ความสำคัญของอุตสาหกรรมเครื่องหนังไทย


อุตสาหกรรมหนังและเครื่องหนัง เป็นอุตสาหกรรมการเกษตร (Agro Industry) ที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมากประเภทหนึ่ง โดยเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับหนังสัตว์ จากการนำหนังดิบอันเป็นผลพลอยได้จากการปศุสัตว์ มาผลิตเป็นหนังฟอกชนิดต่างๆ และยังก่อให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่สร้างมูลค่าเพิ่มได้อีกมากในอุตสาหกรรมเครื่องหนังหลากหลายประเภท เช่น รองเท้าหนัง กระเป๋าหนัง เสื้อหนัง ถุงมือหนังสายนาฬิกาหนัง เฟอร์นิเจอร์หนัง และอื่นๆ โดยผลผลิตมีทั้งจำหน่ายในประเทศและส่งออก เป็นแหล่งรายได้และสามารถนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาปีละประมาณ 20,000 ล้านบาทนอกจากนี้ส่วนใหญ่ยังเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานมาก (Labour Intensive) ช่วยสร้างงานจำนวนไม่น้อยกว่า 200,000 คน ในภาคอุตสาหกรรมนี้
 อุตสาหกรรมเครื่องหนัง เป็นอุตสาหกรรมที่มีโครงสร้างการผลิตที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก การผลิตยังคงอาศัยแรงงานและทักษะความชำนาญของแรงงานอยู่มาก ขั้นตอนการผลิตหลายขั้นตอนยังไม่สามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตได้ เนื่องจากสินค้ามีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบบ่อยตามแฟชั่น ทำให้ยากต่อการนำเครื่องจักรมาใช้ในการผลิต เช่น อุตสาหกรรมกระเป๋าหนัง อุตสาหกรรมรองเท้าหนัง และอุตสาหกรรมของเล่นสำหรับสัตว์เลี้ยง เป็นต้นจากเหตุผลและข้อจำกัดดังกล่าว ทำให้โครงสร้างการผลิตของอุตสาหกรรมนี มีโครงสร้างการผลิตที่ใกล้เคียงกันในแต่ละประเทศ แต่อย่างไรก็ดี ความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบด้านต้นทุนการผลิตในแต่ละประเทศนั้น ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐานหลายประการที่สำคัญได้แก่ ฝีมือแรงงานความสามารถในการออกแบบผลิตภัณฑ์ ความสามารถในการพัฒนาคุณภาพสินค้า ค่าจ้างแรงงาน ความสามารถในการได้มาหรือการมีแหล่งวัตถุดิบราคาถูก ความพร้อมด้านวัสดุและอุปกรณ์ และต้นทุนการดำเนินการในแต่ละประเทศที่แตกต่างกัน เช่น อัตราภาษี นำเข้า-ส่งออกภาษีการค้า ระเบียบขั้นตอนของราชการ และระบบสาธารณูปโภค ซึ่งประเทศที่มีความพร้อมในด้านต่างเหล่านี้มากกว่า ก็จะเป็นผู้ที่มีศักยภาพในการแข่งขันที่สูงกว่า
 การผลิตเครื่องหนังของไทยในปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาทั้งด้านคุณภาพและรูปแบบ โดยมีการนำเครื่องจักรและเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการผลิตมากขึ้น รวมทั้งการคัดเลือกวัตถุดิบ หนังดิบและหนังฟอกที่มีคุณภาพสูงโดยนำเข้าจากต่างประเทศมาผลิต นอกจากนี้ในอุตสาหกรรมเครื่องหนังที่มีเครื่องหมายการค้าชั้นนำจากต่างประเทศ ยังสามารถผลิตสินค้าที่สนองตอบความต้องการของตลาดได้ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ แต่จะเป็นสินค้าในตลาดระดับกลาง-ต่ำจึงยังมีการนำเข้าเครื่องหนังจากต่างประเทศ โดยเฉพาะเครื่องหนังที มีชื่อเสียงของผู้ผลิตชั่นนำของโลก เพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคที่มีรายได้สูง และมีรสนิยมในสินค้าต่างประเทศโดยนำเข้าจากไต้หวัน สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุ่น อิตาลี ฝรั่งเศส เยอรมนี และสหรัฐอเมริกา
 อุตสาหกรรมเครื่องหนังของไทย มีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบด้านต้นทุนการผลิตในหลายประการ โดยเฉพาะฝีมือแรงงานที่มีคุณภาพในการผลิต ระบบการจัดการที่ดี มีบรรยากาศการลงทุนที่เอื้ออำนวยต่อนักลงทุนต่างชาติ ทำให้ไทยในปัจจุบันมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบด้านศักยภาพการผลิตเหนือกว่าหลายๆ ประเทศ เช่น อินโดนีเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีนเวียดนาม และอินเดีย แต่ไทยมีความด้อยกว่าประเทศเหล่านี้ในด้านต้นทุนวัตถุดิบ ค่าจ้างแรงงาน และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ในประเทศผู้ผลิตสินค้าชั่นนำคุณภาพสูงที่สำคัญ เช่น อิตาลี ฝรั่งเศส เยอรมนี ฮ่องกง ไต้หวัน และสาธารณรัฐเกาหลี มีศักยภาพการผลิตในด้าน ความสามารถในการออกแบบผลิตภัณฑ์ การพัฒนาคุณภาพสินค้า การมี Brand Nameเป็นของตนเองและมีการเคลื่อนย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีต้นทุนวัตถุดิบและค่าจ้างแรงงานถูก
 ตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และฮ่องกง ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันคิดเป็นร้อยละ 70 ของการส่งออกเครื่องหนังของไทยทั้งหมด รองมาได้แก่ อาเซียนญี่ปุ่น ไต้หวันและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ การที่ตลาดส่งออกของไทยกระจุกตัวในตลาดหลักเพียงไม่กี่แห่งดังกล่าว หากตลาดเหล่านี้เกิดความผันผวน จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยโดยทันที ทั้งนี้เนื่องจากสินค้าเครื่องหนังไทยมีจุดขายด้านราคาหรือต้นทุนการผลิตต่ำ และปัจจุบันคู่แข่งของไทยที่มีความได้เปรียบทางด้านต้นทุนต่ำได้เข้าสู่ตลาดดังกล่าวจำนวนเพิ่มขึ้น และส่งผลกระทบให้โอกาสการขยายส่วนแบ่งตลาดของไทยในตลาดหลักๆ ลดลงมากในระยะที่ผ่านมา



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท