ศาสตร์และศิลป์ในงานส่งเสริมการเกษตร (ตอนที่ 3)


จากนั้นทีมงานเราจึงได้ตัดสินใจลงไปเรียนรู้กับเกษตรกรผู้ปลูกส้ม

การทำPAR เพื่อแก้ไขปัญหาการปลูกส้ม        สวัสดีครับ ผมจะขอเล่าถึงต้นสายปลายเหตุของการเรียนรู้ ในกลุ่มผู้ปลูกส้มรายย่อยในยางสูง        ยางสูงเป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ใน อำเภอขาณุวรลักษบุรี  จังหวัดกำแพงเพชร     ชาวนบ้านในชุมชนแห่งนี้มีอาชีพหลักคือ การทำเกษตรกรรม ปลูกไม้ผล และทำนาข้าว รายได้หลักมาจาก ข้าวและส้ม        ในระยะแรกเราพบว่าเกษตรกรชาวสวนส้มรายใหญ่อพยพย้ายถิ่นฐานมาจากที่อื่น และมีเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่   ได้เริ่มมีการปรับเปลี่ยนจากที่นามาเป็นสวนส้มกันมากขึ้น         จากข้อมูลที่ผ่านมาพบว่า   เกษตรกรผู้ปลูกส้มเริ่มมีการขยายพื้นที่ปลูกออกไปเรื่อยฯ     และมีเกษตรกรรายย่อยเพิ่มมากขึ้นไปด้วย ทีมงานของเราฐานะนักส่งเสริมการเกษตร ได้ฉุกคิดกันว่าเราเป็นห่วงต่ออาชีพของเกษตรกรคือ (1)กลัวเกษตรกรชาวสวนส้มจะอพยพย้ายถิ่นเช่นที่ผ่านมา(2)การทำสวนส้มอาจจะส่งผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อม (3)จะทำอย่างไรให้เกษตรกรชาวสวนส้ม    รายย่อยอยู่ได้         ความวิตกกังวล เริ่มเกิดขึ้นกับเราและทีมงาน  โดยเฉพาะบทบาทนักส่งเสริมการเกษตร  จากนั้นทีมงานเราจึงได้ตัดสินใจ   ลงไปเรียนรู้กับเกษตรกรผู้ปลูกส้มรายย่อย ตำบลยางสูง      อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร โดยใช้หลักการของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม(PAR)เพื่อแก้ไขปัญหาของการปลูกส้มในระดับกลุ่มอาชีพผู้ปลูกส้ม โดยทำการศึกษา เป็นCASE STUDY  ซึ่งใช้ห้วงระยะเวลาของการศึกษาในปี 2546-2549 พบว่าส้มเขียวหวานที่ปลูกในเขตตำบลยางสูง  เกษตรกรส่วนใหญ่ได้มีการนำกิ่งพันธุ์ส้ม  จากพื้นที่ปลูกส้มบริเวณ โครงการชลประทานทุ่งรังสิต  เขตจังหวัดปทุมธานี   ซึ่งเป็นแหล่งที่ต้นส้มเกิดโรคกรินนิ่งและโรคทริสเตซ่าที่ทำให้ท่ออาหารอุดตัน  ส่งผลให้ต้นส้มขาดธาตุอาหารที่จะเลี้ยงผลส้ม ประกอบกับเกษตรกรผู้ปลูกส้มรายย่อยตำบลยางสูง ไม่มีประสบการณ์ในการจัดการดิน น้ำ ปุ๋ยและการบริหารศัตรูพืช  ที่ถูกต้องและเหมาะสม จึงทำให้ส้มเขียวหวานที่ปลูก  ได้เริ่มแสดงอาการ แคระแกรน  ต้นโทรม  ไม่เจริญเติบโต ในขณะเดียวกัน   มีเกษตรกรผู้ปลูกส้มรายย่อยได้ให้ความสนใจที่จะรวมตัวกันในลักษณะกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน  เพื่อไม่ให้ต้นส้มที่เกษตรกรปลูก ได้รับความเสียหาย ต่อไปในอนาคต            จากปัญหาและความต้องการดังกล่าว  ผู้ที่เกี่ยวข้องน่าจะมีการแสวงหาความรู้  ในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน         เพื่อให้เกิดการพัฒนาการปลูกส้มเขียวหวานในชุมชน ตำบลยางสูง        อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร โดยมีเกษตรผู้ปลูกส้ม นักส่งเสริมการเกษตร และผู้วิจัย ได้มีส่วนร่วมคิด  วิเคราะห์ปัญหา  ความต้องการและพัฒนาเทคโนโลยี  ซึ่งจะนำผลการวิจัยไปช่วยแก้ไขปัญหาของการปลูกส้ม     ให้มีความยั่งยืนในชุมชนได้ต่อไป (โปรดติดตามอ่านตอนต่อไปน่ะครับ)

หมายเลขบันทึก: 106368เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2007 08:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ขอบพระคุณมากครับ
  • จะรออ่านตอนต่อไปนะครับ
สวัสดีครับอ.สิงห์ป่าสัก   ขอบคุณที่มาแวะเยี่ยมครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท