รู้หรือไม่


การแพร่เชื้อวัณโรค

วัณโรค
วัณโรคเป็นที่พบบ่อยในประเทศไทยและเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญของประเทศไทยและทั่วโลก และก่อให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจต่อประเทศและครอบครัวของผู้ป่วย

วัณโรคติดต่อได้ง่ายโดยทางหายใจท่านอาจจะรับเชื้อโดยที่
ไม่รู้ตัวหากใกล้ชิดกับผู้ป่วย

คนที่ได้รับเชื้อส่วนใหญ่ไม่มีอาการ
อัตราการเกิดเชื้อวัณโรคดื้อยามีจำนวนมากขึ้น หากคนที่
ได้รับเชื้อวัณโรคดื้อยาจะทำให้รักษายาก

อัตราผู้ป่วยโรคเอดส์มีสูงขึ้น ทำให้มีผู้ป่วยวัณโรคเพิ่มขึ้น
ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งแพ้ยาวัณโรคทำให้เกิดตับอักเสบ
 

จากเหตุผลดังกล่าวท่านผู้อ่านควรมีความรู้เรื่องวัณโรคเพื่อป้องกันตัวเองและดูแลผู้ป่วยหลายท่านเข้าใจผิดว่าโรควัณโรคเป็นโรคของปอด แต่ความจริงเชื้อวัณโรคสามารถทำให้เกิดโรคที่ส่วนอื่นของร่างกาย เช่นกระดูก ข้อ ไต และเยื่อหุ้มสมอง

การติดต่อ

สาเหตุ
วัณโรคเกิดจากเชื้อ Mycobacterium tuberculosis เป็นส่วนใหญ่บางส่วนเกิดจากเชื้อ M. africanum and M. bovis.

การแพร่เชื้อ
ผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคในระยะแพร่กระจายเมื่อผู้ป่วย จาม ไอ
หรือแม้กระทั้งพูดก็สามารถแพร่เชื้อออกทางน้ำลาย droplet nuclei กระจายไปในอากาศและสามารถอยู่ในอากาศได้นาน เมื่อคนหายใจจะได้รับเชื้อนั้นเข้าในถุงลมในปอด(alveoli)หากร่างกายแข็งแรงภูมิคุ้มกัน immune ปกติร่างกายก็สามารถกำจัดเชื้อนั้นได้โดยการทำลายของ macrophages
ผู้ป่วยเด็กหรือเป็นเอดส์เชื้อจะแพร่กระจายไประบบอื่น เช่น เยื่อหุ้มสมองและเกิดโรค หลังจากได้รับเชื้อประมาณ 2-8 สัปดาห์หากร่างกายแข็งแรงสามารถทำลายเชื้อได้หมด จะมีเชื้อบางส่วนอาศัยอยู่ในเม็ดเลือดขาว จนกระทั้งร่างกายอ่อนแอ
หรือมีโรคเช่นภูมิคุ้มกันบกพร่องเชื้อจะเจริญเติบโตและเกิดโรคได้ซึ่งสามารถ

เกิดได้หลายแบบคือ

อัตราการติดเชื้อ

อัตราการติดเชื้อจะมากหรือน้อยขึ้นกับปัจจัยหลายประการไก้แก่
ผู้ป่วยวัณโรคปอดโดยเฉพาะมีโพรงหนอง และวัณโรคกล่องเสียงจะมีเชื้อปริมาณมากดังนั้นจึงติดต่อได้ง่าย

ผู้ป่วยไอมาก

ผู้ป่วยมีเชื้อเป็นปริมาณมากในเสมหะ ท่านผู้อ่านจะทราบว่ามีเชื้อมากหรือน้อยจากการตรวจเสมหะหากให้ผล+2ขึ้นไปแสดงว่ามีเชื้อมาก

ผู้ป่วยที่รักษาไม่ครบ
ห้องที่อยู่แคบและถ่ายเทอากาศไม่ดี
ระบบระบายอาการเป็นระบบปิดไม่มีการเปลี่ยนอากาศใหม่เพื่อเจือจางอากาศ

การติดเชื้อ
ผู้ที่ได้รับเชื้อ [Latent infection] ทุกคนไม่จำเป็นต้องเป็นวัณโรคทุกคน ประมาณว่าร้อยละ 10จะเป็นวัณโรคโดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเหล่านี้
- ผู้ป่วยโรคเอดส์
- ผู้ป่วยเบาหวาน
- ผู้ป่วยที่ได้รับยา prednisolone หรือยากดภูมิคุ้มกันเป็นเวลานาน หรือเปลี่ยนไต
- ผู้ป่วยที่ไตวายเรื้อรัง
- ผู้ป่วยโรคมะเร็ง
- ผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวน้อย
- ผู้ป่วยที่เป็น silicosis
- ผู้ป่วยที่ตัดกระเพาะ หรือตักต่อลำไส้
เมื่อร่างกายอ่อนแอเชื่อที่อยู่ในปอดจะเจริญและแพร่กระจายเข้ากระแสเลือดและต่อมน้ำเหลืองไปตามอวัยวะต่างๆ เช่น ผิวหนัง ไต กระดูก และอวัยวะสืบพันธ์
ผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคจะมีอาการ ไข้ น้ำหนักลด เบื่ออาหาร ไอเรื้อรัง บางรายไอจนเสมหะมีเลือดปน หากเป็นมากขึ้นจะมีการทำลายเนื้อปอดทำให้หอบเหนื่อย


วัณโรคดื้อยา
Multidrugs resistant
วัณโรคที่ดื้อยาหมายถึงเชื้อที่ดื้อต่อยารักษาตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป ผู้ที่ติดเชื้อชนิดนี้จะรักษายากและมีอัตราการตายสูง สาเหตุที่พบวัณโรคดื้อยาเพิ่มขึ้นได้แก่
ผู้ป่วยวัณโรคได้รับยาน้อยกว่า 6-12 เดือน ผู้ป่วยมักหยุดยาหลังจากได้ยา 2-4 สัปดาห์เนื่องจากสบายตัวขึ้นหรืออาจเกิดผลข้างเคียงของยา
ผู้ป่วยได้รับยาน้อยเกินไป
ขนาดยาที่ได้รับไม่พอ
ผู้ป่วย เอดส์พบมากขึ้นทำให้มีวัณโรคมากขึ้น

หากผู้ที่เป็นวัณโรคต้องรักษาตามแพทย์สั่งโดยเคร่งครัด หากเกิดผลข้างเคียงจากยาควรปรึกษาแพทย์ไม่ควรหยุดยาด้วยตังเอง

การรักษา

ผู้ป่วยวัณโรคที่ไม่ได้รักษาจะมีอัตราการตาย ร้อยละ 40-60 ปัจจุบันมีวิธีการรักษาวัณโรคระยะสั้น โดยการให้ยารักษาควบคู่กันไปหลายขนาน หากรักษาครบกำหนดจะมีอัตราหายร้อยละ 90 การรักษาจะใช้ร่วมกันหลายชนิดโดยให้
NH,Rifampicine 6 เดือน และให้ Ethambutal,pyracinamide 2 เดือนแรก
ผู้ป่วยที่มีรายได้น้อยก็สามารถไปรักษาโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ที่โรงพยาบาลหรือสถานีอนามัยของรัฐเมื่อรักษาไป 2-3 สัปดาห์ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นอย่าตัดสินใจหยุดยาเองเป็นอันขาด การกินยาไม่สม่ำเสมอ หรือหยุดยาก่อนกำหนดจะทำให้เชื้อโรคดื้อยาการรักษาวัณโรคที่ดื้อยา ผู้ป่วยจะแพร่เชื้อดื้อยาไปสู่ผู้อื่น จะต้องใช้ยา 18-24 เดือนโดยใช้ยาที่เชื้อไม่ดื้อยาอย่างน้อย3 ชนิด

Tuberculosis prevention
วัณโรคเป็นโรคที่ป้องกันได้โดยการให้ความรู้แก่ญาติและตัวผู้ป่วย เกี่ยวกับวิธี
การติดต่อ ใช้ทิสชู่ ผ้าเช็ดหน้าปิดปากเวลาไอ เวลาไอให้ไอกลางแจ้ง จัดห้องให้แสงแดดส่องถึง อากาศถ่ายเทอย่างดีผู้ป่วยระยะแพร่เชื้อควรหยุดงานจนกระทั้งได้ยารักษาแล้ว 2 สัปดาห์ และที่สำคัญที่สุดต้องรับประทานยาให้ครบตามแพทย์สั่ง นอกจากนั้นควรจะให้ยารักษาวัณโรคเพื่อป้องกันในผู้ป่วยต่อไปนี้

ผู้ที่สัมผัสผู้ป่วยและให้ผลทดสอบผิวหนังเป็นบวก
ผู้ที่ทดสอบผิวหนังเป็นบวกและ X-RAYปอดพบรอยโรค
ผู้ที่ทดสอบผิวหนังเป็นบวกและเป็นเอดส์
ผู้ที่ทดสอบผิวหนังเป็นบวกและมีโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง
ผู้ที่ทดสอบผิวหนังเป็นบวกจากที่ทดสอบครั้งก่อนเป็นลบ
ผู้ที่ทดสอบผิวหนังเป็นบวกและติดยาเสพติด
ยาที่แพทย์ให้คือ INH หรือ Rifampicin โดยให้ยา 6-12 เดือน
จะป้องกันตัวเองมิให้เป็นวัณโรคได้อย่างไร
- รักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ ออกกำลังกายบ่อยๆ รับประทานอาหารให้ครบหมู่
- หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดวัณโรค เช่น ห้ามสำส่อนทางเพศ ห้ามติดยาเสพติด
- ดูแลผู้ป่วยวัณโรคให้กินยาอย่างสม่ำเสมอ
- แนะนำให้ผู้ป่วยวัณโรคปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง
- ตรวจภาพรังสีปอดปีละครั้ง

ขอขอบคุณ
ผู้ให้ข้อมูลทุกท่านครับ

หมายเลขบันทึก: 108340เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2007 18:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 10:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สอบถามหน่อยนะครับ 

วัณโรคทำไมต้องรักษานานจัง ยาก็เยอะ แล้ววัณโรคดื้อยาจะเป็นอย่างไรครับ  คนในบ้านเป็นวัณโรคต้องปฏิบัติตัวอย่างไรครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท