ยุทธจักร..บทที่ 8 สร้างการดำเนินการในการดำเนินกลยุทธ


ยุทธจักร..การสร้างดำเนินกลยุทธ บท 8

             รู้ เขา รู้ เรา รบ ร้อย ครั้ง ชนะ ร้อย ครั้ง   การที่เราจะมาสมารถเอาชนะอุปสรรคทุกอย่างไปได้ด้วยดีแล้วได้นั้น นอกจากเราจะมีแผนที่ดีแล้วนั้น เราจะต้องมีการสร้างการดำเนินการในการดำเนินกลยุทธให้ดีด้วย ตามหลักของกลยุทธน่านน้ำสีคราม บท 8 ที่ว่าด้วยการดำเนินการ อ่านรายละเอียดได้เลยคะ

บทที่ 8 สร้างการดำเนินการในการดำเนินกลยุทธ์การสร้างดำเนินการในกลยุทธ์

                  องค์กรที่ดีและที่ยิ่งใหญ่นั้นสมาชิกทุกคนในองค์กรจะต้องเป็นหนึ่งเดียวกลยุทธ์ และสนับสนุนกลยุทธ์กลยุทธ์ การเอาชนะอุปสรรคขององค์กรเพื่อจำกลยุทธ์ไปปฏิบัติจึงเป็นก้าวย่างสำคัญ องค์กรจำเป็นจ้องปลุกเร้าพื้นฐานสำคัญที่สุดของการดำเนินการ ซึ่งได้แก่ทัศนคติและพฤติกรรมของคนที่อยู่ลึกเข้าไปในองค์กร เราต้องสร้างวัฒนธรรมแห่งการไว้วางใจ และการอุทิศทุ่มเทที่จูงใจคนให้ดำเนินการตามกลยุทธ์ที่ตกลงกันไว้แล้ว ทั้งความคิดและจิตใจของคนต้องเป็นหนึ่งเดียวกันกับกลยุทธ์ใหม่ ก่อให้เกิดความร่วมมือในการสมัครใจปฏิบัติ

                  

                      กลยุทธ์น่านน้ำสีคราม จะสร้างความไว้วางใจและความรับผิดชอบลงไปตามลำดับขั้น สร้างแรงบันดาลใจให้เกิดความร่วมมืออย่างสมัครใจ องค์กรต้องให้ผู้ดำเนินการมีส่วนในกลยุทธ์ตั้งแต่เริ่มต้นซึ่งในบางครั้งจะเป็นการนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงกระบวนการขนาดใหญ่ในแนวทางบริหาร ดังนั้นบริษัทต้องลดความเสี่ยงอันอาจจะเกิดอันเนื่องมาจากความไม่ไว้วางใจ ความไม่ร่วมมือ โดยเราจะต้องสร้างกระบวนการที่ยุติธรรมในการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ กระบวนการยุติธรรมนี้จะถือว่าเป็นตัวแปรสำคัญซึ่งแยกแยะกลยุทธ์น่านน้ำสีครามที่ประสบความสำเร็จออกจากส่วนที่ล้มเหลว

 

 หลักสาม E ในกระบวนการยุติ มีองค์ประกอบที่เสริมแรงได้แก่

                การมีส่วนร่วม Engagement หมายถึงการที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจกลยุทธ์ ซึ่งมีผลกระทบต่อตนเอง ด้วยการขอความเห็นและเปิดให้โต้แย้งคุณค่า รวมทั้งสมมุติฐานของแต่ละคนการกระตุ้นให้โต้แย้งสร้างเสริมความคิดของทุกคนให้เฉียบคม และสร้างภูมิปัญญาที่ดีกว่าเดิม และทุกคนที่เกี่ยวข้องจะอุทิศทุ่มเทมากในการนำเอาสิ่งตัดสินใจไปดำเนินการ

                การอธิบาย Explanation การที่ทุกคนซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องและได้รับผลกระทบควรเข้าใจว่า เหตุใดจึงมีการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ขั้นสุดท้ายเช่นนั้นการอธิบายความคิดที่อยู่เบื้องหลังการตัดสินใจทำให้คนมั่นใจว่า ผู้บริหารได้พิจารณาความคิดของตนแล้ว และตัดสินใจอย่างไม่ลำเอียง โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ทุกคนในบริษัท

                การกำหนดความคาดหมายที่ชัดเจน Clarity of expectation เน้นว่าหลังจากกำหนดกลยุทธ์แล้ว ผู้บริหารต้องระบุกติกาการแข่งขันใหม่  แม้ว่าความคาดหวังจะมีมากแต่พนักงานทุกคนจะรู้ตั้งแต่ต้นว่าจะถูกประเมินด้วยมาตรฐานใด เมื่อคนเข้าใจแล้วว่าตนถูกคาดหวังอะไรการเล่นพรรคเล่นพวกก็จะลดลงและจะทำให้การนำกลยุทธ์มาปฏิบัติได้อย่างรวดเร็ว

                เมื่อนำสามองค์ประกอบมารวมกันก็จะนำไปสู่การตัดสินใจของกระบวนการยุติธรรม เหตุผลที่กระบวนการยุติธรรมมีความสำคัญเพราะธรรมชาติของมนุษย์แสวงหาการยอมรับคุณค่าของตน ว่าไม่ได้เป็นแค่แรงงานหรือบุคลากรหรือทรัพยากร แต่ในฐานะที่เป็นปัจเจกบุคคลซึ่งมีคุณค่าจะแสวงหาการยอมรับความคิดของตน สติปัญญาและอารมณ์ เมื่อได้รับการยอมรับก็จะเต็มใจแลกเปลี่ยนความรู้ และแรงบันดาลใจในการทำงาน แต่ในทางกลับกันหากปัจเจกบุคคลไม่ได้รับการปฏิบัติราวกับว่าความรู้ของตนมีคุณค่าแล้ว พวกเขาจะเกิดความรู้สึกขุ่นเคืองสติปัญญา และไม่แลกเปลี่ยนความคิดเชี่ยวชาญและจะปฏิเสธคุณค่าทางความคิดของคนอื่นเช่นกัน และเมื่อคุณค่าทางอารมณ์ของคนไม่ได้รับการยอมรับพวกเขาจะรู้สึกโกรธและอาจจะโจมตีหรือคัดค้าน ดังนั้นเมื่อขาดความไว้เนื้อเชื่อใจกระบวนการสร้างกลยุทธ์คนก็จะขาดความไว้วางใจผลของกลยุทธ์ไปด้วย

 ผลต่อเนื่องจากการดำเนินการที่มีและไม่มีกระบวนการที่ยุติธรรมในการสร้างกลยุทธ์ 

การอาสาร่วมมือในการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ

กระบวนการที่ยุติธรรม
กระบวนการที่ยุติธรรม
กระบวนการที่ยุติธรรม
กระบวนการที่ยุติธรรม
การยอมรับทางสติปัญญาและอารมณ์
ความไว้เนื้อเชื่อใจและการอุทิศทุ่มเทงาน
  


                  

กระบวนการที่ยุติธรรม

    


กระบวนการที่ยุติธรรมและน่านน้ำสีคราม

การอุทิศทุ่มเท ความไว้เนื้อเชื่อใจและการอาสาร่วมมือไม่ได้เป็นแค่ทัศนคติหรือพฤติกรรม แต่เป็นทุนที่มองไม่เห็น เมื่อคนมีความไว้เนื้อเชื่อใจก็จะมั่นใจการกระทำและความตั้งใจของผู้อื่นมากขึ้น เมื่อมีการอุทิศทุ่มเท พวกเขาก็จะเต็มใจใส่ความสนใจส่วนตัวในความสนใจขององค์กรด้วย การจัดกระบวนการสร้างกลยุทธ์ภายใต้หลักการของกระบวนการที่ยุติธรรม องค์กรสามารถสร้างการดำเนินการใจกลยุทธ์ได้ตั้งแต่เริ่มต้นด้วยกระบวนการยุติธรรม คนเรามักจะอุทิศทุ่มเทเพื่อจะสนับสนุนกลยุทธ์แม้เมื่อมองว่ากลยุทธ์นั้นไม่น่าพึงพอใจ  หรือขัดต่อสิ่งที่ตนคิดว่าถูกต้อง คนเราตระหนักถึงการประนีประนอมจำเป็นในการสร้างองค์กรที่เข้มแข็ง  และยอมรับความจำเป็นที่จะต้องเสียสละส่วนตัวในระยะสั้น เพื่อจะได้รับผลประโยชน์ขององค์กรในระยะยาว เพราะเราได้สร้างกระบวนการยุติธรรมเพื่อให้เขายอมรับเหตุผลและกฎเกณฑ์การตัดสินใจในการบริหารองค์กรอย่างชัดเจนนั่นเอง

                                                                             ขอขอบคุณผู้สรุปนะคะ

ติดตามบทต่อไปบทที่ 9 คะ

ปล  สามารถดูตารางได้ในตัวรายงานเพิ่มเติมคะ

 

             

คำสำคัญ (Tags): #วิธีการ#แผนงาน
หมายเลขบันทึก: 107854เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2007 20:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เพื่อน ๆ แอ๊นขอแก้ไขชาร์ตหน่อยนะจ๊ะ

ผิดจ๊ะ เพราะ copy chart แล้วลืมแก้ไขข้อความข้างใน เดี๋ยวจะ revise ของใหม่มาให้นะจ๊ะภายในวันอังคารนี้นะจ๊ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท