน้นเรื่องการติดตั้ง Application บน Web server คือ ติดตั้ง website ของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอทุกอำเภอ และการติดตั้ง website ระบบ e-Learning ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด

  แนะนำการใช้งาน Blog โดยแนะนำการใช้ gotoknow.org โดยแนะนำการใช้งาน เกี่ยวกับการบันทึกความรู้เพิ่มเติม การสร้าง planet และเปิดตัวอย่างของ กลุ่มที่แล้วให้ดู
  การติดตั้ง Web Template สำหรับ website ของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ ดำเนินการสาธิตการใช้งานดังนี้
  2.1 การติดตั้งระบบ Web Template 3.0 โดยสาธิตการติดตั้งลงบนเครื่อง Server แล้วปรับแก้ config ให้สามารถใช้งานได้ และติดตั้ง website ของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอทุกอำเภอ
  2.2 การใช้งาน Web Template โดยสาธิตการสร้าง webpage การแก้ไข และการสร้างเนื้อหา ใน webpage
  การติดตั้งระบบ e-Learning สาธิตการติดตั้งโปรแกรม Learn square สำหรับ  สำหรับ website ของ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด

สภาพหลังการอบรม 3 วัน

      
 ก่อนการปรับปรุง                                             หลังการปรับปรุง

      สภาพทางกายภาพทั่วไปไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรมากนัก เพียงแต่จัดให้เป็นระเบียบมากขึ้น แต่มีการปรับปรุงระบบให้ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นำเอาเครื่อง Server มาใช้งานอย่างจริงจังทั้ง 3 เครื่อง และ เปิด website ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดยโสธร และ ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนทั้ง 9 แห่ง พร้อมทั้งจด sub domain name ว่า Yaso.nfe.go.th
      ซึ่งถือว่า เป็นจังหวัดสุดท้ายของภาคตะวันออกเฉียงเหนือทำให้สามารถประกาศได้ว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมี Website ครบทุกจังหวัด ขั้นต่อไป คือ ทำให้มี website ครบทุกอำเภอ
      Network ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดยโสธร ที่ปรับปรุงใหม่

 

ปัญหาการอบรม
      1 การอบรมค่อนข้างสับสน เนื่องจากอุปกรณ์ไม่เพียงพอ และสถานที่ไม่ได้จัดการอย่างเป็นระเบียบ เนื่องจาก ต้องทดสอบจากเครื่อง PC จึงวางข้าวของ เกะกะ ไม่เป็นระบบ รวมทั้งการใช้เครื่อง PC ในการทดสอบ
      2 ในการแก้ปัญหาในวันสุดท้ายที่ Server มีปัญหา ต่างคนต่างแก้ไขกันอย่างไม่เป็นระบบ และไม่ทราบว่า สาเหตุเกิดจากอะไร โดยเฉพาะวิทยากรประจำกลุ่มจากศูนย์ฯ ภาค ที่แก้ปัญหา จนสับสน จนถึงวันสุดท้าย ซึ่งไม่มีการสรุปว่า ปัญหาเกิดจากอะไร
      3 กระบวนการวันสุดท้ายแย่มาก เพราะเกิดกิจกรรมต่างคนต่างทำ จะทดลองระบบ ก็ทำไม่ได้ คนเข้าอบรมต่างก็ไม่ค่อยสนใจ และที่สำคัญ แต่ละคนอยู่ในสภาพที่อดนอน และไม่ค่อยสนใจเท่าไร ต่างกับการอบรม 2 รุ่นที่ผ่านมา อาจจะเนื่องจาก 2 รุ่นที่ผ่านมาไม่มีปัญหามากนัก และกระบวนการไปได้เร็วมาก

สิ่งที่ได้รับจากการอบรมกลุ่มที่ 3
      1 ถึงแม้ว่า การอบรมจะผ่านไป 2 รุ่น และได้แก้ปัญหาต่างๆ ไปมาก ไม่ได้หมายความว่าการอบรมในรุ่นต่อไปจะดีที่สุด เพราะอาจจะเกิดปัญหาที่คาดไม่ถึง ซึ่งเป็นปัญหาใหม่ขึ้นมา และมีผลกระทบต่อการอบรม โดยการอบรมในรุ่นที่ 3 นี้ มีปัญหาคือ เครื่อง Server ใน Orange zone ไม่ทำงาน ซึ่งมีผลกระทบอย่างมากต่อกระบวนการอบรม และผู้เข้ารับการอบรม ไม่มีเวลาพักผ่อน เพียงพอ เห็นเรื่องความสนุกสนาน มากกว่า การเอาจริงเอาจัง กับการอบรม ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่ง ที่ควรนำเอามาพิจารณากับกระบวนการอบรมในครั้งต่อๆ ไป
      2 เครื่อง Server ยี่ห้อ Powel ค่อนข้างจะมีปัญหากับการติดตั้ง IPCop โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการติดตั้ง LAN Card ดังนั้น ควรมีการตรวจสอบอย่างจริงจังว่า ปัญหาอยู่ตรงไหน และจะแก้ไขอย่างไร เพื่อเป็นบทเรียนที่สำคัญต่อไป
      3 การวิเคราะห์ปัญหาในสถานการณ์เฉพาะหน้า เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยความสามารถและประสบการณ์ของผู้ดูแลระบบ และความคิดเชิงวิเคราะห์เหตและผลอย่างมาก การทำงานตามคู่มือใครๆ ก็ ทำได้ แต่ถ้าไม่เป็นไปตามคู่มือ จะต้องอาศัยผู้ชำนาญการ หรือ ผู้เชี่ยวชาญ

คำสำคัญ (Tags): #ipcop
หมายเลขบันทึก: 111669เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2007 14:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 23:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ทำรูปแบบได้ดีมากครับ ให้ความรู้และใช้ในการเป็นแบบอย่างได้ดีด้วยครับ 

ขอบคุณมากที่นำมาเผยแพร่

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท