ข้อวินิจฉัยการพยาบาลเกี่ยวกับผู้ป่วยระบบCVT


การพยาบาลผู้ป่วยCVT

ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
1.ผู้ป่วยไม่คุ้นเคยกับสถานที่และการปฏิบัติตัวในหอผู้ป่วย

การพยาบาล

-อธิบายให้ผู้ป่วยทราบถึงกฎระเบียบต่างๆของโรงพยาบาลรวมทั้งระเบียบการเยี่ยม,การเตรียมของใช้ส่วนตัว
-อธิบายให้ผู้ป่วยทราบถึงกิจกรรมการดูแลรักษาพยาบาลในแต่ละวัน
-แนะนำให้ผู้ป่วยรู้จักกับผู้ป่วยข้างๆเตียง
-เปิดโอกาสให้ผู้ป่วย และญาติได้ซักถามถึงปัญหา ข้อขัดข้องใจต่างๆ อย่างละเอียด

ผลลัพธ์ที่คาดหวัง

-ผู้ป่วยมีความคุ้นเคยและสามารถปฏิบัติตัวตามกฎระเบียบของโรงพยาบาลได้อย่างถูกต้อง


2.ผู้ป่วยมีความวิตกกังวลและขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค การรักษา และการปฏิบัติตนก่อนและหลังการผ่าตัด


ข้อมูลสนับสนุน

-ไม่เคยได้รับการผ่าตัดใหญ่ รู้สึกกลัวการผ่าตัด
-มีสีหน้าวิตกกังวล

การพยาบาล

-อธิบายให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจเกี่ยวกับพยาธิสภาพของโรค การวินิจฉัย การรักษา การทำกิจกรรมพยาบาลต่างๆที่จำเป็นต่อการรักษาพยาบาล
-ให้คำแนะนำการปฏิบัติตนก่อนและหลังการผ่าตัด
-พูดคุยให้กำลังใจผู้ป่วย เปิดใจการให้ผู้ป่วยและญาติซักถามข้อข้องใจต่างๆพร้อมทั้งตอบปัญหาจนผู้ป่วยเข้าใจ
-แนะนำผู้ป่วยพูดคุยกับผู้ป่วยที่เป็นโรคเดียวกันและทำผ่าตดแล้วปลอดภัย
-ให้ความสนใจและดูแลผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ

ผลลัพธ์ที่คาดหวัง

-ผู้ป่วยลดความวิตกกังวลและให้ความร่วมมือในการรักษาพยาบาล
-มีความเข้าใจเรื่องโรคและการรักษาด้วยการผ่าตัดอย่างถูกต้อง
-สามารถตอบคำถามเกี่ยวกับการปฏิบัติตนก่อนและหลังการผ่าตัดได้อย่างถูกต้อง

3.เสี่ยงต่อภาวะ   Low  Cardiac  Out  Put  จาก
-ภาวะ Hypovolemia
-Cardiac  Temponade
-Acid-Base Disturbance
-Arrhythmias
-Electrolyte  Imbalance
-Hypoxemia
-LV poor  Contraction

ข้อมูลสนับสนุน

-ปัสสาวะออกน้อยกว่า 0.5-1  cc/kg/hr
-ปลายมือ ปลายเท้าเย็น เล็ม ริมฝีปาก และสีผิวหนัง โดยทั่วไปซีด
-ชีพจรเบา
-หัวใจเต้นเร็ว > 120 ครั้ง/นาที  หรือช้ากว่า  60  ครั้ง/นาที
-แรงดันซีสโตลิค < 80 มิลลิเมตรปรอท
-แรงดันหลอดเลือดดำส่วนกลาง < 8 มิลลิเมตรปรอท > 12  มิลลิเมตรปรอท
-กระสับกระส่ายสับสน
-หัวใจเต้นไม่ปกติ
-มีเลือดออกจากท่อระบายทรวงอก
    * ใน 1 ชั่วโมงออกมากกว่า 400 cc
    * ใน 2 ชั่วโมงติดต่อกันออกมากเกินชั่วโมงละ 200 cc
    * Hct < 30%
   * ระดับ  Serum  K+ < 3.5 หรือมากกว่า 4.5 mEq/l

การพยาบาล

-บันทึก v/c  แรงดันห้องหัวใจทุก 15 นาที ใน 12 ชั่วโมงแรก หลังผ่าตัดทุก 30 นาที 1 ชั่วโมง  ใน 12-24  ชั่วโมง และหลัง 24 ชั่วโมงไปแล้ว ทุก 1 ชั่วโมง และตามสภาพอาการผู้ป่วย
-สังเกตลักษณะ คลื่นไฟฟ้าหัวใจจากจอภาพตลอดเวลา ในขณะที่มีความผิดปกติ
-ดูแลให้ได้รับยา Inotropic  Drugs หรือ Vasodilators  ตามแผนการรักษา และเฝ้าระวังอาการข้างเคียงของยา
-รีดท่อสายางระบายจากทรวงอก สังเกตและบันทึกปริมาณสิ่งระบายลักษณะและสีทุก 15 นาที- 1 ชั่วโมงตามความจำเป็น
-สังเกตและบันทึกปริมาณปัสสาวะทุก 1 ชั่วโมง
-บักทึกและดูแลการให้สารน้ำและเลือดทดแทน ให้ถูกต้องตามแผนการรักษา
-จัดท่าให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าศีรษะสูง 15-30 องศาเซลเซียส หรือท่าที่รู้สึกสบาย
-ประเมินระดับความรู้สึกตัวทุกชั่วโมงจนกว่าจะรู้สึกตัว

ผลลัพธ์ที่คาดหวัง

-การทำงานของหัวใจอยู่ในเกณฑ์ปกติตามสภาพของผู้ป่วย
-สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย
-แรงดันหัวใจ (CVP , LAP)  อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมในผู่ป่วยแต่ละราย
-ลักษณะคลื่นไฟฟ้าหัวใจปกติสำหรับผู้ป่วยรายนั้น
-ปริมาณเลือดออกจากท่อระบายทรวงอกน้อยกว่า 100 ซีซี/ช.ม. หรือไม่มากกว่า 5 ซีซี/ก.ก./ช.ม. และลดลงเรื่อยๆ
-ปัสสาวะออกไม่น้อยกว่า0.5-1  ซีซี/ก.ก./ช.ม.
-บริเวณปลายมือ ปลายเท้าอุ่น
-ค่า  Hct ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30
-รู้สึกตัวดีไม่กระสับกระส่ายหรือสับสน
-ค่า Serum  K+ < 3.5 หรือมากกว่า 4.5 mEq/l

คำสำคัญ (Tags): #วิชาการ#พยาบาล
หมายเลขบันทึก: 10810เขียนเมื่อ 27 ธันวาคม 2005 22:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

มาให้กำลังใจค่ะ ง่วงไหมคะ คนไข้ยุ่งยังมีเวลามาเขียนบล็อคปลื้มค่ะ

แวะไปเยี่ยมบ้างนะคะ

http://gotoknow.org/file/wilawan1/view/109059?page=5

ในผู้ป่วยหลังการผ่าตัด ผลลัพธ์ทางการพยาบาลคือ Adequate Tissue perfusion (NOC, 1997) Indicater ก็ได้แก่ระบบต่างๆของร่างกาย Brain, Lung, Cardiac, Abdominal organ และ Periphral -------Brain ดูได้จาก ระดับความรู้สึกตัว GCS 13-15, Restlessness not present, Vomiting not present เป็นต้น

-- Lung ดูได้จาก RR, PaO2/FiO2>200, Pleural friction rub not present

--Cardiac ดูได้จาก Cardiac pump effective เช่น ค่า Cardiac Index> 2.2 L/min/mm2, MAP> 65 mmHg., SvO2>70% , Chest pain not present เป็นต้น

--Abdominal organ ดูได้จาก Urine output 0.5-1.0 cc/kg/hr., Electrolyt balance, Bowel sound +, Fluid balance เป็นต้น

--Periphral ดูได้จาก capillary refill time 2sec, periphral pulse strong& symmetrical, sensation normal เป็นต้นค่ะ

ส่วนเรื่องการพยาบาลนอกจากจะมีการประเมินผู้ป่วยตาม indicators ที่ผ่านมาแล้ว ควรมีการตรวจร่างกายผุ้ป่วยด้วย การให้การพยาบาลอื่นๆ ได้แก่ การบริหารจัดการเรื่อง การใช้สารน้ำ เลือดและส่วนประกอบของเลือด ยา และเครื่องมืออื่นๆที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วย ควรมีการนำความรู้หลักฐานเชิงประจักษ์มาใช้กับผู้ป่วย เพื่อให้ผลลัพธ์การพยาบาลที่ดีกับผู้ป่วยค่ะ **** NOC= Nursing Outcomes Classification***

ถ้าผิดพลาดประการใดต้องขอโทษด้วยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท