มหกรรม KM ภาคการศึกษา โครงการ EdKM ครั้งที่ 1 : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนที่ 4


ตอนจบแล้ว โปรดติดตามของภาคเหนือต่อไปคะ

ตอนที่  3

          สำหรับนิทรรศการ  มีทั้งหมด  33  Booth  แต่ละ  Booth  สวยงาม  น่าสนใจทีเดียว  แม้ว่า  เนื้อหาในนิทรรศการจะเน้น  KM  มากเกินไป  ซึ่งคำถามยอดฮิตที่วิทยากรประจำ  Booth  ได้รับจากผู้เยี่ยมชมนิทรรศการมากที่สุดคือ 
         - KM  คืออะไร 
         - ทำอย่างไรจึงประสบความสำเร็จ  
         - ผลงานที่ได้จาก KM  คืออะไร
         - KM  เริ่มต้นอย่างไร  เข้ามาที่โรงเรียนได้อย่างไร 
         -
ก่อนทำ  KM  โรงเรียนเป็นอย่างไร 

          ไฮไลท์อีกช่วงหนึ่งคือ  ช่วงชื่นชม ยินดี มอบรางวัล  ซึ่งมีทั้งหมด  3  ประเภท   คือ  รางวัลนิทรรศการ   (การให้ข้อมูลของวิทยากรประจำ  Booth   ความสวยงาม   การใช้สื่อและเทคโนโลยี   และเนื้อหาของ  Booth)  รางวัลการนำเสนอในห้องย่อย    (กระชับ ตรงประเด็น  ชัดเจน  เห็นผล  อยู่ในเวลาที่กำหนด)  รางวัล Blog  (เน้นการสร้างและใช้ Blog  ให้เป็นทีม)

          ช่วงสุดท้ายของงาน    ดร.สุวัฒน์  เงินฉ่ำ  ในฐานะผู้อำนวยการโครงการ  EdKM  ได้กล่าวว่า  การจัดงานนี้  มีจุดมุ่งหมาย 3 ประการ  คือ
          1. ให้องค์กรของโครงการฯ  ได้มีโอกาสนำเสนอผลงาน
          2. เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ไม่เฉพาะภายในองค์กรของโครงการฯ
         3. เป็นการเผยแพร่เรื่อง KM

         - ไม่คิดว่า  การจัดงานครั้งนี้จะประสบความสำเร็จอย่างสูง  และได้บทเรียนจากการจัดครั้งนี้หลายเรื่อง   ซึ่งจะนำไปใช้ในการปรับปรุงการจัดงานครั้งต่อไปได้เป็นอย่างดี 
        - ไม่มีอะไรดีที่สุด  แต่ต้องดีต่อไปเรื่อยๆ  ไม่มีที่สิ้นสุด
        - ต้องต่อยอดจากความรู้เดิม  และปรับให้เข้ากับวัฒนธรรมองค์กร  ต้องปรับกระบวนทัศน์หรือ วิสัยทัศน์
       - ในการทำงานขององค์กรทางการศึกษา    ทำงานตามคำสั่งดี  แต่ทำไมคุณภาพการศึกษาจึงยังไม่สูงขึ้น  ครูทำงานหนักมาก  KM เป็นวิธีการทำงาน  ที่ช่วยลดภาระงานเดิม  และพัฒนางานให้ดีขึ้น  แต่ไม่ใช่เป็นยาวิเศษ
      - ทุกคนมีส่วนร่วม  ลงมือทำ  ต่อยอดประสบการณ์ใหม่  ปรับให้เข้ากับงานของเรา

      นอกจากนั้น  ดร.สุวัฒน์   ยังได้สะท้อนข้อสังเกตบางประการจากงานมหกรรมฯ  ครั้งที่  1  ดังนี้
     
- บางทีบางเรื่องที่นำเสนอกันในงานนี้นั้น   หัวปลาไม่ชัดว่า  เราทำไปเพื่ออะไร  เป้าหมายของงานต้องชัด  แต่หลายองค์กรก็นำเสนอได้ชัดเจนดี
      - การนำ KM  ไปใช้  ในลักษณะโครงการฯ  ทำให้บางอย่างเหมือนไม่ได้ต่อยอดความรู้เดิม  ไม่ได้ตระหนักหรือเห็นความสำคัญของกระบวนการต่อยอด  ใช้แต่การระดมสมอง  ทำให้ KM  ขาดพลังในการขับเคลื่อน  ขาดหัวใจคนทำงานและประสิทธิภาพของคนทำงาน
      - ดูเหมือนว่า  เราทำกระบวนการ KM  ครบวงจร  แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมาแค่ได้ขุมความรู้  และไม่มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาคน  พัฒนางาน  อย่างแท้จริง  ต้องหาทางทำให้ชัดเจนขึ้น  เพราะ   KM  จะเกิดพลังและมีประสิทธิภาพ อยู่ที่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ก่อนอื่นต้องทำกับคนในองค์กรของเราก่อน  ซึ่งมีคนดีคนเก่งเยอะแยะ  รู้ว่าใครเก่งดี  แต่การถ่ายเท ถ่ายโยง เคลื่อนความรู้จากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งยังอ่อนอยู่
      - การเผยแพร่   องค์ความรู้ที่เราได้พัฒนาขึ้นเป็น  Best Practice  ที่จะออกไปเผยแพร่ยังน้อยอยู่  ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องได้มาด้วยกระบวนการ  KM   แล้วหาช่องทางเผยแพร่ให้มากขึ้น  การออกงานบ่อยๆ  การ  ได้นำเสนอบ่อย  จะทำให้เราเผยแพร่ได้ดีมากขึ้นเรื่อยๆ
      - KM ที่เกิดขึ้นในขณะนี้  ไปไกลกว่าที่คณะวิจัยฯ  คิด  และตอนนี้  สพฐ. ก็รับไปทำอีกส่วนหนึ่งด้วย  โดย  สพฐ.  ไปอบรมให้ศึกษานิเทศก์ทั่วประเทศ  ไปไวกว่าที่คิด  แต่ก็เป็นภาระกิจที่ต้องติดตาม    และทำงานร่วมกันต่อไป
     - การทำ KM  ไม่ควรยึดติดกับผู้บริหาร  ความยั่งยืนอยู่ที่ผู้ปฏิบัติ  ถ้าผู้บริหารเข้าใจ  และการนำเสนอ   ในงานนี้ก็ส่วนใหญ่เป็นผู้ปฏิบัติหรือครูผู้สอนทั้งสิ้น  เขตฯ ต้องดูแลสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง

          สำหรับงานมหกรรมตลาดนัดความรู้ฯ  ครั้งที่  2  (ภาคเหนือ)  จะจัดในระหว่างวันที่  14-15  กรกฎาคม 2550  ที่จังหวัดเชียงใหม่  โปรดติดตามนะคะ

 

หมายเลขบันทึก: 111341เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2007 17:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กันยายน 2014 14:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ได้มาเรียนรู้ด้วยครับ ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท