หากมองบริการที่จัดในที่ตั้งของโรงพยาบาลคอฟฟส์ ฮาร์เบอร์ ประกอบด้วย 6 ส่วนบริการ มีป้ายขนาดใหญ่และผังอาคารแสดงให้เห็นได้ชัด คือ
- Main Entrance & Reception/Cashier
- Café & Gift shop
- Education & Training centre ศูนย์การศึกษาและฝึกอบรม
- Information technology centre ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ
2. Clinical & Surgical Care Centre
- Medical Imaging : X-ray
- Pathology & Pharmacy พยาธิวิทยาและเภสัชกรรม
- Critical care unit หน่วยดูแลผู้ป่วยวิกฤต
- Surgical unit หน่วยศัลยกรรม
- Operating Theaters ห้องผ่าตัด
- Day procedures ห้องทำหัตถการแบบไปกลับ
- Admission จุดรับนอนโรงพยาบาล
3. Emergency แผนกบริการฉุกเฉิน
4. Family care centre & Reception
- Primary Health บริการปฐมภูมิ
- Maternity unit หน่วยมารดา
- Birthing unit หน่วยสูติกรรม
- Special care Nursery แผนกดูแลเด็กพิเศษ
- Pediatric unit แผนกเด็ก
5. Medical & Therapeutic care centre
- Ambulatory care reception แผนกต้อนรับผู้ป่วยนอก
- Cancer & Renal services บริการโรคมะเร็งและโรคไต
- Allied health reception แผนกบริการสุขภาพที่ดูแลโดยกลุ่มวิชาชีพอื่น
- Aged care services บริการผู้สูงอายุ
- Medical unit & Rehabilitation unit แผนกฟื้นฟูสภาพ
6. Mental & General Well Being care centre
- Aboriginal Health แผนกดูแลสุขภาพชนพื้นเมือง
- Community Health services แผนกบริการสุขภาพชุมชน
- Dental services บริการทันตกรรม
- Mental Health service บริการสุขภาพจิต
- Drug & Alcohol services บริการบำบัดสุราและยาเสพติด
- Sexual health services บริการอนามัยทางเพศ
การที่ผมนำมาลงเป็นภาษาอังกฤษเพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นการใช้ศัพท์ในจุดบริการต่างๆที่อาจแตกต่างไปจากเมืองไทยและที่เคยพบเห็นบ้างในห้องน้ำสาธารณะของโรงแรมพบถังขยะสำหรับทิ้งเข็มฉีดยาด้วย สำหรับผู้ฉีดยาเสพติดเมื่อใช้แล้วให้มีการทิ้งอุปกรณ์อย่างถูกต้องเพื่อความปลอดภัยของคนทั่วๆไป เนื่องจากยังมีปัญหายาเสพติดที่ต้องแก้ไขอีกมากจะเห็นว่า โรงพยาบาลศูนย์คอฟฟส์ ฮาร์เบอร์ จะมีส่วนบริการครบถ้วน ทั้งในด้านการส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟู โดยมีขนาดเตียงแค่ 198 เตียง ที่ออสเตรเลียจะไม่เน้นที่จำนวนเตียงแบบบ้านเรา ที่โรงพยาบาลยิ่งมีเตียงมากยิ่งถือเป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ จะมีบริการต่างๆมากขึ้น ในขณะที่ของออสเตรเลียเมื่อถามว่าเป็นโรงพยาบาลขนาดกี่เตียง เขาจะคิดอยู่พักหนึ่งเพราะเขาไม่ได้แบ่งระดับโรงพยาบาลตามขนาดเตียงแบบเลขลงตัวเหมือนของไทยที่เป็น 10-30-60-90-120-160-320-500 เป็นต้น พอถามของเขา เขาต้องนับอยู่พักหนึ่งและจะนับเฉพาะเตียงที่เป็นAcute careเท่านั้น ส่วนของChronic care หรือ Aged care จะไม่นับรวมด้วย เหมือนกับผมถามคุณหมอที่โรงพยาบาลบาราบ้า ว่าเป็นโรงพยาบาลกี่เตียง เขาบอกว่าโรงพยาบาลขนาด 6 เตียง เพราะเป็นAcute care ที่แพทย์รับผิดชอบโดยตรง ส่วนที่เหลือเป็นNursing Home ที่แพทย์จะมาช่วยดูคนไข้ประมาณเดือนละ 1 ครั้ง ส่วนเวลาทั้งหมดพยาบาลจะเป็นผู้ดูแลคนไข้เอง