วัสดุอุดฟันในปากเราเนี่ย ส่วนใหญ่เป็นอะไรกันน้า.....


คนไข้บางคนอาจจะกลัวว่าอุดอมัลกัมแล้วจะได้รับสารปรอท จนทำให้เป็นอันตรายได้ แต่ที่จริงแล้วปรอทที่ได้รับการผสมจนเป็นอมัลกัมแล้วนั้น จะระเหยออกมาได้น้อยมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ(ย้ำค่ะว่าน้อยจริง) ทำให้ไม่เป็นอันตรายกับคุณๆที่อุดฟันด้วยอมัลกัมแน่นอนค่ะ

           สวัสดีปีใหม่ย้อนหลังนะคะ   ดีใจจังเลย ได้หยุดซะที   หลังจากผ่านการสอบสุดหฤโหดไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เหนื่อยมากค่ะ  เหนื่อยจิงๆ   ใครที่บอกว่าอ่านหนังสือเอนท์หนักแล้ว อันนี้หนักกว่าเป็นล้านเท่าอ่ะค่ะ  ขอนั่งยัน นอนยันเลย  จะสังเกตได้ค่ะนิสิตทันตแพทย์เนี่ย ถ้าปิดเทอมทุกคนจะบ้ากันสุดๆเลย  เพราะรู้ว่าถ้าเปิดเทอมทุกคนจะไม่ได้ทำอะไรที่อยากทำแน่ๆ เลยต้องบ้าไว้ก่อนตอนปิดเทอม  ช่วงปีใหม่ปีนี้ก็เหมือนกันค่ะ ปกติคณะเราจะสอบหลังปีใหม่ ดังนั้นช่วงปีใหม่ จะไม่มีทางได้มาเริงร่าอย่างนี้หรอกค่ะ ต้องหน้าดำคร่ำเครียดอ่านหนังสือกันไป พอปีนี้ว่างตัวคนเขียนเองก้อเลยได้ไปทำบุญต่างจังหวัด เสริมบารมีเผื่อคะแนนจะดีขึ้นมาบ้าง :-) แต่พอหยุดนานๆก้อเริ่มเบื่อ เรยเข้ามาบอกสิ่งที่เคยเรียนมา จะได้ทำตัวมีประโยชน์ต้อนรับปีใหม่บ้าง >_<"

                                        

 

          สิ่งที่อยู่คู่กับทันตแพทย์มานานแสนนาน  คงไม่พ้นวัสดุอุดฟันทุกท่านว่ามั้ยคะ...  วันนี้ก็เลยอยากนำเสนอให้ทุกท่านพอจะมองออกเป็นเค้าโครงคร่าวๆว่าวัสดุอุดฟันของทันตแพทย์ที่ใช้กันบ่อยๆ มีอะไรบ้าง

                วัสดุอุดฟันของทันตแพทย์แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆค่ะ คือ

ประเภทแรกก็คือ  วัสดุอุดชั่วคราว  (temporary filling)         เป็นวัสดุที่ใช้อุดฟันเป็นเวลาสั้นๆ  เพื่อรอการรักษา หรือรอวัสดุอุดถาวรค่ะ  อย่างเช่นเวลาเรารักษารากฟัน (Endodontics)คนไข้ซักคน  ไม่มีทางทำเสร็จภายในครั้งเดียวหรอกค่ะ  การรักษารากฟันจะใช้เวลาในดารรักษาค่อนข้างนาน  ถ้าสมมติเรามีการเปิดโพรงฟันไว้แล้ว  แล้วเวลาดันหมดพอดี (ซึ่งเป็นบ่อยค่ะเวลาทำคลินิค)  ก็ต้องอุดฟันคนไข้ให้เหมือนเดิมคนไข้จะได้มีฟันที่ทำงานได้เหมือนกันก่อนที่จะมาหาเรา  ไม่ใช่พอมาหาเราแล้วกลายเป็นว่าฟันซี่นั้นใช้งานไม่ได้เลย  แต่การที่จะอุดวัสดุอุดถาวรไปเลยก็จะทำให้ครั้งต่อไปที่นัดคนไข้มา  ทันตแพทย์ต้องเสียเวลามารื้อวัสดุอุดถาวรที่อุดไป จะลำบากมากๆค่ะ  ก็เลยมีการใช้วัสดุอุดชั่วคราวขั้นมา  เพื่อช่วยแก้ปัญหาในจุดนี้ไปค่ะ

วัสดุอุดชั่วคราว  (temporary filling) ที่นิยมใช้กันมากที่สุด ก็เห็นจะเป็น Zinc oxide eugenol cement ค่ะ  เนื่องจากมันเป็นวัสดุที่อุดแล้วแนบสนิทกับโพรงฟันมากๆ แถมยังไม่เป็นอันตรายต่อโพรงประสาทฟันอีกด้วย 

แต่ Zinc oxide eugenol cement ก็มีข้อเสียเหมือนกันค่ะ เพราะความที่อุดแล้วแนบสนิทกับโพรงฟันมากๆ มันก็เลยรื้อออกค่อนข้างยากนิดนึง และมันก็ไม่เหมาะที่จะใช้ในบริเวณที่รองรับแรงมากๆ  และที่สำคัญ คือ Zinc oxide eugenol cement มีส่วนประกอบของ eugenol ซึ่งมันจะรบกวนปฏิกิริยา polymerization ของ composite resin      ดังนั้น Zinc oxide eugenol cement จึงไม่เหมาะสำหรับฟันที่ต้องการจะอุดด้วย composite resin   เช่นในฟันหน้า เป็นต้น

                                  

ค่ะนี่ก็จะมีตัวอย่างรูปที่อุด วัสดุอุดชั่วคราว  (temporary filling) ด้วย Zinc oxide eugenol cement ที่ทำกันตอนเรียนแลปนะคะ  อันนี้ตอนเรียนเราได้กำจัดบริเวณที่ผุออกไปก่อน แล้วค่อยบูรณะด้วย Zinc oxide eugenol cement ค่ะ (Zinc oxide eugenol cement เห็นเป็นสีขาวบริเวณตรงกลางฟันนะคะ)

                                   

 

ส่วนอีกประเภทใหญ่อีกประเภทนึงนะคะ  ก็คือ  วัสดุอุดถาวร (Permanent filling) ค่ะ  ส่วนใหญ่ที่คนทั่วไปนิยมใช้กันก็คือ amalgam (อมัลกัม) และ composite resin

          amalgam (อมัลกัม)   เป็นวัสดุอุดที่อยู่คู่กับทันตแพทย์มาเป็นเวลานานหลายปีมาแล้ว  ที่มีการใช้กันมานานขนาดนี้ก็เพราะว่า อมัลกัม มีราคาถูก  ใช้งานง่าย  ต้านทานต่อการสึกกร่อนและทนต่อแรงบดเคี้ยวได้ดี แต่ก็มีข้อเสียคือ มีสีต่างจากฟัน  ไม่ยึดติดกับเนื้อฟัน  และมีปรอทเป็นส่วนผสม

พูดถึงปรอทแล้ว  คนไข้บางคนอาจจะกลัวว่าอุดอมัลกัมแล้วจะได้รับสารปรอท จนทำให้เป็นอันตรายได้  แต่ที่จริงแล้วปรอทที่ได้รับการผสมจนเป็นอมัลกัมแล้วนั้น  จะระเหยออกมาได้น้อยมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ(ย้ำค่ะว่าน้อยจริง)  ทำให้ไม่เป็นอันตรายกับคุณๆที่อุดฟันด้วยอมัลกัมแน่นอนค่ะ  ดังนั้นในการอุดฟันหลังในบริเวณที่ไม่ต้องการความสวยงามมากนัก ก็มักจะอุดด้วยอมัลกัมเป็นส่วนใหญ่  เนื่องจากข้อดีดังที่ได้กล่าวไว้แล้วค่ะ

                   

Composite resin หรือ ที่รู้จักกันในนาม วัสดุสีเหมือนฟัน นั่นเองค่ะ   Composite resin เริ่มมีการใช้มากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากมันมีข้อดีที่สำคัญก็คือ มันมีสีเหมือนกับฟันธรรมชาติ  นอกจากนี้มันก็สามารถยึดติดกับเนื้อฟันได้ด้วย  แต่ Composite resin บางชนิดมันก็มีความแข็งแรงน้อย เหมาะกับในฟันหน้ามากกว่าฟันหลังที่ต้องรองรับแรงบดเคี้ยวค่ะ

              

 

           ตอนนี้พวกเราก็ได้เรียนวิชา operative ไปแล้วค่ะ  ก็เลยได้มีการฝึกกรอให้เป็นโพรงฟัน โดยในการเตรียมโพรงฟันและอุดอมัลกัมเราจะทำในแบบจำลองปากของคน หรือ ที่เรียกกันว่า Dentoform ค่ะ  ตอนที่ทำนี่ก็ลำบากเหมือนกัน  ยิ่งช่วงแรกๆนี่รู้สึกอึดอัดกับบริเวณเล็กๆที่เราสามารถจะเอามือเข้าไปแหย่ได้   แถมตอนปี3 ต้องทำในแบบจำลองหน้าคนไข้มาจริงๆ ยิ่งลำบากเข้าไปกว่าเดิมอีกมืดก็มืด  แคบก็แคบ  ลำบากจริงชีวิตนิสิตทันตแพทย์ 

                        เอารูป dentoform มาให้ดูก่อนค่ะ ว่ารูปร่างหน้าตาเป็นไง

                                           

 

         อันนี้ก็เป็นรูปที่อุดอมัลกัมในแลปค่ะ  ไม่ค่อยสวยเหมือนรูปก่อนหน้านี้นะคะ  :-)

                                        

          

              ส่วนการเตรียมโพรงฟันและอุด Composite resin ที่นำรูปมาลงนี้เป็นการทำตอนปี2ค่ะ เราจะกรอในฟันคนไข้จริง  กว่าจะหาฟันมากรอได้ก็แทบรากเลือดเหมือนกันค่ะ  ในฟันจริงนี้ เราอุด composite resin บริเวณปลายฟันตัดซี่ข้าง(ซี่ซ้ายในรูป) บริเวณที่ฟันสัมผัสกัน(contact point) แต่ในรูปนี้จะไม่ค่อยชัดเท่าไหร่นะคะ แล้วสีตะแตกต่างจากฟันจริงเล็กน้อยค่ะ เพราะว่าในแลปมีให้เลือกแค่ไม่กี่สี  แต่ถ้าในคนไข้จริง ยังไงก็ต้องเป็นสีที่ใกล้เคียงกับฟันคนไข้มากที่สุดค่ะ 

                                        

 

เป็นยังไงบ้างคะ  วัสดุอุดฟันที่อยู่ในปากเราๆ  จริงๆมันมีหลายประเภทกว่านี้ค่ะ แต่ยกตัวอย่างมาแค่ตัวเด่นๆ ที่ส่วนใหญ่ทันตแพทย์ใช้กันทั่วไป    หวังว่าเรื่องนี้จะทำให้ผู้อ่านมีความรู้เกี่ยวกับวัสดุอุดฟันไม่มากก็น้อยนะคะ  ถ้ามีข้อเสนอแนะอย่างไรก็สามารถเขียนลงมานะคะ พร้อมจะปรับปรุงเสมอค่ะ

                                               

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 11142เขียนเมื่อ 2 มกราคม 2006 23:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

อยากได้ e-mail ผู้เขียนค่ะ เผื่อจะเสนอแนะอะไรจะได้สะดวกค่ะ

ไม่อยากรบกวนเนื้อที่ตรงนี้มากนัก

ขอโทษด้วยนะคะที่ตอบช้า

[email protected] ค่ะ

 

อุดฟันมาแล้ว เวลาดื่มน้ำเย็นๆ จะรู้สึกปวดจีดถึงคางเลยครับ

ไม่ทราบว่าเป็นเพราะอะไร

 

อาจจะเกิดจากวัสดุอุดที่ใช้สามารถนำความเย็นได้ แล้วมันอยู่ใกล้โพรงประสาทฟันมากเกินไป ทำให้เกิดอาการเสียวขึ้นมาได้ค่ะ 

วิธีแก้ไขก็คือ รื้อวัสดุอุดเก่าออกแล้วรองพื้นด้วยวัสดุที่เป็นฉนวนก่อนค่ะ แล้วค่อยอุดฟันใหม่ค่ะ

 ป.ล. อันนี้ก้อเป็นแค่สาเหตุหนึ่งเท่านั้นนะคะ อาจเกิดจากสาเหตุอื่นก็ได้ค่ะ ทางที่ดีควรปรึกษาทันตแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงดีกว่าค่ะ

เจ๋งมากครับสำหรับบล็อคนี้

รู้ป่าวอ่ะว่าจะสั่งเดนโตฟอร์มได้ที่ไหน

คือว่าเราเป๊ปฟันเสียง่ะ

ช่วยตอบมาในเมลด้วยน้า

แทงกิ้วล่วงหน้าคร้า...

อยากทราบข้อดีของปรอมในอมัลกัมค่ะ

นอกจากระเหยน้อยมากแล้ว รบกวนด้วยนะค่ะ คืออาจารย์ให้ทำรายงานค่ะ

ตกลงมันมีพิษต่อคนไข้ป่าวค่ะ

เคยอุดฟันเมื่อ ๓๒ ปีที่แล้ว (หนูยังไม่เกิดเลย) ยังดีอยู่ แต่เพื่อนร่วมงานหลายๆ คนอุดฟันไปไม่นานแค่ ๒-๓ ปีก็หลุดมั้ง แตกมั่ง ไม่ทราบว่าเป็นเพราะคุณภาพของวัสดุอุดฟันหรือฝีมือคุณหมอ ช่วยบอกป้าหน่อยจ้า

ทันตะ มศว รึป่าวคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท