ข้อดีของการนิเทศงานโรงเรียนพ่อแม่


   ความมุ่งหวังของการนิเทศงานโรงเรียนพ่อแม่นั้น  อยากแจ้งให้ทราบว่าเราไม่ได้ต้องการไปจับผิดว่า"คุณทำหรือไม่ทำ อย่างไร" แต่เราต้องการลงไปให้คำแนะนำ ชี้ทางง่ายๆที่คุณจะทำงานโรงเรียนพ่อแม่ได้ตามบริบทที่เป็นจริง บางแห่งก็บอกเราตรงๆว่ายังไม่ได้ทำ เพราะไม่มีเวลา คิดว่ายุ่งยากที่จะต้องทำ ดีคะที่บอกเราตามตรงเราก็เลยคุยกัน ปรับความเข้าใจของผู้ปฏิบัติและผู้นิเทศว่าจะทำอย่างไรให้ง่าย แล้วอธิบายให้เข้าใจเพิ่มเติม   แล้วแต่ละท่านก็บอกว่า...ถ้าให้ทำแค่เนี่ย  ทำได้ไม่ยาก...หลงคิดว่ายากซะตั้งนาน...

    เรื่องที่เราบอกก็เหมือนทุกๆครั้งที่เราบอกเล่าให้พี่น้องทั้งหลายทราบนั่นล่ะว่า

1. กลับไปทบทวนงานสอนที่สอนอยู่เดิมว่าสอนอะไรกันบ้างทั้งตัวเราเองสอนอะไร ทันตะแพทย์สอนอะไรเวลาตรวจฟัน  เภสัชกรสอนอะไรเวลาไปรับยา นักโภชนากรสอนอะไร ห้องคลอดสอนอะไร หลังคลอด  แผนกเด็ก งานตรวจสุขภาพเด็กดีเวลาเด็กมารับวัคซีนในแต่ละครั้งสอนอะไรกัน

2. สอนตอนไหนกันบ้าง ใช้เวลาเท่าไหร่

3. ให้ทุกคนเขียนเรื่องที่สอน พร้อมระบุสื่อที่ใช้สอน แล้วรวบรวมเป็นแผนการสอนหนึ่งเดียวของโรงพยาบาลนั้นๆ

4. ทุกคนก็สอนตามแผนอยู่แล้ว ใช่หรือไม่  และเมื่อมีเจ้าหน้าที่ใหม่เราก็นิเทศการสอนด้วยแผนการสอนที่เราทำไว้ เพื่อให้สอนในแนวเดียวกัน  และเมื่อมีวิชาการใหม่ๆทันสมัย เราก็นำมาคุยปรับแผนการสอนเพิ่มเติมในอนาคตได้

5. เมื่อสอนแล้วเราก็ต้องมีการประเมินผลการสอนซักนิดว่าที่เราสอนไปเขารับรู้กันซักแค่ไหน นำไปปฏิบัติหรือเปล่า เพราะทุกครั้งที่มาเราก็ต้องพูดคุยกับผู้รับบริการอยู่แล้วใช่มั้ยค่ะ

6. เมื่อพบว่าผู้รับบริการขาดตกบกพร่องในส่วนไหนเราก็สอนเสริมเติมให้เต็ม  แล้วนำผลการประเมินมาพัฒนาระบบการสอนให้ดีขึ้น ว่าบกพร่องจากตรงไหน เช่นตัวผู้สอน การถ่ายทอด สื่อการสอน ระยะเวลาที่ใช้สอน หรือตัวผู้เรียน เราก็นำไปปรับปรุงเป็นวงจรต่อไปเรื่อยๆ

7.เก็บตัวชี้วัดกันอย่างไรก็แล้วแต่โรงพยาบาลนั้นๆว่าต้องการศึกษาเรื่องอะไรในงานโรงเรียนพ่อแม่ เช่น น้ำหนักตัวน้อย คลอดปกติ พัฒนาการสมวัย ฟันไม่ผุ ความพึงพอใจ ฯลฯ

  แต่ฝากไว้นิดว่า"โรงเรียนพ่อแม่ก็ทำงานเหมือนโรงเรียน คือ มีแผนการสอน มีคุณครูผู้สอน มีการประเมินผลการสอน และมีเด็กที่เข้าเรียนระหว่างเทอม ระหว่างปี" เพราะหลายแห่งที่เราไปนิเทศจะเข้าใจว่าต้องเริ่มเก็บข้อมูลตั้งแต่ท้องแล้วติดตามไปเรื่อยๆจนกว่าจะคลอด ผ่านไปหลังคลอดแล้วลูกมารับวัคซีน จึงทำให้เริ่มงานได้ช้าแล้วก็ได้ผู้รับบริการที่เข้าโรงเรียนพ่อแม่น้อยกว่าที่ควรเป็น

   การเก็บข้อมูลตัดเป็นช่วงๆในแต่ละระยะได้เลยนะคะ หญิงตั้งครรภ์  หญิงหลังคลอด เด็ก0-5 ปี ไม่จำเป็นต้องเป็นการเก็บที่ต่อเนื่องก็ได้ แต่ควรย้อนกลับไปดูได้ว่าแต่ละคนเริ่มเข้าโรงเรียนพ่อแม่เมื่อไหร่เพื่อเปรียบเทียบผลงานของโรงเรียนพ่อแม่กับงานเดิมที่ไม่มีโรงเรียนพ่อแม่  พอได้ไอเดียมั้ยคะ

    อยากให้ลองทำเพราะงานสอนคืองานของอาชีพเราคงตัดทิ้งไปไม่ได้แน่ๆ แล้วที่เราสอนๆไป เราไม่อยากประเมินผลเลยเหรอว่าเขาได้อะไรกันติดตัวไปบ้าง หรือคุณต้องการเพียงยอดสอนเท่านั้นเองแต่ไม่สนใจเรื่องคุณภาพ  เติมไฟหรือใส่ไฟให้ท้อไม่รู้ซินะ...เหนื่อยหน่อยตอนเริ่มต้นคะแล้วสุดท้ายจะสบายขึ้นเยอะ  จริงๆนะ เราผ่านมาแล้วเลยขอบอก.....

หมายเลขบันทึก: 109934เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2007 18:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • แล้ว รร.พ่อแม่ มี course ของการจับกลุ่มพูดคุยกันเองของ นร. (คนไข้ ประชาชน ลูกค้า ผู้มารับบริการ) หรือเปล่าคะ
  • เพราะคิดในมุมมองของลูกค้า ... อาจมีบางคนที่มีดี เรื่องการดูแลลูก ที่น่าจะเป็นแบบอย่างที่เป็นนวัตกรรมใหม่ก็ได้ค่ะ

ในส่วนทีคุณหมอนนท์แนะนำ เรากำลังพยายามอยู่คะ อยากให้มันเกิดขึ้นทุกวันที่สอน แต่ส่วนใหญ่ยังเจอปัญหาเหมือนการอบรมทั่วไปที่คนไทยเราละลายพฤติกรรมยากมาก โดยเฉพาะการอบรมที่มีเวลาจำกัด....1/2ชั่วโมง เงียบ ยิ้ม พยักหน้า นานๆจะเจอกลุ่มที่คุยเก่งที คนนั้นก็จะถูกมองแปลกๆจากกลุ่มค่ะ..

  • เรื่องนี้ยากตอนเริ่มต้นค่ะ
  • ลองคุยกับ พี่อุ้ย ดูสิคะ พี่อุ้ยเขาก็เริ่มต้นเป็นเช่นนี้มาก่อน (เมื่อนานมาแล้ว)
  • เดี๋ยวนี้ทำได้หลายรูปแบบแล้วค่ะ
  • ที่นี่ค่ะ P ชุมชนส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่1

ขอบคุณคุณหมอนนท์มากๆคะ สำหรับแหล่งข้อมูลดีๆ เลยข้อนำมาเก็บไว้ที่ เรื่องเรียนรู้นอกโรงเรียน แล้วคะไว้อ่านอีกหลายๆวันค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท