เมื่อเริ่มเขียนบันทึกเพื่อส่งการบ้านและส่งเรียบร้อยแล้วแต่มีหัวข้อหนึ่งในหนังสือที่อ่านเป็นหนังสือ Knowledge Management in Action ก็อดไม่ได้ที่จะบันทึกเพื่อแบ่งปันให้ผู้สนใจจึงขออนุญาตเจ้าของหนังสือขอคัดลอกประโยคที่เห็นว่ามีความสำคัญต่อการจัดทำ KM ในองค์กรมาเพื่อเผยแพร่ใน gotoknow .org นะคะ
ในการจัดทำ KM จำเป็นต้องประเมินสิ่งที่สำคัญที่เอื้อ และมีผลต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวของโครงการในภาพรวม ก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการสร้าง KM ในองค์กร โดยการพิจารณาจากอุปสรรคที่เป็นปัจจัยทำให้การสร้าง KM ในองค์กรไม่สำเร็จ ซึ่งมีสาเหตุหลัก ๆ ดังนี้
1. องค์กรไม่มีความต้องการ แรงจูงใจ หรือแรงกระตุ้น และ/หรือไม่เห็นประโยชน์ของKM เพียงพอ ในขั้นตอนนี้ควรเป็นช่วงก่อให้เกิดความมุ่งมั่น และศรัทธา ของกลุ่มบุคคลหลัก ๆ ในองค์กร ซึ่งเป็นเรื่องของอารมณ์ (EQ) มากกว่าความรู้ในรายละเอียด(IQ)
2. ตอนจัดทำโครงการKM ไม่ได้มีการกำหนดองค์ความรู้ขององค์กรที่สอดคล้อมกับธุรกิจและงานปฏิบัติขององค์กร( Core Competency) ซึ่งส่งผลให้เมื่อสร้าง KM แล้ว ไม่มีส่วนส่งเสริมต่อความสำเร็จขององค์กร ทั้งทางด้านผลสัมฤทธิ์ หรือประสิทธิผล( Effectiveness) รวมถึงด้านประสิทธิภาพ (Efficiency) และด้านผลิตผล (Productivity) ที่ดีขึ้น
3. ผู้นำระดับสูงในองค์กรไม่เข้าใจ และไม่ให้การสนับสนุน ซึ่งจะทำให้การสร้าง KM ในองค์กรเป็นไปได้ยากและขาดความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน การเปลี่ยนแปลงและความสำเต็จจะเกิดขึ้นโดยง่าย เมื่อมีผู้นำในการเปลี่ยนแปลง
4. ในองค์กรยังไม่ได้มีค่านิยมและการปลูกฝังวัฒนธรรมการเรียนรู้ และการแลกเปลี่ยนความรู้ให้เกิดขึ้นในแต่ละบุคคล เป็นทีมและทั่วทั้งองค์กร การมุ่งสู่ค่านิยมดังกล่าวทุกคนจะสามารถรับรู้ได้จากบรรยากาศการทำงาน(Work Climate) ที่เกิดขึ้นจริง
5. การจัดการองค์ความรู้ในองค์กร ไม่ได้เชื่อมโยงไปสู่เป้าหมายเชิงธุรกิจขององค์กร
6. ไม่มีการวัดผลการดำเนินการจัดการองค์ความรู้ ทำให้ไม่สามารถปรับปรุงพัฒนาได้
7. ไม่มีระบบที่เอื้อต่อการสร้างบรรยากาศ การเรียนรู้และการสร้างองค์ความรู้ในองค์กร เช่น การให้ราวงัลทั้งในรูปแบบที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน ที่จะสร้างแรงจูงใจก่อให้เกิดการแบ่งปันความรู้ขึ้น
จากปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินการโครงสร้าง KM ในองค์กร หากนำมาเป็นแนวคิดในการออกแบบกระบวนการบริหารโครงการ การพิจารณาการดำเนินการให้สอดรับกับทิศทางขององค์กรแล้ว เราจำเป็นต้องวางแผนดำเนินการบริหารการเปลี่ยนแปลงควบคู่ไปด้วย โดยสามารถกำหนดเป็น 8 ขั้นตอน ในการดำเนินโครงการKM ให้เกิดขึ้นจริง
เขียนมาได้ถึงตรงนี้หันมองนาฬิกาและเสียงเพื่อน ๆ ร่วมงานกำลังมาทำงานกันครบแล้วเพราะเวลา 8.30 น.แล้วจึงขอคัดลอกมาให้อ่านแค่นี้ก่อน สำหรับ 8 ขั้นตอนหากมีเวลาก็จะรีบเขียนมาให้อ่านกันต่อไปนะคะ