ศูนย์บริการวิชาการ ทบทวนเพื่ออนาคต (๒)
แนวทางในการพัฒนาจากการทบทวน ( ก่อนเข้ารับตำแหน่ง ปี ๒๕๔๖ ) โดยศึกษาจาก จุดอ่อนจากแบบประเมินตนเอง การวิเคราะห์จากเอกสารในการจัดทำแผนกลยุทธ์ระหว่างช่วงปี 2545-2549 การศึกษาสภาพปัจจุบันของศูนย์บริการวิชาการจากผลการประเมินคณะกรรมการชุดต่างๆ และจากการสำรวจแนวคิดจากอดีตผู้บริหารและผู้บริหารในระดับมหาวิทยาลัยและคณะวิชา รวมทั้งได้ขอคำปรึกษาจาก รองศาสตราจารย์นายแพทย์เมืองทอง แขมมณี ( อดีตกรรมการศูนย์ ซึ่งล่วงลับไปแล้ว) ดังต่อไปนี้
แนวทางที่
1
เป็นการพัฒนาศูนย์บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ด้านแนวทาง “ปัญจลักษณะพัฒนา”
โดยแนวทางนี้จะใช้ระยะเวลาในการดำเนินการประมาณ 1 ปี
รายละเอียดมีดังนี้
การพัฒนาศูนย์บริการวิชาการมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ด้วยแนวทาง
“ปัญจลักษณะพัฒนา”
ลักษณะที่
1 “ปัญจปัจจัย
“ ในการพัฒนาได้แก่
1.1 นโยบาย
1.2 วิสัยทัศน์
1.3 ปณิธาน
1.4 คำขวัญ
1.5 พันธกิจ
ลักษณะที่
2
“ปัญจภาคี” ในการพัฒนาได้แก่
2.1 ประชากรในมหาวิทยาลัยขอนแก่น
2.2 ประชาชน
2.3 ภาคราชการ
2.4 ภาคเอกชน
2.5 ภาคนานาชาติ
ลักษณะที่
3
“ปัญจปฎิรูป” ในการพัฒนา ซึ่งต้องประยุกต์
และ “ปัญจปฎิรูปแนวทาง
ปฏิรูปการศึกษา” ขอ ฯพณฯ ปองพล อดิเรกสาร
รมต.กระทรวงศึกษาธิการ คือ
1.1 ปฏิรูประบบบริการวิชาการแก่สังคม
1.2 ปฏิรูปการเรียนรู้ของสังคม
1.3
ปฏิรูประบบการบริหารและจัดการศูนย์บริการวิชาการมหาวิทยาลัยขอนแก่น
1.4
ปฏิรูปวิทยากรและบุคคลกรฝ่ายสนับสนุนของศูนย์บริการวิชาการมหาวิทยาลัยขอนแก่น
1.5
ปฏิรูปทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินงานของศูนย์บริการวิชาการมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ลักษณะที่
4 “ปัญจเทศะ”
ในการพัฒนา ได้แก่
4.1 ภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น
4.2 ภายนอกมหาวิทยาลัยขอนแก่น
4.3 ภายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
4.4 ภายในประเทศไทย
4.5 ภายในประเทศภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
ลักษณะที่
5 “ปัญจมิติ”
ในการพัฒนาได้แก่
5.1 การศึกษา
5.2 คุณภาพชีวิตและคุณภาพมนุษย์
5.3 เศรษฐกิจและสังคม
5.4 ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5.5 การบริหารจัดการความรู้(Knowledge Management)และเทคโนโลยี
แนวทางที่
2
นำแนวทางการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance)
ของรัฐบาลมาใช้อย่างจริงจังเพื่อนำมาขอ Bonus ประจำปี
หลักการในการปรับปรุงประสิทธิผล ประสิทธิภาพ จะคำนึงถึง
1. หลักนิติธรรม
2. หลักคุณธรรม
3. หลักความรับผิดชอบของบุคลากรในศูนย์ทุกฝ่าย
4. หลักความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้จากทุกองค์กร
หลักการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกฝ่ายในศูนย์บริการวิชาการ คณะวิชาต่างๆ ชุมชน
แนวทางที่
3
ทบทวนแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้เป็นหน่วยงานประสานงานกลางของมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่แท้จริง
เพื่อให้ศูนย์บริการวิชาการเป็นผู้ประสานงานระหว่างผู้เชี่ยวชาญจากคณะวิชา/หน่วยงานที่มีศักยภาพต่างๆภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่แท้จริง
จะต้องรวบรวมและทบทวนทำเนียบผู้เชี่ยวชาญ
รวมทั้งผลงานวิจัย
องค์ความรู้ใหม่ๆโดยประสานงานกับหน่วยงานที่มีอยู่ในปัจจุบัน
ดังนี้
1. สำนักงานประสานงานประกันคุณภาพ
2. คณะกรรมการประเมินผลมหาวิทยาลัย
3. กองแผนงาน
4. สถาบันวิจัยและพัฒนา
5. ภาครัฐ
6. องค์กรเอกชน
7. สถาบันอื่นๆ
8. ชุมชนที่เกี่ยวข้อง
แนวทางที่
4
จัดตั้งคณะทำงานเพื่อประสานงานเป็นสหสาขาวิชาของหน่วยงานต่าง ๆ
1. โดยเชิญผู้แทนในส่วนของสาขาต่างๆทาง
ศึกษาศาสตร์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์สุขภาพ
มากำหนดจุดเน้นที่สามารถทำงานร่วมกันในรูปสหสาขาวิชา
และสามารถทำชื่อเสียงให้มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2. คณะทำงานชุดต่าง ๆ จัดให้มีเพื่อ
2.1 รวบรวมข้อมูล องค์ความรู้ การวิจัย
จากคณะวิชาต่าง ๆ (ข้อมูล สารสนเทศ Computer
Update)
2.2 การเผยแพร่ ผลงานวิจัย องค์ความรู้
2.2.1 คณะประสานงานเพื่อจัด สัมมนา
อบรม สอนแก่ชุมชน
2.2.2 ประชาสัมพันธ์ สื่อมวลชนต่าง ๆ ,
Web Site ของหน่วยงาน
2.2.3 คณะประสานงานกับองค์กรนอกมหาวิทยาลัย
เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล หอการค้า
บริษัท หน่วยราชการ สมาคมวิชาชีพต่าง ๆ
แนวทางที่
5
การปรับองค์กรให้เหมาะสมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ทั้งหมดเป็นความตั้งใจที่จะทำในสี่ปีที่มาเป็นผู้ประสานงานครับ โดยจะต้องสรุปผลการดำเนินงาน เพื่อรายงานอธิการบดี และ สภามหาวิทยาลัยต่อไป
จึงเรียนเชิญท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้อง แสดงคิดเห็นเพื่อ " พัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขุมปัญญาแห่งอีสาน"
JJ
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย JJ ใน จากใจของJJ ฮาเฮ ร่วมสร้างสรรค์
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก